shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เอสเอ็มอีไทยหลังพิงฝา แห่ปรับกลยุทธ์ดิ้นหนีตาย

 ต้องยอมรับว่าจากปัญหานโยบายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท การชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมไปถึงความวุ่นวายทาง การเมืองได้ทำให้บรรดาเถ้าแก่เล็กเถ้าแก่ใหญ่และเอสเอ็มอีไทยต้องนั่งปวดหัวกุมขมับกันเป็นแถว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ห้วงภาวะสุญญาการทางการเมือง ที่ยังไม่มีอนาคตว่าจะถึงจุดจบเมื่อใด ยิ่งซ้ำเติมให้เอสเอ็มอีไทยต้องเผชิญกับสารพัดปัญหาสารพัดความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยไม่รู้ว่าต่อจากนี้อนาคตของตัวเองจะเป็นเช่นไร เพราะไม่มีนโยบายช่วยเหลือจากรัฐบาล ผลของความไม่แน่นอนว่าไทย จะมีรัฐบาลตัวจริงที่มีอำนาจเต็มได้เมื่อใด?  ได้ส่งผลให้บรรดาเถ้าแก่เหล่านี้ต่าง “ต้องดิ้นต้องตะกาย” เพื่อหนีตายจากการทำธุรกิจ ทั้งการช่วยเหลือตัวเอง หรือไม่ก็ช่วยเหลือเครือข่ายให้ประคองกิจการอยู่รอดต่อไป เพื่อรอความหวังว่าจะมีรัฐบาลตัวจริงเสียงจริงเข้ามาเยียวยา  เคราะห์ซ้ำกรรมซัด  เพราะหากมัวแต่นั่งรอให้รัฐบาลเข้ามาช่วย… รับรองได้ว่าบรรดาเอสเอ็มอีเหล่านี้ต้องชัตดาวน์ตัวเองกันระนาวแน่ ก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 แน่นอน เนื่องจากรัฐบาลรักษาการที่มีอยู่ในตอนนี้ก็ยังเอาตัวเองไม่รอดจากการชุมนุมขับไล่ของกลุ่มมวลมหาประชาชน และการทวงเงินค่าข้าวของกลุ่มชาวนา ทั้งนี้ยอมรับว่าผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เข้ามาซ้ำเติมปัญหาอื่น ๆ ที่มีก่อนหน้านี้เหมือนกับเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทำให้เอสเอ็มอีขายสินค้าได้ลำบากมากเนื่องจากผู้บริโภคไม่มีอารมณ์ที่จะจับจ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้า จนส่งผลให้สินค้าค้างในสต๊อกจำนวนมาก ประกอบกับลูกค้าชะลอการจ่ายค่าสินค้า หรือจ่ายก็ไม่เต็มวงเงิน หากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อนานเท่าใด ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคงมี 2 ทางให้เลือก คือ ต้องปิดกิจการเพื่อให้เจ็บตัวน้อยที่สุด  หรือจะเลือกเดินหน้าสู้ต่อไป โดยการหาสถาพคล่องและปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันเพื่อประคองกิจการจนกว่าเศรษฐกิจจะดีและมีรัฐบาลใหม่ ปรับแผนดิ้นหนีตาย  ส่วนแนวทางในการปรับตัวของเอสเอ็มอีในช่วงสุญญากาศทางการเมืองนั้น “เพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด”นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สมาคมเอสเอ็มอีไทย) มองว่า ขณะนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีการรวมกลุ่มในการขับเคลื่อนธุรกิจไปด้วยกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจในกลุ่มด้วยกัน เบื้องต้นคงจะให้ความสำคัญในการทำตลาดบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น  โดยสาเหตุที่เอสเอ็มอีให้ความสำคัญตลาดค้าชายแดนเพราะผู้ประกอบการได้เป็นเงินสดทันที  ซึ่งเป็นหนทางที่ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องระดับหนึ่ง ที่สำคัญเพื่อนบ้านไทยอย่างกัมพูชา เมียนมาร์ ลาว  เริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้นและเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าไทยอย่างมาก ขณะเดียวกันทางสมาคมฯ ได้เตรียมหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มสมาชิกมากขึ้น เพราะหากรอให้ภาครัฐมาช่วยเหลือคงไม่ได้ เนื่องจากภาครัฐเองยังเอาตัวเองไม่รอด โดยเบื้องต้นเตรียมผลักดันให้มีการจัดงาน “เอสเอ็มอีเดย์” ขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้คนไทยมีการใช้สินค้าไทยทั้งในด้านของกิน ของขวัญ ของชำร่วย และ สินค้าทั่วไป  ซึ่งตรงนี้เชื่อว่าจะสร้างกระแสให้ผู้บริโภคหันมาใช้สินค้าไทยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามสิ่งที่เอสเอ็มอีต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้ประกอบการในกรณีที่สามารถเร่งดำเนินการได้ในปัจจุบัน คือ การหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในการแก้ปัญหาสภาพคล่อง รวมไปถึงการลดภาษีเอสเอ็มอี หรือแม้แต่การหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพิ่มเติม หรือการสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศไทย และสุดท้ายคือเร่งแก้ปัญหาความยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองให้เร็วที่สุด แนะลดรายจ่าย  ขณะที่ “ธนวรรธน์ พลวิชัย” ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เสนอแนะแนวทางการปรับตัวแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากผลกระทบทางการเมือง โดยเฉพาะร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม และร้านค้าต่าง ๆ ว่า ประการแรกต้องจำใจก่อนเพื่อเป็นแรงผลักดันให้เอสเอ็มอีได้สู้ต่อไปจากนั้นก็เน้นรักษาสภาพคล่องไว้ การประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงที่ขายของลำบากการประหยัดรายจ่าย โดยเฉพาะการหยุดรับ หรือลดคนงานในช่วงนี้ไปก่อน นอกจากนี้เถ้าแก่น้อยเถ้าแก่ใหญ่ก็ต้องหารายได้ทางอื่นๆ ในลักษณะเชิงรุกหรือการบริการส่งสินค้าให้ถึงบ้านลูกค้า และการดูแลลูกค้าให้ดีที่สุดเพื่อรักษาสัดส่วนตลาดก่อนที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลายและเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว เร่งเสริมสภาพคล่อง  ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวที่มีการประเมินว่าจะได้รับผลกระทบมากสุดจากปัญหาทางการเมืองในขณะนี้ “ปิยะมาน เตชะไพบูลย์”  ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (สทท. )  ระบุว่า สทท.เตรียมร่วมกับธนาคารกสิกรไทยจัดโครงการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เช่นการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับเอสเอ็มอีในภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ บริษัททัวร์ที่มีกว่า 80% ได้รับผลกระทบแล้ว ขณะเดียวกันยังเตรียมเปิดคลินิกสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อ สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขณะนี้ได้แต่ใช้เงินสำรองจ่ายเพื่อรักษาสภาพคล่องไปก่อน ซึ่งหากเป็นอุตสาหกรรมใหญ่อาจอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน แต่ภาคท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเอสเอ็มอี มีเงินหมุนเวียนในระบบไม่เกิน 3 เดือน และเหตุการณ์การชุมนุมเริ่มเข้าเดือนที่ 3 แล้ว บวกกับปัจจัยต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอีก 40% ที่ต้องเป็นภาระที่ต้องรั บผิดชอบด้วยจึงทำให้ค่อนข้างได้ รับผลกระทบมาก ชั่วโมงนี้… การพึ่งพาตนเองหรือการสร้างเครือข่ายถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการนำพาให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ  เพราะหากหวังพึ่งพารัฐบาลหรือพึ่งพาบุคคลอื่นมากเกินไป เชื่อว่าเถ้าแก่น้อยใหญ่เหล่านี้คงมองไม่เห็นอนาคตแน่นอน!   ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอสเอ็มอีไทยหลังพิงฝา แห่ปรับกลยุทธ์ดิ้นหนีตาย

Posts related

 














ธพว.เด้ง เอ็มดีพ้นเก้าอี้

 นายนริศ ชัยสูตร ประธานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารประชุมวาระพิเศษในรอบ 6 เดือน มีมติเอกฉันท์ให้เลิกจ้าง นายมนูญรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการธนาคาร โดยมีค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างกรรมการผู้จัดการชดเชยให้ 6 เดือน และให้หยุดปฎิบัตหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.57 เป็นต้นไป โดยได้แต่งตั้งให้ น.ส.ปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ให้เป็นรักษาการกรรมการผู้จัดการแทน เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนฟื้นฟู ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การดำเนินงานของนายมนูญรัตน์ ไม่ผ่านตามวัตถุประสงค์ที่เสนอให้กับคณะกรรมการธนาคารทั้ง 7 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ทั้งผลของการดำเนินงาน 70% และวิธีการบริหาร 30% เนื่องจากกรรมการผู้จัดการไม่รักษาผลประโยชน์ธนาคาร ขาดหลักธรรมมาภิบาล, รายงานตัวเลขเป็นเท็จซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิดระเบียบ ไม่ปฎิบัติตามมติคณะกรรมการ โดยหลังจากนี้จะมีการตรวจสอบการทุจริตย้อนหลังอีกด้วย ซึ่งการเลิกจ้างสัญญาในครั้งนี้ สามารถทำได้โดยมติของคณะกรรมการ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรักษาการ อย่างไรก็ตาม ส่วนกรณีการจ่ายโบนัสประจำปีของธนาคารต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 2 ก.ค.56 โดยผลการดำเนินงานปี 56 ที่ผ่านมา ธนาคารมีกำไรก่อนการตรวจสอบของสำนักตรวจเงินแผ่นดิน 656 ล้านบาท เป็นมาจากการปฏิบัติงานตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงกาาคลังเมื่อเดือน ม.ค.56 ก่อนที่นายมนูญรัตน์ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธพว.เด้ง เอ็มดีพ้นเก้าอี้

ยอดส่งออกข้าวไทยปี 56 ร่วงอันดับ 3 ของโลกติดต่อกัน 2 ปี

 ร.ต.ท. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ในปี 56 ไทยส่งออกข้าวมูลค่า 133,852 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 6.4% หรือคิดเป็นจำนวน 6.6 ล้านตัน ลดลง 1.8%   ซึ่งเป็นปริมาณอันดับที่ 3 ของโลกติดต่อกัน 2 ปีรองจากอินเดียที่มีปริมาณส่งออก 10.5 ล้านตันและเวียดนาม  7.2 ล้านตัน โดยปริมาณส่งออกข้าวไทย 6.6 ล้านตันไม่มีการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือ จีทูจี ตามที่รัฐบาลเคยประกาศว่าจะมีการซื้อขายข้าวลักษณะดังกล่าวเลยแม้แต่เมล็ดเดียว  ทั้งนี้เท่าที่มีการศึกษาพบว่า ในกรณีที่จะมีการซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับรัฐบาลจีนนั้น จะต้องมีการทำข้อตกลงกันกับบริษัท คอฟโก เท่านั้น หากทำสัญญากับหน่วยงานอื่นของจีนก็จะไม่ถือว่าเป็นการซื้อขายแบบจีทูจีน เช่นกรณีที่รัฐบาลมีการทำสัญญาซื้อขายข้าวกับบริษัทเป่ยต้าหวงจำนวน 1.2 ล้านตัน และสุดท้ายต้องการยกเลิกการซื้อขายนั้นเชื่อว่ากรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการขายข้าวแบบจีทูจี สำหรับการทำสัญญาซื้อขายข้าวกับรัฐบาลจีนนั้นเช่น ในกรณีที่สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับบริษัท คอฟโก โดยสาระสำคัญ คือ การให้สิทธิพิเศษเฉพาะประเทศไทยในการส่งออกข้าวไปยังจีนปีละ 200,000 ตัน ระยะเวลา 5 ปี รวม 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นไปตามโควตาที่จีนผูกพันกับองค์การการค้าโลก (ดับปลิวทีโอ)  ที่ให้เก็บภาษีนำเข้าข้าวเพียง 1% จากภาษีปกติ 65%    “ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลมักจะมีการพูดถึงการขายข้าวจีทูจีกับประเทศจีนอย่างมาก โดยในปี 55 ไทยส่งออกข้าวไปจีน 176,214 ตัน และในปี 56 จำนวน 327,559 ตัน เพิ่มขึ้น 85.9% ซึ่งปริมาณดังกล่าวก็เป็นการส่งออกข้าวจากภาคเอกชนทั้งหมด และหากจีทูจีสามารถดำเนินการได้จริงตามที่รัฐบาลประกาศมาหลายๆครั้งเชื่อว่าในแต่ละปีไทยคงส่งออกข้าวได้ปริมาณมหาศาลกว่านี้และข้าวในสต็อกก็คงไม่มากเช่นกัน”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ยอดส่งออกข้าวไทยปี 56 ร่วงอันดับ 3 ของโลกติดต่อกัน 2 ปี

Page 1075 of 1552:« First« 1072 1073 1074 1075 1076 1077 1078 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file