shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

แนะโรงงานไทยย้ายฐานผลิตหวังใช้สิทธิจีเอสพี

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีเค การ์เมนท์ จำกัด ผู้ผลิตระดับโลก 90 ยี่ห้อ เปิดเผยในงานสัมมนา ” เจาะช่องทางการค้า การลงทุน ในประเทศกัมพูชา  พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซีย” ว่า ปัจจุบันเจ้าของลิขสิทธิ์เสื้อผ้ายี่ห้อดังระดับโลกเริ่มขอให้ผู้รับจ้างผลิตเสื้อผ้าในไทยพิจารณาไปตั้งโรงงานผลิตในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า และกัมพูชา เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยและการผลิตเสื้อผ้าในเพื่อนบ้านสามารถใช้สิทธิพิเศษอัตราภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในตลาดยุโรป สหรัฐ และประเทศพัฒนาอื่นๆ “ตอนนี้ไทยถูกตัดจีเอสพีแล้วก็จะทำให้เสื้อผ้าที่ผลิตจากไทยต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นในตลาดใหญ่ๆ ในอัตรา 12-17% หากเจ้าของแบรนด์นำสินค้าไปขายในหลายๆตลาดก็จะเสียเปรียบเรื่องราคาในการแข่งขัน ดังนั้นผู้รับจ้างผลิตเสื้อผ้าของไทยก็ได้ไปตั้งโรงงานในเพื่อนบ้านจำนวนมากแล้ว ส่วนรายที่ยังไม่ไปก็จะถูกเจ้าของสินค้าบีบให้ไปตั้งโรงงาน เพราะในไทยต้นทุนค่าแรงแพงมากอยู่ที่ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ แต่เพื่อนบ้านอยู่ที่ 100-130 บาทต่อวันและที่สำคัญไม่ขาดแรงงานด้วย” ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทเข้าไปลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเมือง บันเดียเมียนเจย ประเทศกัมพูชาแล้วก่อนหน้านี้ซึ่งมีผู้ประกอบการไทยทั้งที่เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า และสินค้าอื่นๆเข้ามาตั้งโรงงานหลายราย โดยค่าแรงในกัมพูชาจาก1-2 ปีก่อนเฉลี่ยที่ 80 บาทต่อวันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 100-130 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นการรวมทั้งค่าจ้าง เบี้ยขยันและสวัสดิการอื่นๆ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ผู้ประกอบการไทยรับได้ สำหรับกิจการของกลุ่มทีเค การ์เมนท์ จำกัดที่ไปลงทุนในเวียดนามนอกจากจะมีการตั้งโรงงานในผลิตเสื้อผ้าแล้ว ยังมีกิจการโรงแรมธารา อังกอร์  ที่จังหวัดเสียม, บริษัททัวร์, ภัตตาคาร เพื่อรองรับการขยายตัวของท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา เนื่องจากต่างชาติให้ความสนใจในการเข้ามาท่องเที่ยวในกัมพูชาเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสถานที่สำคัญอย่างนครวัด และนครธม  เป็นต้น นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนเออีซี วงเงินเบื้องต้น 1,000 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่ต้องการไปลงทุนในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะพม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว และอินโดนีเซีย เป็นต้น ในอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ซึ่งจะช่วยให้เอสเอ็มอีขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายและช่วยลดต้นทุนในการแข่งขัน “ที่ผ่านมาประเทศต่างๆก็ได้มีการช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องผู้ประกอบการให้ไปลงทุนในเพื่อนบ้าน เช่น จีน และ เวียดนาม ดังนั้นในส่วนของไทยก็ควรจำเป็นต้องมีกองทุนให้เอสเอ็มอีกู้บ้าง หากดำเนินการได้ก็จะช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยมีความพร้อมมากขึ้นก่อนที่จะมีการเปิดเออีซีในปี 58” นายอัทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการศึกษาราคาที่ดินในเขตพื้นที่ลงทุนของประเทศในอาเซียนพบว่าเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า มีอัตราของราคาที่ดินเพิ่มมากที่สุดโดยเพิ่มจาก1-2 ปีก่อนประมาณ 200-300% เนื่องจากมีนายหน้าปั่นราคาเพื่อขายให้แก่นักลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มทุนจากสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ที่พร้อมจะทุ่มเงินในการซื้อหรือเช่าพื้นที่รองรับการเปิดเออีซีและรับการเปิดนิคมอุตสาหกรรมทวาย ส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยจำนวนมากไม่สามารถที่จะเช่าที่หรือซื้อที่ดินในการดำเนินธุรกิจได้เพราะไม่คุ้มทุน นางศิริพร นุรักษ์ ผู้อำนวยการระดับสูงกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ในระยะหลังการลงทุนจากต่างชาติโดยตรงในประเทศไทยเริ่มลดลงเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนด้วยกัน โดยในปี 56 สิงคโปร์ยังมีเม็ดเงินจากต่างเข้ามาลงทุนมากที่สุดที่ 56,651 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย 19,853 ล้านเหรียญฯ มาเลเซีย 10,074 ล้านเหรียญฯ ไทย 8,067 ล้านเหรียญฯ เวียดนาม 8,368 ล้านเหรียญฯ “ยอมรับว่าหากเป็น 4-5 ปีก่อนไทยจะเป็นเบอร์ 2 ที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพราะเป็นประเทศน่าสนใจมาก แต่ในระยะหลังๆ ประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างได้รับความสนใจจากต่างชาติ โดยเฉพาะพม่า และ กัมพูชา”  แบรนด์เสื้อผ้าโลกบีบโรงงานไทยย้ายฐานผลิตตั้งในเพื่อนบ้าน อ้างต้นทุนการผลิตถูก- หวังพึ่งจีเอสพี ด้าน  ม.หอการค้าชงตั้งกองทุนเออีซี 1,000 ล้านปล่อยกู้เอสเอ็มอี ระบุเมืองย่านกุ้ง ที่ดินพุ่ง 300% รอเก็งกำไรทุนต่างชาติ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะโรงงานไทยย้ายฐานผลิตหวังใช้สิทธิจีเอสพี

Posts related

 














กสิกรไทยออกแพกเกจปล่อยกู้ท่องเที่ยว

นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า  ธนาคารได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกาลางและขนาดย่อมหรือสสว. ออกแพกเกจปล่อยกู้ช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วยโรงแรม-ที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว-สปา  ธุรกิจบริการรถเช่า -เรือเช่า  ธุรกิจขายของฝากและของที่ระลึก(ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน)ขอสินเชื่อได้สุงสุด 10 ล้านบาท โดยได้จัดสรรวงเงินไว้ประมาณ  2,000 ล้านบาท  “ พอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคาร มีลูกค้าเอสเอ็มอีอยู่ในพื้นที่ชุมนุมในกรุงเทพฯ 17,500 ราย มีลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ 500 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท หรือ 0.72 % ของสินเชื่อเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 520,000 ล้านบาท” สำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารที่อยู่ในต่างจังหวัด และทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับชาวนา เช่น ค้าขายปุ๋ย  เมล็ดพันธุ์ หรือธุรกิจค้าขายทั่วไป เริ่มได้รับผลกระทบหลังจากชาวนาไม่ได้รับเงินจำนำข้าวตั้งแต่เดือนต.ค. 56 เป็นต้นมา ทำให้ไม่มีเงินเข้ามาในระบบ ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าขาย เริ่มสะดุดไม่สามารถชำระหนี้ได้ และหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะมีปัญหาเครดิตทางการค้าจึงได้ช่วยเหลือเป็นรายกรณี เช่น ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เพื่อไม่ให้ลูกหนี้เป็นปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล  ปัจจุบันอยู่ที่ 2.8% จากเดิมที่ 3.2% นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า  ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 80%  ซึ่งหากมีแหล่งเงินทุนจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้ารองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีได้  และที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยยอมรับว่าการชุมนุมที่ยืดเยื้อไปถึงไตรมาส 2/57 นักท่องเที่ยวจะหายไป 1.8 ล้านคน หรือสูญรายได้ประมาณ 82,000 ล้านบาท  ดังนั้นอยากให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากัน เพราะไม่อยากให้เหตุการณ์รุนแรงถ้าทุกคนรักประเทศต้องทำเพื่อประเทศ  แต่ปีนี้ตั้งเป้ามีรายได้ท่องเที่ยวประมาณ 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.3 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวในประเทศ 700,000 ล้านบาท  “เหตุการณ์การเมืองทำให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติไม่มีอารมณ์เดินทางมาเที่ยว ซึ่งอยากให้จบโดยเร็ว ถ้าเทียบการชุมนุมการเมืองปีนี้กับปีก่อนหน้าถือว่าไม่ได้รุนแรงมาก โดยมีสถานเอกอัคราชฑูต 40 ประเทศที่ยกระดับการเตือนอยู่ที่ 2 และ 3 แต่ในปี 53 มี 100 ประเทศที่ยกระดับการเตือนเป็นระดับสูงสุด”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสิกรไทยออกแพกเกจปล่อยกู้ท่องเที่ยว

หุ้นไทยภาคเช้าวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ปิดบวก 5.78 จุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช้าวันนี้(12 ก.พ.) ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นทันทีที่เปิดตลาด จากนั้นก็เคลื่อนไหวในแดนบวกได้ จนทะลุ1,300 จุดอีกครั้ง ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้าตอบรับข่าวกรณีที่สหรัฐสามารถบรรลุข้อตกลงในเรื่องของเพดานหนี้โดยได้ขยายระยะเวลาออกไป รวมถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าหน้าแผนการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(คิวอี)  ต่อไปเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ส่งผลให้หุ้นไทยปิดตลาดภาคเช้าที่ 1,302.03 จุดเพิ่มขึ้น 5.78 จุด หรือ 0.45% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย11,332.35 ล้นบาท    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หุ้นไทยภาคเช้าวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ปิดบวก 5.78 จุด

Page 1051 of 1552:« First« 1048 1049 1050 1051 1052 1053 1054 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file