shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ราคาทอง13ก.พ.57 ปรับครั้งที่2 รูปพรรณขาย20,300บาท

วันที่ 13 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11:09 น. เว็บไซต์สมาคมค้าทองคำ ประกาศปรับราคาทองคำในประเทศครั้งที่ 2 โดยลดลงจากเดิม 50 บาท ทำให้ราคาปัจจุบันอยู่ที่ รูปพรรณขายบาทละ 20,300 บาท รับซื้อ 19,510.92 บาท ทองแท่งขายบาทละ 19,900 บาท รับซื้อ 19,800 บาทราคาทองคำและครั้งที่ปรับราคาทองคำปรับครั้งที่ 2 ลด 50 บาท รูปพรรณขายบาทละ 20,300 บาท รับซื้อ 19,510.92 บาท ทองแท่งขาย 19,900 บาท รับซื้อ 19,800 บาท เวลา 11:09 น.ราคาทองคำปรับครั้งที่ 1 ขึ้น 100 บาท รูปพรรณขายบาทละ 20,350 บาท รับซื้อ 19,556.40 บาท ทองแท่งขาย 19,950 บาท รับซื้อ 19,850 บาท เวลา 09:24 น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ราคาทอง13ก.พ.57 ปรับครั้งที่2 รูปพรรณขาย20,300บาท

Posts related

 














ปฏิรูปพลังงานไทย – พลังงานรอบทิศ

ยุคนี้เป็นยุคปฏิรูปอะไร ๆ ก็ต้องปฏิรูป วันก่อนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ลงลิตรละ 5 บาท และให้ชะลอการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนออกไปก่อนพร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานไทย แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปพลังงานไทยก็คือการปฏิรูปโครงสร้างองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่เป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ง    ชาติหรือกพช. ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.คณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีจำนวนทั้งสิ้น 19 คน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯรองนายกฯที่นายกฯมอบหมายเป็นรองประธานฯ นอกจากนั้นก็ประกอบไปด้วย รมว.สำนักนายกฯและรมว.กระทรวงอื่น ๆ อีก 11 คน เป็นกรรมการ มีข้าราชการประจำ 5 คน เป็นกรรมการ โดยมีผอ.สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้มีสัดส่วนของนักการเมืองสูงมาก (13 ใน 19 คน หรือ 68%) และมีข้าราชการประจำอยู่เพียง 5 คน หรือ 32% ดังนั้นการดำเนินนโยบายทางด้านพลังงานของไทยจึงตกอยู่ภายใต้การชี้นำการบริหารและการแทรกแซงจากนักการเมืองอยู่ตลอดเวลา เพราะข้าราชการประจำที่มีอยู่เพียง 5 คน ก็คงไม่สามารถทัดทานอะไรนักการเมืองได้ (ถึงมีสัดส่วนมากกว่านี้ ก็คงไม่กล้าทัดทานอะไรมากนัก) ทำให้นโยบายทางด้านพลังงานหลายเรื่องต้องถูกบิดเบือนเพื่อสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง และนโยบายประชานิยมเฉพาะหน้าจนทำให้มีปัญหาในระยะยาว อย่างเช่นการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีอย่างยาวนานมาเป็นเวลานับสิบปีหรือการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท มาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว ดังนี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าเราจะเริ่มการปฏิรูปพลังงานไทยกันอย่างจริงจังผมก็อยากเสนอให้เริ่มที่การปฏิรูปโครงสร้างองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกันก่อน โดยอยากเสนอให้มีการแก้ไขพ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้ กพช. มีองค์ประกอบที่หลากหลายมากขึ้นโดยลดสัดส่วนของนักการเมืองลงให้เหลือเฉพาะ นายกรัฐมนตรี รองนายกฯและรมว.กระทรวงสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ไม่เกิน 5-6 กระทรวง คงสัดส่วนของข้าราชการประจำเอาไว้เหมือนเดิมแล้วไปเพิ่มสัดส่วนกรรมการในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ องค์กรเอกชน สื่อมวลชนตัวแทนผู้บริโภค และตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น  ผมคิดว่านี่เป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปพลังงานในบ้านเราครับโดยเริ่มต้นจากการปฏิรูปโครงสร้างการกำหนดนโยบายพลังงานเป็นอันดับแรกให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น ดีกว่าไปเรียกร้องเรื่องลดราคาพลังงานซึ่งเป็นเรื่องปลายเหตุครับ!!!.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปฏิรูปพลังงานไทย – พลังงานรอบทิศ

เร่งพัฒนาแหล่งแร่ศก.นำร่องเหมืองโปแตส

นายปณิธาน จินดาภู อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  (กพร.) เปิดเผยว่า  ในปี 57 กรมฯ จะเดินหน้าพัฒนาแหล่งแร่เศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเหมืองแร่โปแตส ซึ่งปัจจุบันมีเหมืองแร่โปแตส 3 แห่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ  คือ บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน  อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ  มีสายแร่ 570 ล้านตัน สกัดเป็นแร่โปแตสได้ 15% , บริษัท เอเซียแปซิฟิคโปแตช คอร์ปอเรชั่น จ.อุดรธานี มีสายแร่โปแตส 118 ล้านตัน สกัดเป็นแร่โปแตสประมาณ 37%   และบริษัทไทยคาลิ จำกัด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา สำหรับเหมืองแร่โปแตสของ บริษัท เอเซียแปซิฟิคโปแตชฯ และเหมืองบริษัทไทยคาลิ ได้ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว และคาดว่าภายในปีนี้ บริษัท ไทยคาลิ จะเดินหน้าเปิดเหมืองได้ เพราะชาวบ้านในพื้นที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ ส่วนเหมืองของบริษัทเอเซียแปซิฟิคโปแตชฯ ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่เห็นด้วย จะต้องเจรจากับชาวบ้านให้เรียบร้อยก่อน ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเลือกตัวแทนเข้ามาตรวจสอบโครงการจนมั่นใจว่าจะไม่กระทบสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ จะร่วมมือกับภาคเอกชน และกระทรวงพลังงาน พัฒนาแหล่งหินน้ำมันที่ จ.ตาก ซึ่งมีคุณภาพไม่ดี ไม่มีความคุ้มทุนทางการผลิต ให้สามารถผลิตเป็นน้ำมันดิบที่มีคุณภาพ และมีต้นทุนที่แข่งขันได้เชิงพาณิชย์ โดยจะมีการสำรวจปริมารณสำรองเพิ่มเติม และพิจารณาเทคโนโลยีการผลิตล่าสุดที่มีความเหมาะสมมาใช้ในโครงการนี้ รวมทั้งจะต่อยอดเพิ่มมูลค่าของแร่หินน้ำมันให้เกิดมูลค่าสูงสุด เช่น การร่วมมือกับโรงงานปูนซิเมนต์ในการซื้อกากที่เหลือจากการผลิตน้ำมันดิบไปเป็นวัตถุดิบผลิตปูนซิเมนต์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการผลิต ส่วนการรีไซเคิลแร่อุตสาหกรรมนั้น จะร่วมมือกับภาคเอกชน นำทรายที่เหลือจากการคัดแยกทรายขี้เป็ดที่คัดเอาทรายเนื้อหยาบไปใช้ในการก่อสร้าง เหลือเป็นทรายเนื้อละเอียดที่ไม่เหมาะกับการก่อสร้างทิ้งไปหลายแสนตันต่อปี

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เร่งพัฒนาแหล่งแร่ศก.นำร่องเหมืองโปแตส

Page 1047 of 1552:« First« 1044 1045 1046 1047 1048 1049 1050 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file