นับเป็นอีกครั้งในรอบหลายปีที่ “กระทรวงคมนาคม” พาสื่อมวลชนไปดูงาน “ระบบตั๋วต่อตั๋วร่วม” ที่ประเทศเกาหลีใต้ด้วยหวังจะจัดการระบบคมนาคมในเมืองกรุงให้ลดความแออัดลงให้ได้เพราะนั่นหมายความว่าจะช่วยลดต้นทุนการเดินรถลงได้มากถึง 10% และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้รถใช้ถนนให้พลเมืองของประเทศนั้น ๆ ดีขึ้น ล่าสุดกรมการขนส่งทางบก พร้อมทั้ง บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้พาคณะสื่อมวลชนรวมทั้ง “เดลินิวส์” เดินทางไปดูงานคมนาคมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ร่วมกับ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมว.คมนาคม ด้วยหวังว่าจะนำแนวทางการบริหารจัดการระบบที่ประสบความสำเร็จของเกาหลีใต้มาปรับใช้กับกรุงเทพ มหานครได้บ้าง “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมว.คมนาคม ระบุว่า เมื่อ 15 ปีก่อนหน้านี้ กรุงโซลก็เคยประสบปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนักจนทำให้ต้องลุกมาจัดการระบบขนส่งมวลชนกันอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนลดการซื้อรถส่วนตัวลง โดยพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการระบบให้มีคุณภาพโดยเฉพาะรถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์ที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าการปรับปรุงระบบการขนส่งประเภทอื่น ๆ จนมาตกผลึกที่ “ระบบตั๋วร่วม” เพื่อมาเป็นตัวจัดการคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางแถมยังช่วยประหยัดเวลาด้วย เนื่องจากบัตรใบเดียวสามารถใช้ครอบคลุมทั้งการจ่ายค่าทางด่วนค่าโดยสารรถประจำทางหรือกระทั่งรถไฟใต้ดิน ที่สำคัญด้วยระบบการจราจรที่คล้ายคลึงกันทำให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะใช้ระบบตั๋วร่วมใน กทม. ได้ แต่จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้นต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้า ซึ่งขณะนี้ “สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” (สนข.) เป็นแม่งานหลักอยู่ ทั้งนี้ หากจะนำตั๋วร่วมมาใช้ต้องตั้งบริษัทในเครือการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ามาช่วยดูการบริหารจัดการ และเบื้องต้นจะใช้กับระบบทางด่วนก่อน จากที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายทั้งทางด่วนขั้นที่ 1 โทลล์เวย์ มอเตอร์เวย์ หากเริ่มต้นได้จากนั้นก็ค่อยขยายไปยังการขนส่งร่วมกับรถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า รวมทั้งเรือด่วน และร้านค้าสะดวกซื้อต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในซิมการ์ดใบเดียว และอนาคตในซิมการ์ดนี้ก็จะถูกบรรจุลงไปในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ใช้โทรศัพท์ได้อีกด้วย เป็นต้น “จิรุตม์ วิศาลจิตร” รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ที่ศูนย์ข้อมูลการขนส่งของกรุงโซลนั้นได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ โดยในส่วนของรถโดยสารก็แบ่งออกเป็นสายสีแดง สายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีเหลือง ซึ่งเฉลี่ยแล้วประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงโซลต้องจ่ายค่าโดยสารอยู่ที่ 1,350 วอน หรือวันละ 41 บาท ด้วยการใช้บัตรสมาร์ทการ์ดเพียงแค่ใบเดียว โดยแผนการพัฒนางานด้านการจราจรภายในกรุงโซลนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 มาจนวันนี้รถประจำทางทุกคันจะติดตั้งระบบจีพีเอสทำให้ทราบได้ทันทีว่ารถคันนี้อยู่ที่ไหน ใช้เวลาเดินทางกี่นาที และบัตรสมาร์ทการ์ดนี้ใช้แค่จ่ายเงินต้นทางครั้งเดียวก็สามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางได้ตลอดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อีกทั้งศูนย์จราจรยังคอยตรวจสอบสภาพการจราจรของถนนทุกแห่งภายในกรุงโซลได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมพยากรณ์สภาพการจราจรได้อย่างแม่นยำ โดยอาศัยหลักสถิติของสภาพการจราจรที่ถนนดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแล้วนำมาประกอบกับข้อมูลด้านสภาพอากาศ เท่านี้ก็จะรู้ล่วงหน้าได้ว่าวันพรุ่งนี้รถบนถนนดังกล่าวจะติดขัดหรือไม่ และแม่นยำมากกว่า 90% จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ อาทิ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โลกสังคมออนไลน์หรือส่งไปทางข้อความในโทรศัพท์มือถือก็จะทำให้ประชาชนที่ต้องสัญจรผ่านถนนเส้นดังกล่าวในวันรุ่งขึ้นประเมินเวลาการเดินทางได้ นอกจากนี้ยังได้ไปเยี่ยมชมงานบริษัทขนส่งต่าง ๆ ภายในกรุงโซล ซึ่งทางการของกรุงโซลได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเหล่านี้เข้ามาให้บริการการเดินรถ และแบ่งสัดส่วนกำไรให้เป็นรายได้ แต่ทั้งนี้ต้องเน้นการให้บริการที่ดีที่สุด นี่เองจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พลเมืองในกรุงโซลหันมาใช้รถสาธารณะมากยิ่งขึ้นเพราะสะดวกสบายกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างไรก็ตามหากกรุงเทพมหานครอยากก้าวไปสู่จุดนั้นจริง ๆ ถือว่ายังต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มากกว่านี้ในทุกด้านเพื่อให้คนกรุงเทพฯจะได้ไม่ต้องซื้อรถเช่นกัน หากใช้บริการรถสาธารณะแล้วเกิดความสบาย ความฝันเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปนักที่จะทำให้กลายเป็นเรื่องจริงด้วยศักยภาพทั้งของรัฐและเอกชนในเมืองไทย เพียงแต่ว่าจะเป็นจริงได้เมื่อใดก็เท่านั้นเอง. จันทปภา ทวยเจริญ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สนข.ยันปีหน้าเกิดแน่ตั๋วต่อตั๋วร่วม ประเดิมทางด่วนแก้รถติดเมืองกรุง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs