ในวันที่ 31 ธ.ค. 2558 เป็นกำหนดเวลาที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะบรรลุก้าวย่างที่สำคัญของการรวมกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสิ่งที่คนไทยเรียกกันอย่างคุ้นหูว่า “เออีซี” หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ทีมข่าวเดลินิวส์ได้รับโอกาสจาก “ดาโต๊ะ นาซิระห์ บินติ ฮุสเซน” เอกอัครราชทูตหญิงมาเลเซีย ประจำประเทศไทย ในการให้สัมภาษณ์ประเด็นมุมมองของมาเลเซียต่อการเตรียมตัวเพื่อรวมกันเป็นเออีซี ดังนี้ ความคิดเห็นทั่วไปต่อการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อันที่จริงการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจจะไม่สามารถดำเนินไปได้ หากขาดเสาหลักอีก 2 เสาคือประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน รวมทั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศใดขาดเสถียรภาพทางการเมืองก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำธุรกิจระหว่างกันทันที ดังนั้น สันติภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงทางด้านสังคมวัฒนธรรมต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด มาเลเซียมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญที่ท้าทายต่อการรวมตัว อย่างเช่น สถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศในภูมิภาค มาเลเซียมองประเด็นทางเศรษฐกิจว่า สำคัญต่อการรวมตัวกันเป็นอย่างมาก จึงต้องการผลักดันให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกลงความเห็นชอบร่วมกันในข้อตกลงร่วมทุกฉบับ โดยเฉพาะหากเป็นแง่ธุรกิจแล้ว เอกสารกำกับการนำเข้า-ส่งออกของทุกประเทศควรจะมีรูปแบบที่เป็นไปในทางเดียวกัน ป้องกันความสับสนและผิดพลาด ส่วนในประเด็นความไม่เท่าเทียมกันของสถานะทางเศรษฐกิจ มาเลเซียดำเนินการตามนโยบายที่เคยมีการตกลงกันไว้และดำเนินการตามเงื่อนไขของสำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ แน่นอนว่า มาเลเซียเต็มใจให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขับเคลื่อนการรวมกันเป็นปึกแผ่น มาเลเซียจะใช้จุดแข็งของประเทศให้ได้รับโอกาสอย่างไรในการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจ จริงอยู่ว่ามาเลเซียส่งออกทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่าอย่างน้ำมันดิบ น้ำมันปาล์ม รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ แต่รัฐบาลไม่ได้ต้องการจะส่งออกเพียงแค่วัตถุดิบเท่านั้น แต่ต้องการที่จะพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วย ทั้งนี้ มาเลเซียกำลังเร่งพัฒนาการวิจัยและการศึกษาของประเทศ เพื่อทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็น จริงแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจุดแข็งของประเทศใดประเทศหนึ่งจะสามารถยืนได้เพียงลำพังบนความท้าทายของการรวมกันเป็น “เออีซี” แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างกันทั้งจากในภูมิภาคและนอกภูมิภาค ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของประเทศทุกประเทศที่ต้องส่งเสริมเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างกัน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างประเทศสมาชิกอย่างไร มาตรการและข้อตกลงต่าง ๆ ในการข้ามพรมแดน ได้เอื้อให้พลเมืองอาเซียนของเราสามารถไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นโอกาสในด้านการค้าการลงทุนและการประกอบอาชีพแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราจะมีโอกาสได้รู้จักและเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น ขอเพียงเราเปิดมุมมอง ปรับทัศนคติ และเรียนรู้ว่าความแตกต่างไม่ได้มีไว้เพื่อให้เราแก้ไข แต่มีไว้เพื่อให้เราเข้าใจ ซึ่งนั่นถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกัน ส่วนในด้านข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ที่เป็นปัญหาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีนนั้น ควรมุ่งเน้นการเจรจาแบบทั้งทวิภาคีคือระหว่างประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีนเอง และแบบพหุภาคีที่จะมีประเทศในภูมิภาคอื่น ๆเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาด้วย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมมากแค่ไหน สิ่งสำคัญที่จะทำให้การรวมตัวกันเป็นไปอย่างยั่งยืน คือการพิจารณาและทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ อย่างเชื่อมโยงกัน และนั่นคือจุดที่มิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรมจะเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ เราต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติ ความเหมือนและความแตกต่างของแต่ละประเทศ ทั้งประวัติศาสตร์ สภาพสังคม ผู้คน ความเชื่อและรูปแบบการดำเนินชีวิต เพื่อที่ภาคธุรกิจจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการอันหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมนี้ได้อย่างสอดคล้องกัน หากคนไทยต้องทำงานร่วมกับคนมาเลเซีย มารยาทในการปฏิบัติต่อกันของชาวมาเลเซียก็เหมือนมารยาทสากลทั่วไป ที่จะไม่ทำในสิ่งที่ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ไม่ควรใช้เท้าชี้ไปที่ผู้อื่น ไม่ควรใช้นิ้วชี้หน้าผู้อื่น ไม่สัมผัสบริเวณศีรษะผู้อื่น โดยเฉพาะกับผู้ที่อาวุโสกว่าเป็นต้น และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงให้มาก คือเรื่องข้อห้ามตามความเชื่อและศาสนาของแต่ละบุคคล เช่น ชาวมุสลิมมีข้อห้ามเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเสนอหรือหยิบยื่นสิ่งเหล่านั้นให้ถือว่าเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ท่านทูตฯนาซิระห์ บินติ ฮุสเซน กล่าวปิดท้ายไว้ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในภูมิภาค ดังนั้น มาเลเซียเชื่อว่าไทยจะสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไปได้.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : มุมมองทูตหญิงมาเลเซีย ‘รวมกัน เราอยู่’ เตรียมรับ ‘เออีซี’
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs