ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า  ในวันที่ 11 พ.ย. 56  นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ จะเชิญตัวแทนภาคธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก 50 รายในกลุ่มเกษตรและอาหาร,  ยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, วัสดุก่อสร้าง, แฟชั่นและไลฟ์สไตล์,ธุรกิจบริการ,ธุรกิจสุขภาพและความงาม มาร่วมประเมินสถานการณ์การส่งออกปี 56  และเป้าหมายในปี 57   เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ต้องการทำงานร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้นหลังจากปี 56 ผู้ส่งออกประสบปัญหาเศรษฐกิจผู้ค้าชะลอตัว จนส่งผงให้ยอดการส่งออกในปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมายมากจากเดิมที่เคยประเมินไว้ ขยายตัว 7-7.5% แต่การส่งออก 9 เดือน (ม.ค. – ก.ย.) ส่งออกขยายตัวเพียง 0.05% “ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ประเมินเป้าปี 57 อย่างไม่เป็นทางการที่ 252,000 – 253,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 5-7% เนื่อง จากเศรษฐกิจหลายตลาดได้ฟื้นตัว เช่น สหรัฐและอเมริกาเหนือส่งออกไทยน่าจะขยายตัว 3% , ยุโรป 5%, จีนและฮ่องกง  5% , ญี่ปุ่น 6%, อาเซียน เพิ่ม 10%, ตะวันออกกลาง เพิ่ม 9%, แอฟริกา เพิ่ม 10%, ออสเตรเลีย เพิ่ม 15% และ เอเซียใต้ เพิ่ม 10% เป็นต้น” ทั้งนี้ทางหอการค้าไทย จะนำเสนอแนวทางส่งเสริมและผลักดันการส่งออกในปี 57 ให้ฟื้นตัวจากปี 56 ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณา โดย เน้นการลดต้นทุนการผลิต การออกมาตรการลดหย่อนด้านภาษีและการเงิน รวมถึงงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะด้านสำหรับอุตสาหกรรมที่ กำลังประสบปัญหา  โดยภาคเอกชนมองว่าการส่งออกในปี 57 อยู่ในระดับทรงตัวและปรับเพิ่มเล็กน้อยไม่เกิน 3-4% นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมฯจะเสนอให้รัฐบาลทบทวนโครงการรับจำนำ โดยให้กำหนดปริมาณรับจำนำข้าวรวมในแต่ละปีเหมือนในอดีต  เพี่อ การลดภาระงบประมาณรัฐบาล ก็จะมีผลให้ชาวนาคุมผลผลิตการเพาะปลูก และ เพิ่มความคล่องตัวของการซื้อขายในตลาดของพ่อค้าข้าว ขณะเดียวกันออกมาตรการช่วยเหลือลดต้นทุนชาวนาโดยตรงเพื่อชาวนาจะไม่ต้องแย่ง ผลิตเพื่อป้อนจำนำอย่างเดียว “ ยังไม่เห็นปัจจัยหนุนที่จะช่วยให้การส่งออกข้าวไทยสูงขึ้นในปี 57 เบื้องต้นยังประเมินตัวเลขการส่งออกใกล้เคียงปีนี้คือ 6-6.5 ล้านตัน หากโชคดีก็อาจถึง 7 ล้านตัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาขายข้าวจีทูจี “ นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า การส่งออกปี 57 หากสถานการณ์การเมืองไม่ถึงขั้นวิกฤต น่าจะขยายตัวได้ 3-4%  สูงกว่าปีนี้ที่ขยายตัวต่ำกว่า 2%  เพราะการส่งออกไทยเผชิญกับเศรษฐกิจประเทศคู้ค้ายังน่าเป็นห่วง การฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน และกำลังซื้อยังไม่กลับมา นอกจากนี้ยังพบว่าความได้เปรียบของการส่งออกไทยลดลงต่อเนื่องประกอบกับมีคู่ แข่งด้านส่งออกเพิ่มขึ้น และรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการส่งออกน้อยไป ยังขาดการวางแผน การเตรียมตัวและแผนรับมือกรณีฉุกเฉิน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ระดมกึ๋นดันส่งออกปี57

Posts related