เมื่อปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา สายการบินไทย สไมล์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการบินไทย ได้ฤกษ์เปิดเส้นทางบินใหม่ไปยังประเทศจีนพร้อมกันถึง 2 จุด กรุงเทพฯ-ฉงชิ่ง และกรุงเทพฯ-ฉางชา ซึ่งถือเป็นเมืองท่องเที่ยวและเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มต้นบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยว ทุกวันพุธ-ศุกร์ และอาทิตย์ และวางแผนขยายเส้นทางบินไปฉางชาเป็นสัปดาห์ละ 5 เที่ยวบินในเดือน ม.ค. ปีหน้า การเปิดเส้นทางบินใหม่ของไทยสไมล์ครั้งนี้ การบินไทยและผู้บริหารไทยสไมล์หมายมั่นปั้นมือว่า จะได้รับการตอบรับอย่างดี เพราะทั้ง 2 เมืองนี้ยังไม่มีเที่ยวบินของการบินไทยบินมาก่อน โดยเฉพาะในฉงชิ่งที่ขณะนี้ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นมาก ที่สำคัญยังนิยมชมชอบเมืองไทยเป็นพิเศษ เห็นได้จากสถิติการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทยในปีก่อนสูงถึง 1.6-1.7 แสนคน “ไทยสไมล์” จึงตั้งเป้าหมายว่า เส้นทางกรุงเทพฯ–ฉงชิ่ง จะมีอัตราผู้โดยสารหรือเคบินแฟคเตอร์ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 75-80% ซึ่งแม้เป็นอัตราที่สูงมาก แต่เชื่อว่ามีโอกาสเป็นไปได้ เพราะแม้ชื่อ “ฉงชิ่ง” ยังไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยนัก แต่หากศึกษาลงลึกแล้ว ฉงชิ่งนับเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญของประเทศจีนทางภาคตะวันตก และเป็น 1 ใน 4 มหานครอันยิ่งใหญ่ ต่อจากมหานครปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเทียนสิน มีการบริหารงานขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีประชากรมากถึง 33 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของไทย ที่สำคัญ “มหานครฉงชิ่ง” ยังมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มากถึง 12-13% มากกว่าค่าเฉลี่ยของเศรษฐกิจจีนที่เติบโตระดับ 7- 9% นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางเมืองอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ มีผู้ใช้แรงงานอยู่จำนวนมาก ตลอดจนมีการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศที่สะดวก มีเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้า เชื่อมต่อกับยุโรปโดยใช้เวลาเพียง 15-17 วันเท่านั้น ส่งผลให้ทุกวันนี้ชาวฉงชิ่งมีกำลังซื้อเติบโตขึ้น และมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ขณะที่ด้านการท่องเที่ยว ตอนนี้มหานครฉงชิ่งและเมืองใกล้เคียงอย่างอู่หลง, ต้าจู๋ กำลังเปิดตลาดเร่งประชาสัมพันธ์กันเต็มที่ เพราะที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติสวยงาม ติดอันดับมรดกโลกอยู่หลายแห่งด้วยกัน เช่น รอยแยกปฐพีและน้ำตกหุบผาสวรรค์ ถ้ำมรดกโลกฝูตันหยง รวมถึงอุทยานแห่งชาติหลุมฟ้า-สะพานสวรรค์ ที่รัฐบาลจีนเปิดให้ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวูด ทรานฟอร์มเมอร์ 4 เข้ามาถ่ายทำเพื่อโปรโมตแหล่งท่องเที่ยว ทำให้หลังจากนี้แหล่งท่องเที่ยวในฉงชิ่งจะได้รับความนิยม และมีคนไทยใช้ไทยสไมล์เดินทางไปท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น การปูพรมเปิดเส้นทางการบินของไทยสไมล์ในช่วงนี้ จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่เพียงแค่การเปิดเส้นทางบินเชิงพาณิชย์ธรรมดา แต่ยังหมายถึงการช่วยต่อลมหายใจให้บริษัทแม่อย่างการบินไทย ที่กำลังมีผลประกอบการย่ำแย่ สาละวันเตี้ยลง โดยเฉพาะไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ขาดทุนสูงถึง 8,400 ล้านบาท สวนทางกับอุตสาหกรรมสายการบินอื่นที่ฟันกำไรเป็นกอบเป็นกำ ในแผนฟื้นฟูธุรกิจการบินไทย ไทยสไมล์ถูกตั้งความหวังให้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยกอบกู้การบินไทยให้ฟื้นกลับคืนได้ เพราะหลังจากนี้การบินไทยจำเป็นต้องทบทวนปรับแผนการบิน การใช้เครื่องบินใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาด เพื่อลดต้นทุนและสร้างรายได้ใหม่เพิ่มสูงสุด โดยส่วนหนึ่งจะใช้ไทยสไมล์ มาช่วยแบ่งเบาภาระของการบินไทยในเส้นทางบินที่ขาดทุน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่มีระยะทางไม่เกิน 4 ชั่วโมง ปกติ…การบินไทยจะใช้เครื่องลำใหญ่ 300 คนขึ้นไปในการให้บริการ แต่ต่อไปหากเส้นทางไหนมีผู้โดยสารน้อย ก็จะส่งไทยสไมล์ที่ใช้เครื่องบินเล็กกว่า เป็นรุ่นแอร์บัส เอ320-200 ขนาด 160-170 ที่นั่ง ไปให้บริการแทน รวมถึงจะเข้าไปเสริมเที่ยวบินใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มด้วย ขณะเดียวกันไทยสไมล์จะใช้กลยุทธ์การบีบต้นทุน ปรับลดบริการที่ไม่จำเป็น เพื่อให้แข่งขันค่าโดยสารกับสายการบินต้นทุนต่ำได้ เป็นจุดขายในการทำธุรกิจ สายการบินไทยสไมล์ในวันนี้ จึงมีสถานะเป็นสายการบินที่ อยู่ตรงกลางระหว่าง สายการบินขนาดใหญ่ กับโลว์คอสต์ ที่มีความคุ้มค่าในด้านราคา และบริการที่จำเป็นคงอยู่ เช่น ยังบริการเสิร์ฟอาหาร ให้น้ำหนักกระเป๋า เปลี่ยนแปลงไฟลต์ และสะสมไมล์ได้ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมศักยภาพของการบินไทยให้มีธุรกิจการบินที่ครบถ้วนทั้ง 3 ตลาด คือ สายการบินหลักเป็นการบินไทย สายการบินรองเป็นไทยสไมล์ และสายการบินต้นทุนต่ำเป็นนกแอร์ เป็นโมเดลเหมือนกับสิงคโปร์ ที่วางกลยุทธ์ 3 ตลาด สิงคโปร์แอร์ไลน์ ซิลค์แอร์ และสกูท จนประสบความสำเร็จ สำหรับผลดำเนินงานของไทยสไมล์ในช่วงทดลอง 1 ปีเศษที่ผ่านมา ได้ผลน่าพอใจมีรายได้มากกว่าพันล้านบาท มีเส้นทางบินในประเทศอยู่ 8 เส้นทาง และต่างประเทศอีก 6 เส้นทาง ทำให้เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ครม.จึงเห็นชอบให้ไทยสไมล์ เดินหน้าแยกบัญชีและการบริหารงานออกจากการบินไทยอย่างชัดเจน แต่ยังคงให้การบินไทยถือหุ้น 100% เหมือนเดิม เพื่อช่วยให้ไทยสไมล์ สามารถบริหารงานวางแผนขยายตลาดได้คล่องตัว และมีรูปแบบชัดเจนขึ้น ไม่ต้องห่วงพะวงกับภาพลักษณ์การบินไทยเหมือนที่ผ่าน ๆ มา นอกจากนี้อนาคตยังมีแผนเพิ่มเจ้าหน้าที่จาก 500 คน เป็น 900 คน และเพิ่มฝูงบินจากสิ้นปีนี้ 10 ลำ เป็น 20 ลำในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันในช่วงสิ้นปีจะมีการเพิ่มเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-หลวงพระบาง และเส้นทางอื่น ๆ ในปีหน้าอีกมาก ดังนั้น…การปรับกลยุทธ์เข้าเกียร์ 5 ให้ไทยสไมล์เดินหน้าธุรกิจเต็มตัวครั้งนี้ จึงติดตามว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะฉุดการบินไทยให้ฟื้นคืนกลับมาได้เร็วเพียงใด!!. ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไทยสไมล์บุก‘ฉงชิ่ง-ฉางชา’เร่งเสริมศักยภาพการบินไทย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs