เมื่อวันที่ 6 พ.ย. รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอมาตรการกระตุ้นการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 56 ให้ที่ประชุมครม.พิจารณา หลังจากได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ.ภูมิภาค) ที่จังหวัดลพบุรี โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเจรจากับนักลงทุนรายใหญ่ กำหนดเงื่อนไขทางภาษีและการเงินชักจูงให้ผู้ประกอบการเพิ่มยอดการผลิตฮาร์ดดิสก์ในประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวได้รับผลกระทบจากยอดการส่งออกที่ลดลง ขณะเดียวกันยังให้ไปกำหนดมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนผลิตสินค้าทดแทนที่มีเทคโนโลยีล่าสุดในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้สศช.ได้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลังร่วมพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และพิจารณาหามาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตที่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุนไปในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการสร้างศูนย์กระจายสินค้าโดยจับคู่ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ และจัดกิจกรรมการตลาด เช่น งานแสดงเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยตามจังหวัดชายแดนไทย รวมทั้งเจรจาขอนำรายการเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านออกจากขอบเขตรายการสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะเดียวกันยังกำหนดแนวทางอื่น เพื่อกระตุ้นการส่งออก เช่น ให้กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวทุกช่องทางและเจรจาโดยตรงกับผู้ซื้อรายใหญ่ในต่างประเทศ รวมทั้งจัดทำข้าวถุงเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำมาตรการลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพดีและปลอดสารพิษ รวมทั้งประสานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อศึกษาวิธีแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ยังให้กระทรวงพาณิชย์ให้พิจารณาส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตของอุปสงค์น้ำตาล โดยเฉพาะอินเดีย แอลจีเรีย และมาเลเซีย และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลในภาพรวมอย่างเป็นระบบ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตอ้อย ,ให้กระทรวงพลังงานประสานงานกับผู้ผลิตน้ำมันเพื่อศึกษาและประมาณการกำลังการผลิตที่เหมาะสม โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก นอกจากนี้ได้มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณายกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมสงเคราะห์ยางพารา (เงินเซส) ชั่วคราว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการเพิ่มอุปสงค์ยางพารา ส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ และลดอุปทานยางพาราอย่างเป็นระบบ รวมทั้งประสานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหาแนวทางนำยางในสต็อกไปเพิ่มมูลค่า และให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจให้กับผู้ซื้อยางในประเทศ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมการแปรรูปยางแท่งและน้ำยางข้นเป็นยางแผ่นผสม.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศช.แนะกู้ส่งออกโค้งสุดท้ายของปี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs