จากปลวกที่หลายคนเคยคิดว่าไร้ประโยชน์ แถมยังเป็นตัวร้ายทำลายบ้านไม้ได้เป็นหลัง ๆ ทำไมวันนี้ถึงกลายมาเป็นแหล่งที่มาของการสร้างพลังงานทดแทนในยามวิกฤติน้ำมันแพง ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ชวเดช อาจารย์และนักวิจัยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า เป็นไอเดียที่คิดมานานกว่า 10 ปี ที่อยากจะใช้ประโยชน์จากปลวก ซึ่งมีความสามารถในการย่อยสลายไม้เป็นอาหาร เนื่องจากมีจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร เช่นเดียวกับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่าง ๆ แบคทีเรียเหล่านี้จะทำหน้าที่ย่อยสารเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาล ก่อนที่ปลวกจะนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ปัจจุบันทั่วโลกประสบปัญหาวิกฤติพลังงานจากน้ำมัน จึงต้องมองหาพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากเช่น ซังข้าวโพด ชานอ้อย ฟางข้าว ที่ล้วนแต่เป็นชีวมวล ที่มีเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบหลัก และปลวกก็มีความสามารถย่อยสลายเซลลูโลสได้เป็นอย่างดี ทีมวิจัยจึงทำการศึกษาแบคทีเรียในปลวก และคัดแยกได้ 3 สายพันธุ์ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยเซลลูโลสเป็นน้ำตาล โดยเป็นแบคทีเรียได้มาจากปลวกป่าที่ นำมาจากสวนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐมนำมาเพาะเลี้ยงและทดลองย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่าง ๆ ทั้งชานอ้อย ซังข้าวโพด กากมันสำปะหลังและฟางข้าว พบว่าแบคทีเรียที่คัดแยกได้สามารถย่อยเซลลูโลสได้สูงถึง 70% ภายในเวลา 12 ชั่วโมง นักวิจัยบอกว่า แต่เนื่องจากแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ค้นพบอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และไม่สะดวกในการเพาะเลี้ยง ล่าสุด ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งอีโคไล ซึ่งเป็นแบคทีเรียในลำไส้มนุษย์ และนำยีนเด่นของแบคทีเรียจากปลวกป่าสายพันธุ์ไมโครซิโรเทอม ที่คัดเลือกไว้มาใส่ในแบคทีเรียอีโคไล ทำให้อีโคไลที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมมีความปลอดภัยมากขึ้น ง่ายต่อการเพาะเลี้ยงขยายจำนวนได้ตามต้องการ แถมเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลสได้มากกว่าเดิมอีก 18 เท่า อย่างไรก็ดีการย่อยเซลลูโลสให้ได้ดีที่สุด แบคทีเรียจะต้องสร้างน้ำย่อยได้ครบถึง 3 ชนิด ทำให้ขณะนี้ทีมวิจัยต้องทำโคลนนิ่งแบคทีเรียอีกหลายตัว เพื่อให้สามารถผลิตน้ำย่อยเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส จนครบทุกตัว ซึ่งอนาคตสามารถจะนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้งานจริง ในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เป็นน้ำตาล ก่อนนำไปผลิตเป็นเอทา นอลด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เรียกว่าจากปลวกที่เคยไร้ค่า เปลี่ยนมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของไทย ลดการใช้สารเคมีในการผลิตเอทานอลแถมยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย. นาตยา คชินทร nattayap.k@hotmail.com
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พลังงานทดแทนจากปลวก – ฉลาดคิด
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs