วันนี้( 22 ก.พ. ) นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เชิญชวนผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ใช้โทรศัพท์มือถือเอไอเอสย้ายค่ายไปใช้บริการค่ายอื่น ว่า ยอมรับว่ามีความกังวล แต่ยังไม่สามารถบอกจำนวนลูกค้าได้ แต่จากสถิติมีการโอนย้ายเพิ่มขึ้นจริง ทั้งนี้ เนื่องจากเอไอเอสจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การให้รายละเอียดการดำเนินงานและจำนวนลูกค้าจะต้องชี้แจงเป็นรายไตรมาสไป อย่างไรก็ตาม อยากให้ประชาชนและผู้รับฟังข่าวสารเข้าใจ โดยเฉพาะวันที่ตนให้ข่าวว่าไม่กลัว กรณีว่าเอไอเอสไม่มีผลกระทบหากลูกค้าย้ายค่าย ซึ่งในความหมายนั้นคือผลกระทบในเวลานั้นที่ยังไม่สามารถรับรู้ได้ เพราะเป็นเวลาอันสั้น ทั้งนี้อยากให้ทุกฝ่ายมีเหตุผล และเข้าใจ แม้จะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าผู้ถือหุ้นในอดีตนั้นมีความเกี่ยวเนื่องในทางการเมือง แต่ขอยืนยันว่าปัจจุบันเอไอเอสดำเนินธุรกิจตามปกติ และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด "อยากให้ความเข้าใจกับทุกฝ่ายถึงความเข้าใจผิด อยากให้เห็นใจ และอยากจะขอโทษที่ทำให้เข้าใจผิดในการสื่อสารข่าวออกไป จึงทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างที่เห็นในขณะนี้ สำหรับแผนรองรับกรณีดังกล่าวนั้น เอไอเอสอยู่ระหว่างชี้แจง และอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ เพื่อรับทราบในประเด็นทุกอย่างที่เอไอเอสทำวันนี้ เพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและพนักงานบริษัทหลักหมื่นคนที่ต้องมีครอบครัวดูแล" นายวิเชียร กล่าว สำหรับในการโอนย้านลูกค้าจากระบบ 2 จี มาเป็นระบบ 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ และบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือโอนย้ายค่ายเบอร์เดิม (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) ตามปกติทางเอไอเอสสามารถรองรับการดำเนินงานได้ราว 60,000 รายต่อวัน ขณะนี้ สามารถโอนย้ายไปได้มากกว่า 10 ล้านรายแล้ว ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสที่ 4/56 เอไอเอสประกาศว่ามีลูกค้าทั้งสิ้น 41 ล้านราย แบ่งเป็นลูกค้า 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ จำนวนประมาณ 16.4 ล้านราย และลูกค้า 2จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ จำนวนประมาณ 24.5 ล้านราย ขณะที่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ปัจจุบันบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือโอนย้ายค่ายเบอร์เดิม ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 ราย สามารถรองรับการโอนย้ายรวมกันได้วันละ 3 แสนเลขหมาย หรือเฉลี่ยแล้วแต่ละรายสามารถทำการโอนย้ายได้วันละ 6 หมื่นเลขหมายเท่านั้น โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมโอนย้าย 29 บาทต่อเลขหมาย ด้านนางวิไล เคียงประดู่ โฆษกกลุ่มอินทัช ชี้แจงว่า กลุ่มอินทัชไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง ปัจจุบันผู้ก่อตั้งไม่ได้ถือหุ้นในกลุ่มบริษัท จึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทแต่อย่างใด และเชื่อว่านักลงทุนและผู้ถือหุ้นจะลงทุนในบริษัทใดย่อมทำการตรวจสอบการดำเนินงาน ความโปร่งใส ความแข็งแกร่งของบริษัทก่อนที่จะทำการลงทุน สำหรับหุ้นของกลุ่มบริษัท ได้แก่ อินทัช เอไอเอส ไทยคม ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯโดยผู้ก่อตั้งได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มเทมาเส็กแห่งสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. 49
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “เอไอเอส”ยอมรับลูกค้าย้ายค่ายเพิ่มขึ้นขอความเห็นใจสื่อสารผิดพลาด
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs