shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ฟิทช์ฯวิตกคนแห่ถอนเงิน ออมสินรับมือได้แค่ระยะสั้น

รายงานข่าวจาก ฟิทช์ เรทติ้ง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ฝากเงินได้ถอนเงินฝากกับธนาคารออมสิน ว่า ขณะนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาทางการเมือง ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อระบบธนาคารและการเงินของประเทศไทย แม้สภาพคล่องของออมสินและการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือองค์กรรัฐอื่น จะสามารถเผชิญกับความเสี่ยงได้ในระยะสั้น แต่หากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีความชัดเจนที่สิ้นสุดลงเมื่อไร และการหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยังมีความไม่แน่นอน อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของระบบธนาคารและการเงินยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น   “ฟิทช์มองว่าความไม่สงบทางการเมืองได้ส่งผลให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ และส่งผลต่อเนื่องให้ความเสี่ยงของธนาคารไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ปริมาณการถอนเงินฝากออกจากธนาคารจะยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ ที่รายงานว่าเงินฝากที่ไหลออกสุทธิเมื่อวันที่ 17 ก.พ.57 ประมาณ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารมีฐานเงินฝากรวมอยู่ที่ 1.724 ล้านล้านบาท” อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้การถอนเงินฝากเพิ่มขึ้นจากธนาคารรัฐแห่งอื่น อาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่สำคัญที่จะส่งผลให้ธนาคารรัฐมีภาระที่จะต้องกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารมากขึ้น และอาจรวมไปถึงการกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง โดยเชื่อว่าในระยะสั้นภาครัฐน่าจะสามารถป้องกันและบริหารจัดการความท้าทายในด้านสภาพคล่องของธนาคารรัฐได้ นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สิ่งที่ ฟิทช์ฯออกมาระบุ เพียงต้องการเตือนธนาคารออมสินให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงว่าเกิดการฝากหรือถอนเท่าไหร่ เพื่อให้รับทราบข้อมูลที่ตรงกัน โดยมองว่ากรณีดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อการประเมินเครดิตของประเทศ เพราะเป็นเพียงเรื่องภายในของธนาคารเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินยังมีเครดิตที่ดี เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐบาลค้ำประกัน 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฟิทช์ฯวิตกคนแห่ถอนเงิน ออมสินรับมือได้แค่ระยะสั้น

Posts related

 














พิษการเมืองฉุดประกันภัยทรัพย์สินวูบ

นางโสภา กาญจนรินทร์ ประธานบริหาร บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หากเหตุการณ์ทางการเมืองยืดเยื้อจะทำให้การเติบโตธุรกิจประกันภัยชอละตัวลง โดยปีนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คาดการณ์ไว้ว่าประกันวินาศภัยจะเติบโต 12% จากปีที่ผ่านมาโตประมาณ 15% เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลหยุดชะงัก เช่น  ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน  2 ล้านล้าน และการบริการจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท   ขณะที่ยอดขายรถยนต์ใหม่ลดลง ผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์ชะลอการก่อสร้างทำให้การรับประกันภัยทรัพย์สินของอุตสาหกรรมในปีนี้ลดลง  “  การแข่งขันของธุรกิจประกันวินาศภัยในปีนี้จะรุนแรง และเข้มข้นมากขึ้น เพราะตลาดมีเค้กจำกัด แต่ผู้ประกอบการประกันวินาศภัยทุกคนมีเป้าหมายต้องทำให้ได้ตามแผนที่วางไว้   ซึ่งในส่วนของบริษัทเน้นลูกค้าองค์กรเป็นหลัก โดยรับประกันภัยผ่านบริษัทโบรกเกอร์ ไม่มีการขายผ่านตัวแทน ทั้งนี้ตั้งเป้าเบี้ยรับรวมไว้ที่ 1,700 ล้านบาท หรือเติบโต 15 % แบ่งเป็นเบี้ยประกันจากลุ่มธุรกิจองค์กร 1,300 ล้านบาท และเบี้ยประกันจากผลิตภัณฑ์รายย่อย 400 ล้านบาท  ส่วนผลการดำเนินงานในปี 56 เบี้ยรับรวมอยู่ที่ 1,481 ล้านบาท  เติบโต 17 % แบ่งเป็นเบี้ยประกันทรัพย์สิน 723 ล้านบาท เบี้ยประกันรถยนต์ 279 ล้านบาท ประกันเบ็ดเตล็ด 183 ล้านบาท ประกันวิศวกรรม 129 ล้านบาท ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 134 ล้านบาท และประกันภัยการขนส่งทางทะเล 33 ล้านบาท”  นายณัฐวุฒิ  งานภิญโญ ประธานบริหารฝ่ายปฎิบัติการ บริษัทฟอลคอนประกันภัย กล่าวว่า บริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ หรือรีอินชัวร์รันส์ เริ่มเข้ามารับประกันภัยทรัพย์สินในไทยมากขึ้น  หลังจากเกิดวิกฤติการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 54 ที่ผ่านมาที่รีอินชัวร์รันส์ปฎิเสธรับประกันภัยจากไทย  เพราะเชื่อว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก ขณะที่ราคาการรับประกันภัยในปัจจุบันลดลงอย่างต่อเนื่อง  เช่น การรับประกันภัยทรัพย์สินคอนโดมิเนียม มีอัตราค่าเบี้ยลดลงเกิน 10 % แต่ราคาเบี้ยประกันที่ปรับลดลงแล้ว ก็ยังสูงกว่าเบี้ยประกันก่อนเกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พิษการเมืองฉุดประกันภัยทรัพย์สินวูบ

ยื่นลงทุนอีโคคาร์เฟส 2 ยังเงียบ

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีผู้ผลิตรถยนต์รายใด ยื่นขอส่งเสริมกาาลงทุน ผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ระยะ2 (อีโคคาร์ เฟส2) ซึ่งจะหมดเวลายื่นขอส่งเสริมลงทุนภายในวันทึ่ 31 มี.ค. 57 คาดว่า ผู้ประกอบการรอความชัดเจนในการพิจารณาว่า การลงทุนคุ้มค่า มีตลาดรองรับเพียงพอหรือไม่ พร้อมกับหาข้อมูลการลงทุนให้มากที่สุด เนื่องจากต้องลงทุนมูลค่าหลายพันล้านบาท และสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนว่า จะยุติอย่างไร“ล่าสุดได้หารือกับเอกชน พบว่า ยังมั่นใจในศักยภาพการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย เพราะนอกจากจะมีการผลิตรถยนต์แล้ว ยังมีการผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่สร้างมูลค่ามหาศาล โดยเชื่อว่าปี 60 ไทยจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 3 ล้านคัน ตามเป้าหมายที่รัฐบาล และเอกชนวางไว้ เพราะจะมีการผลิตรถยนต์ที่หลากหลาย ทั้งรถยนต์ที่เป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนในปัจจุบัน อย่างรถกระบะขนาดไม่เกิน1ตัน รถยนต์อีโคคาร์1 รวมทั้งรถยนต์นั่งที่ทำตลาดในปัจจุบัน”นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 58 จะมีการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ 2 รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่บีโอไอมีนโยบายสนับสนุนและเคยนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าตัวอย่างมาให้ผู้ผลิตรถยนต์ไทยศึกษาเป็นตัวอย่าง ทางผู้ผลิตรถยนต์ทั้งญี่ปุ่นและยุโรปจึงรอให้บีโอไอประกาศส่งเสริมลงทุนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีความสนใจจะผลิต เพราะเทคโนโลยีมีความพร้อมแล้วสำหรับปี 57 คาดว่า ไทยจะผลิตรถยนต์ได้ประมาณ 2.55 ล้านคัน แบ่งเป็น รถยนต์เพื่อส่งออก 1.2-1.3 ล้านคัน และรถยนต์เพื่อขายในประเทศ 1.2-1.3ล้านคัน ใกล้เคียงกับการส่งออก โดยตลาดส่งออกมีโอกาสมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และจีนดีขึ้น และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ยังสามารถส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ 1 ไปยังตลาดใหม่อย่างสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ขณะที่ตลาดในประเทศน่าจะทรงตัวมาจากปี 56นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ปกติการยื่นขอส่งเสริมลงทุนผลิตรถยนต์นั้น ผู้ประกอบการจะมายื่นในช่วงท้าย หรืออาจเป็นวันสุดท้ายก็ได้ เนื่องจากผู้ผลิตเกรงว่า ข้อมูลของบริษัทจะรั่วไหล โดยมั่นใจว่า ผู้ผลิตรถยนต์ จะยื่นขอลงทุนอีโคคาร์ 2 ไม่ต่ำกว่า 4-5 ราย ตามที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ออกมาตรการช่วงแรก มูลค่าลงทุนหลายหมื่นล้านบาท โดยการยื่นลงทุน จะไม่สามารถเปลี่ยนใจได้ และหากได้บัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว จะสามารถเดินหน้าลงทุนได้ภายในปี 62

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ยื่นลงทุนอีโคคาร์เฟส 2 ยังเงียบ

Page 1019 of 1552:« First« 1016 1017 1018 1019 1020 1021 1022 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file