วันนี้(5 มี.ค.) ที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงาน กสทช.จัดงานเสวนาประชุมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยต่อแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800เมกะเฮิร์ตซ และคลื่นความถี่ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือแนวทางการจัดประมูล 4จี โดยนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนา บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ กับ 900เมกะเฮิร์ตซ ควรจัดการประมูลคลื่นขึ้นพร้อมกันส่วนจำนวนของคลื่นที่นำมาจัดประมูล โดยย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซควรนำมาประมูล 2 ใบอนุญาต ใบละ 10 เมกะเฮิร์ตซ เท่านั้น เนื่องจาก ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซที่นำมาจัดประมูลมีจำนวน 12.5 เท่ากัน ใน 2 ช่วงความถี่ที่ไม่ติดกัน และจะทำให้มีเศษ 2.5 ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เห็นว่าควรจัดประมูล ในจำนวน 20เมกะเฮิร์ตซ เนื่องจากเดิมคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวที่เอไอเอส เป็นผู้ถือครองสัญญาสัมปทานได้ใช้งานในจำนวน 17.5 เมกะเฮิร์ตซเนื่องจากต้องเว้นช่วงคลื่น 2.5 เมกะเฮิร์ตซ ไว้เพื่อป้องกันคลื่นความถี่รบกวนแต่เชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจึงไม่จำเป็นต้องเว้นว่างช่วงคลื่นในส่วนดังกล่าวเพื่อป้องกันการรบกวน นอกจากนี้อยากให้แก้ไขวิธีการประมูลคลื่นใหม่เพราะเห็นว่าเมื่อในระหว่างการประมูลคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซใช้เวลามากเกินไปนายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าว ควรนำทั้ง 2 ย่านมาจัดการประมูลพร้อมกันเพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการต่างๆ ส่วนการประมูลคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ ควรประมูลในจำนวน 12.5 เมกะเฮิร์ตซ เพราะแม้การให้บริการ 4จี จะทำให้เหลือเศษคลื่น 2.5 เมกะเฮิร์ตซ แต่เศษ 2.5เมกะเฮิร์ตซ ก็เพียงพอสามารถนำมาให้บริการรองรับลูกค้าในระบบ 2จีได้ทั้งนี้ในส่วนของแนวทางการส่งเสริมผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ในการเข้าประมูล 4จี ดีแทค ยังไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่ เพราะด้วยขนาดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมปัจจุบันอาจเป็นจำนวนที่เพียงพอแล้วซึ่งในกรณีหากอยากส่งเสริมผู้เล่นรายใหม่ควรเลือกเป็นแนวทางการขายส่งขายต่อบริการโทรศัพท์มือถือ(เอ็มวีเอ็นโอ) แทนนางธัญวดี วงศ์ธีรฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ต้องการให้ กสทช.จัดทำตัวข้อกำหนดที่เป็นข้อยกเว้นในส่วนของผู้ถือหุ้นของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะกสท และบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) มีผู้ถือหุ้นหลักคนเดียวกัน คือกระทรวงการคลังซึ่งข้อกำหนดเดิมของ กสทช. ผู้เข้าประมูลจะมีความเกี่ยวข้องกันในเชิงผู้ถือหุ้นไม่ได้ทั้งที่ กสท และ ทีโอที มีแนวทางการดำเนินงานที่ต่างกันรวมทั้งยังอยากให้เพิ่มข้อกำหนด เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก โดยให้ผู้ชนะการประมูลสามารถนำคลื่นความถี่ไปให้บริการในลักษณะเอ็มวีเอ็นโอ ได้ อีกทั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ควรกำหนดระยะการวางโครงเช่นเดียวกับคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซเพื่อป้องกันผู้ชนะการประมูลไม่นำคลื่นที่ชนะการประมูลไปใช้งาน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสท แนะปลดล็อคผู้ถือหุ้นรัฐวิสาหกิจก่อนประมูล4จี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs