shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

แอร์พอร์ตลิงก์ เดินหน้าจัดซื้อรถใหม่ 7 ขบวน

นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เปิดเผยความคืบหน้าการจัดซื้อขบวนรถ 7 ขบวนๆละ 4 ตู้ มูลค่ากว่า 4,800 บาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างทีโออาร์เพื่อประกวดราคาหาผู้ผลิต คาดจะทำร่างทีโออาร์เสร็จในเดือนก.พ.นี้ และประกาศผู้ชนะคัดเลือกได้ปลายปี 57 จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือนในการผลิต และประมาณกลางปี 59 น่าจะได้รับการส่งมอบมาให้ใช้บริการได้“หลังจากบริษัทมีขบวนรถให้บริการประชาชนเพิ่มขึ้นจะช่วยให้รองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันแอร์พอร์ตลิงค์ยังได้รับงบประมาณในการซ่อมบำรุงตัวรถไฟฟ้าวงเงิน 200 ล้านบาท และได้รับงบประมาณประจำปีในการบริหารจัดการอะไหล่รถในปี 57 อีก 500 ล้านบาท ทำให้มั่นใจได้ว่า จะให้บริการรถไฟฟ้าได้ไม่สะดุด"สำหรับการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าใหม่นั้น ในร่างทีโออาร์ระบุด้วยว่าอะไหล่รถไฟฟ้าใหม่บางส่วน จะต้องสามารถนำมาใช้กับขบวนรถไฟฟ้าเก่าด้วย โดยยืนยันว่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จะพัฒนาให้อะไหล่บางส่วนสามารถใช้ทดแทนหรือใช้ร่วมกันได้ และการเปิดประกวดราคาหาผู้ผลิตขบวนรถใหม่ครั้งนี้จะเปิดกว้างให้ผู้ผลิตหลายรายเข้าร่วมประกวดราคาได้นายพีรกันต์กล่าวว่า บริษัท ได้ร่วมกับกรมทางหลวง ปรับปรุงพื้นที่จอดรถของสถานีลาดกระบัง ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น จากเดิมที่จอดรถได้ 600 คัน เพิ่มเป็นรองรับได้ 800 คัน ภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ และภายในสถานีลาดกระบัง ยังได้จัดที่จอดรถประจำทาง ขสมก. สาย 26 สถานีรถไฟฟ้าลาดกระบัง – มีนบุรี เพื่อเป็นการอำนวยแก่ผู้โดยสาร และร่วมมือกับทอท.จัดจุดจอดรถชัตเติลบัส บริเวณด้านข้างสถานีลาดกระบัง ริมถนนทางหลวง ตลอดจนให้มีรถวิ่งรับ-ส่งผู้โดยสาร เพื่อเข้าเมือง โดยบริษัท ขนส่ง (บขส. )ออกทุกๆ 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.30- 24.00 น.อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่สถานีลาดกระบัง ซึ่งมีพื้นที่สถานีค่อนข้างใหญ่ ทางบริษัทจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยโดยมีรถจักรยานเคลื่อนที่เร็วตรวจพื้นที่โดยรอบสถานี พร้อมกันนี้ทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะมีกล้องส่องทางไกล เพื่อสังเกตสิ่งผิดปกติด้วย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แอร์พอร์ตลิงก์ เดินหน้าจัดซื้อรถใหม่ 7 ขบวน

Posts related

 














ททท.แผนจัดบิ๊กอีเวนท์พื้นที่ชุมนุม

นายธวัชชัย อรัญญิก ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.เตรียมจัดบิ๊กอีเวนท์ ในพื้นที่ที่เคยจัดงานชุมนุมทั้งหมด อาทิเช่น ถนนราชดำเนิน ย่านราชประสงค์ อโศก เป็นต้นพร้อมกับเชิญผู้ประกอบการทัวร์จากต่างประเทศ และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศมาไทยมาร่วมด้วย และให้ทำข่าวเผยแพร่ไปยังต่างชาติให้นักท่องเที่ยวรับรู้เมื่อการชุนนุมสงบลง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จำเป็นต้องชะลอแผนการตลาดต่างประเทศออกไปก่อน ส่วนแผนการตลาดในประเทศ วางนโยบายให้กระตุ้นการเดินทางผ่านงานกิจกรรมประเพณีและเทศกาลตามฤดูกาลต่างๆ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศในช่วงนี้“ตอนนี้ ททท.ก็เริ่มกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมพอสมควร และได้รับมอบหมายให้ฝ่ายนโยบายและแผนประเมินสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวปีนี้ทุกๆไตรมาส แต่ก็ยังคงเป้าหมายรายได้ก้าวกระโดดสู่2.2ล้านล้านบาท โดยมุ่งการสร้างฐานตลาดคุณภาพและเจาะกลุ่มความสนใจเฉพาะ (นิชมาร์เก็ต) แต่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเล็กน้อยคือ จะให้รอง ททท.ฝ่ายต่างๆ เป็นผู้กำหนดแผนการตลาดและตัวชี้วัดของตัวเองขึ้นมานายพงศธร เกษสำลีรองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ททท. กล่าวว่า วันนี้(21 ม.ค.) ททท. จะหารือกับ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เพื่อร่วมปรับกลยุทธ์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทย ที่อาจยืดเยื้อและยาวนาน ทั้งนี้ททท.ได้สำรวจสำนักงานในต่างประเทศพบนักท่องเที่ยว สอบถามถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย และมีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งนี้การเมืองสร้างความกังวลให้การท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่มีการชะลอการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย หรือเปลี่ยนเส้นทาง จากเที่ยวในกรุงเทพฯ ออกไปเที่ยวนอกเส้นทาง อาทิเช่นพัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต และสมุยซึ่ง เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 28 ล้านคน อาจไม่ถึงเป้าหมาย แต่อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คงติดลบ หรือไม่ต่ำกว่า 26 ล้านคน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ททท.แผนจัดบิ๊กอีเวนท์พื้นที่ชุมนุม

ชง กกร.ช่วยชาวนาหลังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว

นายวิชัย อัศรัสกรรองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าฯ เตรียมหารือแนวทางช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนกรณีที่ยังไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าวเนื่องจากได้รับทราบจากสมาชิกหอการค้าในจังหวัดต่างๆว่ามีชาวนาจำนวนมากเริ่มไปกู้เงินนอกระบบในอัตราดอกเบี้ย3-5% ต่อเดือน หรือ 30-50% ต่อปี  เพื่อนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าปุ๋ยค่ายาฆ่าหญ้า และอื่นๆ โดยจะมีการนำเรื่องนี้ไปหารือกับสมาคมธนาคารไทยเกี่ยวกับการผ่อนปรนการนำใบประทวนในโครงการรับจำนำข้าวเป็นหลักทรัพย์มาค้ำประกันขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเงินกู้นอกระบบ“ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าใบประทวนนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับสถาบันการเงินได้มากน้อยแค่ไหนแต่ทางหอการค้าไทยมีความประสงค์จะช่วยชาวนาด้วยนอกเหนือจากการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีที่เป็นสมาชิกแล้วเพราะเห็นดอกเบี้ยที่ชาวนาไปกู้เงินนอกระบบ 30-50% แล้วตกใจมาก ซึ่งเรื่องก็คงจะไปหารือกันกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วยหอการค้าไทย,สมาคมธนาคารไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย”นายวิชัยกล่าวว่า ตอนนี้ยอมรับว่าภาคเอกชนจะต้องมีส่วนยื่นมือเข้าไปช่วยประเทศในหลายๆเรื่องทั้งเรื่องปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการรวมกลุ่มกันใน 7 องค์กรภาคเอกชนการเข้าไปเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และเข้าไปหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มต่างๆที่ได้รับความเดือดร้อนเท่าที่ภาคเอกชนพอมีกำลังซึ่งเรื่องของชาวนาก็จะมีการหารือกันว่าภาคเอกชนจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง  ขณะเดียวกันหอการค้าไทยเตรียมหารือหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความรุนแรงโดยจะเน้นความช่วยเหลือการขาดแคลนสภาพคล่องของธุรกิจ การหาช่องทางตลาดใหม่ๆและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี58 เพราะหากไม่เร่งช่วยเหลืออาจทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยอ่อนแอลงทุกวัน “เรื่องปัญหาสภาพคล่องนั้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจเอสเอ็มอีบางรายเริ่มที่จะมีสต๊อกของวัตถุดิบและสินค้าคงคลังเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่อง”ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะนี้สมาคมชาวนาไทยออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจ่ายเงินให้ชาวนาเนื่องจากเจ้าของร้านปุ๋ยและยาฆ่าหญ้าเริ่มทะยอยทวงหนี้จากชาวนารวมถึงคิดอัตราดอกเบี้ยชาวนาที่เป็นลูกค้าเพิ่มอีก 1% จากปกติที่เฉลี่ย 3% ต่อเดือนเป็น 4% ต่อเดือนหลังจากชาวนาจำนวนมากยังไม่ได้จ่ายค่าปุ๋ยและค่ายา 3-4 เดือนแล้ว เพราะได้รับผลกระทบจากรัฐบาลที่ไม่สามารถจ่ายเงินค่าข้าวในโครงการจำนำข้าวส่งผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวได้สร้างภาระต้นทุนของครอบครัวแก่ชาวนาอย่างมาก”ปกติ ชาวนาที่ไปซื้อปุ๋ยซื้อยาฆ่าหญ้าก็จะเอาสินค้ามาก่อนแล้วจ่ายเงินภายหลังจากที่ได้เงินจากการ ขายข้าวซึ่งร้านค้าก็จะคิดดอกเบี้ยเดือนละ 3% ของค่าสินค้าส่วนใหญ่ชาวนาก็จะซื้อของเหล่านี้ประมาณครัวเรือนละ40,000-50,000 บาทต่อการทำนา 1 ฤดูกาลแต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนแล้วแต่ชาวนาไม่ได้จ่ายเงินส่งผลให้เจ้าของร้านก็ออกมาทวงหนี้หากจ่ายไม่ได้ภายใน 2-3 เดือนในเดือนถัดไปก็มีการขอขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มหากชาวนาไม่ยอมในครั้งต่อไปทางร้านก็ไม่ยอมขายปุ๋ย ขายยาฆ่าหญ้าให้”ด้านนายอิสระ ว่องกุศลกิจประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ขณะนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีในทุก ๆภูมิภาคยังคงประสบปัญหาเรื่องต้นทุนสินค้า และบริการ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นทำให้ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอีมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาหลักคือ สินค้าหรือบริการเริ่มที่จะมีคุณภาพและความแตกต่างลดลง เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น   “ธุรกิจเอสเอ็มอีบางส่วนเริ่มที่จะมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนที่มากเกินไป,   บางรายเกิดปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่อง,ธุรกิจเอสเอ็มอียังคงมีการลงทุนเพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต ทั้งด้านวิจัยและด้านซีเอสอาร์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ”นายอิสระกล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว ทำให้หอการค้าฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอีและได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุดโดยจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ มีการจัดสัมมนา “เอสเอ็มอี…วิธีทำเงิน” เพื่อกระตุ้นให้เอสเอ็มอีทั่วประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและหาทางแก้ไข เพื่อรองรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น ภายใต้ความผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคต

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชง กกร.ช่วยชาวนาหลังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว

Page 1145 of 1552:« First« 1142 1143 1144 1145 1146 1147 1148 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file