รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ผู้ให้บริการเรือด่วนในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ทำหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เพื่อขอให้พิจารณาขึ้นค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา อีกเที่ยวละ 2 บาทต่อช่วง เนื่องจากค่าโดยสารปัจจุบันเป็นอัตราที่ขาดทุน เพราะไม่เคยปรับขึ้นมาตั้งแต่ปี 51 ทั้งที่ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากวันละ 215 บาท เป็น 300บาท จนทำให้ขณะนี้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 40% ทั้งนี้ปี 55 ที่ผ่านมา เรือด่วนเจ้าพระยาขาดทุนแล้วกว่า 13 ล้านบาท และหากกรมเจ้าท่ายังมีนโยบายให้ตรึงราคาไปถึงสิ้นปี 56 บริษัทก็จะขาดทุนเพิ่มอีก 8 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากกระทรวงคมนาคมไม่อนุญาตปรับค่าโดยสาร ก็เสนอให้เรือด่วนเจ้าพระยาเก็บอัตราค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย แต่ส่วนเกินให้รัฐบาลเป็นผู้จ่ายชดเชยแทน โดยแนวทางนี้หากรัฐบาลเห็นชอบ เรือด่วนเจ้าพระยาจะเริ่มทันทีวันที่ 1 ม.ค.57 นายชัชชาติ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ยังไม่พิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาตามที่ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด เสนอมา แต่จะออกมาตรการช่วยเหลือด้านอื่นแทน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนซึ่งมีจำนวนมากถึง 30,000 คนต่อวัน เบื้องต้นจะหามาตรการจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาเพิ่ม เช่น ปรับเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯและปริมณฑลให้สามารถเข้าถึง ท่าเรือและเชื่อมต่อกับระบบการเดินทางอื่นๆได้มากขึ้น น.ท.ปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา กล่าวว่า ได้ยื่นขอปรับอัตราค่าโดยสารเรือระยะละ 2 บาท ไปตั้งแต่ปลายปี 54 แต่คณะกรรมการพิจารณาอัตราค่าโดยสารเรือประจำทางยังไม่อนุมัติปรับราคาให้ ทำให้บริษัทต้องแบกรับภาระการขาดทุนปี 55 ประมาณ 13 ล้าน และหากภายในสิ้นปีนี้ยังไม่มีการปรับอัตราค่าโดยสารเรือ คาดว่าจะขาดทุนรวมทั้งสิ้น 26 ล้านบาท ทั้งนี้ สาเหตุที่บริษัทประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากอัตราค่าน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 29.99 บาท แต่ค่าโดยสารที่จัดเก็บเป็นเกณฑ์ราคาน้ำมันระหว่าง 22-25 บาท ประกอบกับการปรับอัตราค่าแรงที่รัฐบาลมีนโยบายให้ปรับเพิ่มขึ้นวันละ 300 บาท ทำให้ต้นทุนค่าน้ำมันและค่าแรงสูงถึง 70% โดยไม่รวมรายจ่ายอื่นๆที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้ มีแนวโน้มว่า ทางกระทรวงคมนาคมจะหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้บริษัทไปลงทุนทำท่าเรือต่อเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต และอาจจะพิจารณาให้ปรับอัตราค่าโดยสารเพิ่มในส่วนของเรือด่วน แต่ถึงขณะนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ อัตราค่าโดยสารที่จัดเก็บปัจจุบัน เรือโดยสารประจำทาง(ไม่มีธง) เส้นทาง นนทบุรี – วัดราชสิงขร จัดเก็บในอัตรา ระยะละ 10-12-14 บาท เรือด่วนพิเศษธงส้ม เส้นทาง นนทบุรี–วัดราชสิงขร จัดเก็บในอัตรา 15 บาทตลอดสาย เรือด่วนพิเศษธงเหลือง เส้นทาง นนทบุรี – สาทร–ราษฏร์บูรณะ จัดเก็บในอัตรา 20 ตลอดสาย และเรือด่วน ส่วนต่อขยาย เส้นทางปากเกร็ด – นนทบุรี จัดเก็บในอัตรา 9 บาท
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ขึ้นราคาเรือด่วนเจ้าพระยา 2 บาท
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs