นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ภาระหนี้สินของครัวเรือนแรงงานไทยในปี 57 เฉลี่ยที่ 106,216. บาทต่อครัวเรือน เพิ่มจากปีก่อน 7.9% เป็นหนี้ในระบบ 43.9% และ นอกระบบ 56.1% ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในการใช้จ่ายทั่วไปมากที่สุดในสัดส่วน 46.6% รองลงมาเป็นหนี้ในการซื้อบ้าน, ซื้อทรัพย์ (รถยนต์), การลงทุน, ค่ารักษาพยาบาล และ อื่นๆ เนื่องจากประสบปัญหาค่าครองชีพที่สูงจนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและการหาอาชีพเสริมเพื่อหารายได้พิเศษในช่วงนี้ก็ทำได้ลำบาก เป็นต้น ทั้งนี้ยังพบว่าสถานการณ์ความสามารถในการชำระหนี้ในปี 57 พบว่าแรงงานที่เป็นหนี้ 80.1% ประสบปัญหาในการจ่ายหนี้เนื่องจากไม่สามารถหาเงินมาหมุนได้ทันเวลา ส่งผลให้หลายๆรายใช้วิธีชำระหนี้แบบเดือนเว้นเดือน หรือการกู้หนี้นอกระบบมาโป๊ะหนี้เก่า เพื่อไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ส่วนกรณีที่หนี้นอกระบบมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากลูกหนี้รายเดิมที่มีบัตรเครดิตแล้ววงเงินการกู้เต็มวงเงินแล้วจึงไม่สามารถกู้เพิ่มได้ ขณะที่รายใหม่บางส่วนก็ถูกสถาบันการเงินงวดในการอนุมัติสินเชื่อเพราะกลัวว่าจะเป็นปัญหาเอ็นพีแอลตามาภายหลัง “เป็นการสำรวจผู้มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ซึ่งหนี้ 106,216.67 บาทนั้นเป็นจำนวนที่สูงสุดตั้งแต่มีการทำผลสำรวจเรื่องนี้ในปี 52 ส่วนการชำระหนี้จะเป็นแบ่งการผ่อนเงินกู้ในระบบเฉลี่ยรายละ 5,456.9 บาทต่อเดือน และ เงินกู้นอกระบบจะผ่อน 7,412.7 บาทต่อเดือน เนื่องจากเงินกู้นอกระบบมีอัตราดอกเบี้ยที่แพงกว่าในระบบ และที่สำคัญแรงงานจะเลือกจ่ายหนี้นอกระบบก่อนเพราะจะมีเรื่องของอิทธิพลการข่มขู่มาเกี่ยวข้องด้วย” นายวชิร กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นแรงงานมองว่าความเหมาะสมของค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันควรอยู่ในระดับ 388.25 บาทต่อวันภายในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน เนื่องจากจะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้ลดลง รวมถึงการช่วยให้เหลือเงินออมมากขึ้น, ช่วยให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น, ช่วยให้การใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นและช่วยให้เกิดการท่องเที่ยวมากขึ้น นอกจากนี้แรงงานยังมองว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าค่าจ้างขั้นต่ำควรอยู่ที่ 498.06 บาทต่อวัน และ ในอีก 5 ปีข้างหน้าค่าจ้างขั้นต่ำควรอยู่ที่ 579.74 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามในส่วนของการปรับขึ้นค่าจ้างนั้นแรงงานส่วนใหญ่มองว่าควรปรับขึ้นตามภาวะค่าครองชีพ นายวชิร กล่าวว่า ในส่วนของการสำรวจการใช้จ่ายของแรงงานในวันแรงงานไทยปี 57 ประเมินว่า แรงงานจะมีค่าใช้จ่ายรวมถึง 1,965.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.3% แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำในรอบ 4 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยสิ่งที่แรงงานต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือมากที่สุดคือ การดูแลค่าครองชีพและค่าแรงให้เหมาะสม, ดูแลเรื่องสวัสดิการที่เหมาะสม, แก้ปัญหาทางการเมืองให้เร็วที่สุด, กระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว และ การเพิ่มทักษะฝีมือให้แรงงานมีคุณภาพมากขึ้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หนี้ครัวเรือนแรงงานไทยพุ่ง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs