ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา น.ส.ประพีร์ อังกินันทน์ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะรักษาการแทนผู้ว่าการ สตง.ได้ลงนามออกหนังสือด่วนที่สุด ฉบับที่ ตผ 0012/1686 ถึงนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 2 ก.พ.57 ว่า ที่ผ่านมา สตง.ได้เคยแสดงความกังวลและห่วงใยต่อการใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดเลือกตั้งทั่วไป วงเงิน 3,885 ล้านบาท ว่ามีความเสี่ยงสูงภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในการจัดการเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดความสูญเปล่า ซึ่ง สตง.ได้มีการพิจารณาแล้วว่า การดำเนินงานในกรณีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและก่อให้เกิดความเสียหาย ย่อมเข้าข่ายเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังเป็นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กกต.) และค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่สนับสนุนงานของ กกต. จำนวน 18 หน่วย เกิดความสูญเปล่า “การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินวงเงิน 3,885 ล้านบาท มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความสูญเปล่า ไม่ประหยัด ไม่เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่า เนื่องจากการใช้งบประมาณไม่ได้ผลตามเป้าหมายของการเลือกตั้ง เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัครหรือการเลือกตั้งมาก่อน ถือว่าในวันดังกล่าว ไม่ได้เป็นวันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ” ทั้งนี้ หากจะใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งต่อไป รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องกำหนดมาตรการ หรือวิธีการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า การเลือกตั้งจะบรรลุวัตถุประสงค์ หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวเหมือนเช่นที่ผ่านมาจนส่งผลให้การเลือกตั้งไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้ สตง. ทราบ เพื่อประกอบการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สตง.ร่อนหนังสือจี้ยิ่งลักษณ์รับผิดชอบ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs