นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย เกี่ยวกับโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแนวทางการสนับสนุนมาตรการลดค่าครองชีพรถเมล์ รถไฟฟรีของประชาชนว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรปรับรูปแบบการลดค่าครองชีพรถเมล์ฟรี และรถไฟฟรีในอนาคตใหม่เป็น 3 ทางเลือก คือ ยกเลิกมาตรการเดิมไปเลย หรือคงมาตรการเดิมไว้แต่เพิ่มการบริหารจัดการที่เหมาะสม หรือคงมาตรการเดิมแต่ทำแบบมีเงื่อนไขให้ใช้เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น โดยกระทรวงจะต้องนำผลการศึกษาทั้ง 3ทางเลือกเสนอให้ ครม.ใหม่เป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ผลดี และผลเสียเบื้องต้น เห็นว่า แนวทางที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยเห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินมาตรการดังกล่าวต่อไป แต่ควรกำหนดเงื่อนไขการให้บริการเฉพาะคนบางกลุ่มที่มีรายได้น้อยเท่านั้น เช่น อาจมีการจัดทำคูปองแจกให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือจัดทำระบบสิทธิพิเศษการใช้บริการผ่านระบบตั๋วร่วม ซึ่งจะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่ารูปแบบได้จะเหมาะสมที่สุด นายจิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร หัวหน้าภาควิชาวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า จากการศึกษามาตรการลดค่าครองชีพด้านการเดินทางของ 18 ประเทศทั่วโลก จะเห็นว่าส่วนใหญ่ใช้แนวทางการให้บริการฟรีแบบมีเงื่อนไข เพราะเป็นแนวทางคุ้มค่ากับการสนับสนุนงบประมาณของรัฐบาลมากสุด โดยรัฐบาลควรจัดแบ่งกลุ่มคนที่ให้ความช่วยเหลือออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้บริการฟรี ได้แก่ ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน60ปี และเด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 120 เซนติเมตร เป็นต้น ขณะเดียวกันให้กลุ่มผู้ใช้บริการที่ได้รับส่วนลดค่าบริการในอัตราพิเศษ คือ กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนว่างงาน และ ทหารผ่านศึก เป็นต้น โดยในส่วนของกลุ่มคนมีรายได้น้อย อาจจะต้องมีการจัดทำทะเบียนให้ชัดเจนโดยอาจจำเป็นต้องขอข้อมูลรายละเอียดจากกระทรวงมหาดไทย ส่วนจะให้มีการส่วนลดในอัตราเท่าใดนั้นจะต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้ง “รัฐบาลควรคงมาตรการต่อไป เพราะให้ประโยชน์ต่อสังคมมากกว่าเงินลงทุนที่รัฐบาลสนับสนุน แต่ต้องเปลี่ยนมาใช้แนวทางการให้บริการฟรีแบบมีเงื่อนไขจึงจะคุ้มค่าสูงสุด เพราะจะช่วยลดภาระงบประมาณได้เดือนละ 30% หรือเดือนละ 105 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ต้องจ่ายงบชดเชยให้ ขสมก.และ ร.ฟ.ท. เดือนละ 355 ล้านบาท” อย่างไรก็ตาม มาตรการลดค่าครองชีพรถเมล์และรถไฟฟรีของรัฐบาลได้ดำเนินมาแล้วรวม 12 ระยะเริ่มตั้งแต่ 1ส.ค. 2551-30ก.ย. 56 มีผู้ได้รับประโยชน์รวมทั้งสิ้น 897.05 ล้านคน แบ่งออกเป็นขสมก.722 ล้านคนและ ร.ฟ.ท.175.05 ล้านคน และมีค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดระยะที่13 ณ วันที่31มี.ค. 57 รวมทั้งสิ้น 21,189.45 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ขสมก.15,533.84 ล้านบาท และรฟท. 5,655.61 ล้านบาท
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ระดมสมองยกเครื่องรถเมล์-รถไฟฟรี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs