ไมโครซอฟท์ได้ซีอีโอคนใหม่แล้ว สัตยา นาเดลลา ชาวอินเดีย ผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์ เผยจะใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนในทางที่ดีขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ ได้ประกาศว่า บอร์ดของไมโครซอฟท์ ได้มีมติแต่งตั้ง นายสัตยา นาเดลลา รองประธานบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์คลาวด์และเอนเตอร์ไพรส์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการบริหารคนล่าสุดของบริษัท ต่อจากสตีฟ บัลเมอร์ ที่ขอลงจากตำแหน่ง บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารไมโครซอฟท์ กล่าวถึงซีอีโอคนใหม่ ว่า ไม่มีใครเหมาะสมเท่า สัตยา นาเดลลา ที่จะพาไมโครซอฟท์ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้ สัตยาได้พิสูจน์ตัวเองในฐานะผู้นำ ด้วยทักษะทางด้านวิศวกรรม มุมมองทางธุรกิจ และความสามารถในการรวมคนในองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน วิสัยทัศน์ ของเขาในการนำเทคโนโลยีมาใช้และสร้างประสบการณ์ให้กับผู้คนทั่วโลก สอดคล้องกับสิ่งที่ไมโครซอฟท์มองหาในการที่จะก้าวสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการสร้างนวัตกรรมและการเติบโตไปข้างหน้า สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอ กล่าวว่าได้ร่วมงานกันมานานกว่า 20 ปี สัตยาคือผู้นำที่เหมาะสมที่สุดสำหรับไมโครซอฟท์ในเวลานี้ สำหรับซีอีโอคนใหม่ของไมโครซอฟท์ร่วมงานกับไมโครซอฟท์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นบุคคลสำคัญในการนำกลยุทธ์และสร้าง การเปลี่ยนแปลงด้านเทคนิคให้กับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นและมีความสำคัญมาก คือ การก้าวสู่ยุคของคลาวด์ และได้พัฒนาหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยี คลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์อย่าง บิง เอ็กซบ็อกซ์ และออฟฟิศ (Bing, Xbox, Office) และบริการสร้างผลงานที่โดดเด่น และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเหนือคู่แข่งรายอื่น ๆ ไมโครซอฟท์ยังได้ประกาศการเปลี่ยน แปลงบทบาทของ บิล เกตส์ จากตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้บริหารมาเป็นผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ซึ่ง บิล เกตส์ จะอุทิศเวลาให้กับไมโครซอฟท์มากขึ้นเพื่อสนับสนุนสัตยาในการกำหนดทิศทางด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยมี จอห์น ทอมป์สัน ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดผู้บริหารแทนที่บิล เกตส์. …………………………………………. คุยกับ สัตยา นาเดลลา ใช้เวลาช่วงเช้าวันละ 15 นาที เรียนออนไลน์ สัตยา นาเดลลา อายุ 46 ปี เกิดที่เมือง ไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เขาหลงใหลการเล่นกีฬาคริกเก็ตเป็นชีวิตจิตใจ และยังเป็นนักกีฬาในทีมของโรงเรียน “การเล่นคริกเก็ต สอนให้เราทำงานเป็นทีม และยังฝึกความเป็นผู้นำ ซึ่งทักษะเหล่านี้ได้ติดตัวมาตลอดการทำงานของผม” สัตยา นาเดลลา บอกว่า ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ วิทยาการคอมพิวเตอร์คือสิ่งที่เขาตามหา แต่ความใฝ่ฝันนี้ยังไม่ถูกเติมเต็ม เมื่อเขาเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มหา วิทยาลัยบังกาลอร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า “เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผมในการออกไปค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองหลงใหล” สัตยา ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มิลวอกี สหรัฐอเมริกาตามด้วยปริญญาโททางด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก “ผมชอบที่จะเรียนรู้” ความตื่นเต้นของผม คือ การได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสถานที่ที่เราไปเยือน การเรียนรู้จากผู้คนที่เราได้พบปะพูดคุย การเรียนรู้จากการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการใหม่ ๆ ถ้าคุณไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นั่นหมายถึงคุณปฏิเสธที่จะทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้น สิ่งที่นิยามความเป็นตัวผมได้ดี คือ ครอบครัว ความสงสัยใคร่รู้ และความกระหายในการหาความรู้” ที่น่าทึ่งก็คือ สัตยามักใช้เวลาในการลงทะเบียนเรียนทางออนไลน์ เขายอมรับว่า “มันเป็นความบ้าในช่วงเวลา 15 นาที ในช่วงเช้าของผม คุณเชื่อมั้ย ผมพยายามที่จะศึกษาในเรื่องใหม่ ๆ อย่าง ประสาทวิทยา แน่นอน…ผมก็ถามตัวเองอยู่เหมือนกันว่าผมทำไปเพื่ออะไร แต่ก็ตอบตัวเองว่า มันเป็นสิ่งที่ผมรัก” สัตยาเริ่มต้นการทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่เทคนิค ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2535 จึงเข้าทำงานที่ไมโครซอฟท์ ในขณะที่กำลังศึกษาปริญญาโททางด้านธุรกิจอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows NT และกำลังมองหาทีมงานที่มีความรู้เกี่ยวกับ UNIX และระบบปฏิบัติการ 32 บิท เขาต้องการทำสองอย่างพร้อมกัน ทั้งเรียนปริญญาโท และงานที่ไมโครซอฟท์ และเขาก็ทำมันได้สำเร็จทั้งสองอย่าง สัตยาได้ส่งอีเมลถึงพนักงานไมโครซอฟท์ทุกคนว่า “ผมมาทำงานที่ไมโครซอฟท์ ด้วยเหตุผลเดียวกันกับทุกคน คือ ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงโลกด้วยเทคโนโลยีซึ่งเติมเต็มพลังให้ผู้คน และสร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ มีบริษัทอีกมากมายที่ปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงโลก แต่มีเพียงไม่กี่บริษัทที่มีความพร้อมทั้งความสามารถ ทรัพยากร และความมุ่งมั่น ไมโครซอฟท์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เรามีคุณสมบัติที่ครบถ้วนสมบูรณ์เหล่านั้น”.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หนุ่มอินเดียซีอีโอไมโครซอฟท์คนใหม่
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs