ปัจจุบันรังสีถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมายทั้งในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ แต่ท่ามกลางประโยชน์ก็มีโทษมหันต์ หากร่างกายได้รับปริมาณรังสีที่มากเกินระดับที่ปลอดภัย ทั้งจากการรั่วไหลในขณะที่ปฏิบัติงานและการเกิดอุบัติเหตุทางรังสี อย่างเช่น กรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ก่อความเสียหายอย่างมากเมื่อหลายปีก่อน ประเทศไทยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายองค์กรที่ให้บริการด้านรังสี หรือใช้รังสีเป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิตและให้บริการ อาทิ โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานด้านศุลกากร ตลอดจนมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับรังสี เพื่อดูแลความปลอดภัย สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีในประเทศ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. จึงติดตั้งเครื่องวัดรังสีทั่วร่างกาย (Whole body counter) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสุขภาพ หรือตรวจค่าปริมาณรังสีภายในร่างกายที่ได้รับขณะปฏิบัติงานกับรังสีทุกชนิด เพื่อให้การปฏิบัติงานทางรังสีเป็นไปตามาตรฐานโลก และปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ปฏิบัติงาน ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการ สทน. บอกว่า ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีที่มีโอกาสได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย มักจะทำงานกับต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก ที่สามารถระเหยหรือฟุ้งกระจายในอากาศและเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายมาก หากไม่ป้องกัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างเช่น เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ผลิต ไอโอดีน-131 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่สามารถระเหิดเป็นไอ หรืออาจมีการรั่วไหลออกมาจากตู้ผลิตได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จึงต้องมีการตรวจวัดปริมาณไอโอดีน-131 ที่สูดดมเข้าไปว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็น เบคเคอเรล (Bq) หลังจากนั้นจึงนำไปคำนวณหาปริมาณโดส ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิซีเวิร์ต (mSv) อีกทอดหนึ่ง ปริมาณโดสที่ได้นี้ จะเรียกว่า ปริมาณโดสจากรังสีภายในร่างกาย โดยทั่วไปผู้ปฏิบัติงานทางรังสีมีโอกาสที่จะได้รับรังสีทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย เรียกว่า ปริมาณโดสรวม ซึ่งจะต้องไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด คือ 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี นอกจาก ไอโอดีน-131 แล้ว ยังมีไอโซโทปอื่น ๆ ที่ใช้ในทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค หรือทางด้านการเกษตร หรือเพื่อการศึกษาวิจัย เช่น เทคนีเซียม-99 เอ็ม ซึ่งหากได้รับเข้าไปจะไปสะสมที่สมอง ฟอสฟอรัส-32 สะสมที่กระดูก และธาตุในอนุกรมทอเรียมและยูเรเนียม ดังนั้นการตรวจวัดปริมาณรังสีของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งจากภายในและจากภายนอกร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้หากเกิดอุบัติเหตุทางรังสี อย่างเช่นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ก็สามารถใช้เครื่องนี้ในการตรวจวัดประชาชนที่อยู่ในบริเวณการเกิดอุบัติเหตุเพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ได้รับ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและเยียวยาผู้ได้รับความเจ็บป่วยจากรังสีได้อีกด้วย ด้าน นายเดชาชัย ชาญบัญชี หัวหน้าหน่วยความปลอดภัยทางรังสี สทน. บอกว่า การตรวจวัดด้วยเครื่องดังกล่าวเหมาะสำหรับการวัดสารรังสีที่ให้รังสีแกมมา สามารถตรวจวัดรังสีทั่วทั้งร่างกายหรือบริเวณอวัยวะเฉพาะที่ โดยเครื่องจะมีหัววัดรังสีที่มีความไวและประสิทธิภาพสูง สามารถแยกพลังงานรังสีได้ดี และมีความถูกต้องแม่นยำสูง ปัจจุบันเครื่องวัดรังสีทั่วร่างกายมีการใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และทุกประเทศที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโน โลยีนิวเคลียร์ สำหรับประเทศไทย เครื่องวัดรังสีทั่วร่างกาย ของ สทน. ถือเป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวของไทยในขณะนี้ โดยติดตั้งอยู่ที่ สทน.สำนักใหญ่ องครักษ์ จ.นครนายก และพร้อมที่จะให้บริการตรวจวัดปริมาณรังสีในร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน จากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการใช้รังสีอย่างปลอดภัย.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เครื่องวัดปริมาณรังสีในร่างกาย เครื่องแรกและเครื่องเดียวในไทย
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs