shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เรียนตัดแต่งทรงสุนัขรองรับตลาดอาเซียน

เปิดหลักสูตรตัดขนสุนัขอาเซียน สอน 3 ภาษา พร้อมระบบแฟรนไชส์ ชี้ตลาดต้องการช่างมือดีมากจนผลิตไม่ทัน การเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากความตื่นตัวของภาคอุตสาหกรรมและบริการทั่วไป ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงก็ได้ผลดีไปด้วย โดยนายณรงค์ อนันต์เลิศสกุล ผอ.โรงเรียน โกลมี่เพ็ท กรูมมิ่ง แอนด์ สปา ซึ่งเปิดสอนการอาบนํ้า ตัดแต่งทรงสุนัขเป็นอาชีพ มานานกว่า 10 ปี เปิดเผยว่า ในปี 2558 ซึ่งจะมีการเปิดเสรีการค้า สำหรับตลาดกรูมเมอร์หรือช่างตัดแต่งทรงสุนัข มีทิศทางบวก และได้เปรียบ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์ กัมพูชา เพราะมีทั้งหลักสูตรการสอน ฝีมือแรงงานช่างและต้นทุนค่าเรียนต่ำ นายณรงค์กล่าวว่า โรงเรียนซึ่งเปิดเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในภาคใต้มีแผนรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเตรียมการสอน 3 ภาษาคือ ไทย อังกฤษและจีน การเข้าสู่มาตรฐานไอเอสโอ 9001:2008 เปิดการสอน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรโปรเฟสชั่นแนล หลักสูตรแฟรนไชส์ พื้นฐานและแฟรนไชส์ โปรเฟสชั่นแนล พร้อมกับปรับปรุงระบบการสื่อสารทางการตลาด ในรูปแบบ เว็บไซต์ แฟนเพจ ให้มีเว็บไซต์ สองภาษา “หลักสูตรแฟรนไชส์ ผู้เรียนจบแล้วสามารถเลือกทำเล ทำการตลาด เปิดร้าน และมีทักษะการอาบนํ้า ตัดขนสุนัข “นายณรงค์กล่าวและว่า ความต้องการช่างในปัจจุบันมีสูงมาก ทั้งโรงพยาบาลสัตว์ คลินิก ร้านกรูมเมอร์ทั้งในประเทศและประเทศข้างเคียงสอบถามต้องการไปทำงานจำนวนมาก ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ https://th-th.facebook.com/doggroomingschool โดยนายณรงค์ยินดีให้คำแนะนำกับผู้สนใจทุกราย.  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เรียนตัดแต่งทรงสุนัขรองรับตลาดอาเซียน

Posts related

 














ภาษาเดียวกัน วันที่ 15 มกราคม 2557

อาเซียนคอนเน็ค  สำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วยความร่วมมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาเรื่อง “ASEAN Connectivity” ในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 เวลา 08.00-16.00 น. ห้องอโนมา 1-2 โรงเเรมอโนมาราชประสงค์ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อยืนยันการลงทะเบียนล่วงหน้าภายในวันที่ 17 มกราคม 2557 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2507-7194 หรือ 0-2507-7629 เเละ 0-2507-7376 ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ธุรกิจขนส่งทางถนนปี  2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยยังคงพึ่งพาการขนส่งทางบกเป็นหลักโดยเฉพาะการขนส่งทางถนนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 81.9 ของการขนส่งภายในประเทศทั้งหมดจึงนับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายทรัพยากรในกระบวนการผลิตและขนส่งสินค้าเพื่อกระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยการขนส่งทางถนนที่สำคัญของไทยได้แก่ การขนส่งสินค้าเกษตรการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคและการขนส่งสินค้าวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอาจยังคงมีทิศทางชะลอตัวแต่สำหรับภาพรวมของธุรกิจขนส่งทางถนนในปี  2557 คาดว่าจะเติบโตตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระจายตัวออกสู่ภูมิภาคมากขึ้นโดยมีปัจจัยหนุน ได้แก่ การขยายการลงทุนของภาคเอกชนไปยังภูมิภาค การเติบโตของการค้าชายแดนและผ่านแดนและการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 อย่างไรก็ดียังคงมีความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญอยู่อาทิ ต้นทุนการประกอบการธุรกิจทางถนนในปีหน้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่น ราคาเชื้อเพลิงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและกรอบความร่วมมือในการขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า เป็นต้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ทางถนน (ณ ราคาปีปัจจุบัน) ในปี 2557 จะมีมูลค่า 257,900-263,800 ล้านบาท โดยขยายตัวร้อยละ 5.1-7.5 จากปี 2556 ที่มีมูลค่าประมาณ 245,400 ล้านบาท.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ภาษาเดียวกัน วันที่ 15 มกราคม 2557

เงินสะพัดสินค้าม็อบ

เงินสะพัดสินค้าม็อบอุณหภูมิทางการเมืองที่เร่งเครื่องความร้อนขึ้นมา ณ นาทีนี้ ส่งผลให้หลายพื้นที่โดยเฉพาะย่าน 7 จุดที่ “ชัตดาวน์กรุงเทพฯ” นั้นร้อนแรงไปตาม ๆ กันทั้งในด้านบวกและด้านลบ นอกจากจะทำให้บรรยากาศการค้าขายของผู้ประกอบการธุรกิจห้างร้านต่าง ๆ ซบเซาลงไปเพราะประชาชนไม่มีอารมณ์จะจับจ่ายใช้สอย ทำให้กำลังซื้อหดตัวลงแต่ในทางกลับกันส่งผลดีแก่พ่อค้าแม่ค้าบางกลุ่มแบบสุด ๆ ที่โหนกระแสได้ถูกจังหวะถูกสถานที่ พลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการนำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมาจำหน่ายสร้างรายได้กันเป็นกอบเป็นกำ “ลำดวน  ช่างทองคำ” แม่ค้าขายนกหวีดและสินค้าเชิงสัญลักษณ์ในการชุมนุม อาทิ ที่คาดผม สายรัดข้อมือ และสินค้าลายธงชาติอื่น ๆ กล่าวว่าตนเองเป็นแม่ค้าขายชุดนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร แต่อาศัยจังหวะที่มีการชุมนุมหันมาขายสินค้าที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในตอนเย็น สร้างรายได้วันละ 4,000– 5,000 บาท และย้ายมาขายที่สี่แยกราชประสงค์ในวันที่ 13 ม.ค. มองว่ามีโอกาสทำรายได้สูงกว่าปกติซึ่งตั้งแต่เช้าจนถึงบ่ายวันนี้ขายได้ไปแล้ว 6,000 บาท!! นกหวีดยอดนิยม ทั้งนี้สินค้าที่ขายดีที่สุดนั่นคือ “นกหวีด” ซึ่งทำกำไรได้กว่า 20% จากราคาทุนและมียอดขายต่อบิลเฉลี่ยคนละ 100 บาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับม็อบคราวอื่น ๆ คาดว่าเป็นเพราะผู้มาชุมนุมเป็นผู้ที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไปจึงมีกำลังซื้อดี จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่านอกเหนือจากนกหวีด ที่คาดผมหรือสินค้าทั่วไปแล้วยังมีสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาจำหน่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก อาทิ สติกเกอร์ลาย “ลุงกำนันสุเทพ” ที่ได้รับความนิยมพุ่งสูงทันที ยิ่งร้านค้าไหนสามารถหาสินค้าแปลกมีดีไซน์ที่แตกต่างจะได้รับความนิยมจนสินค้าไม่พอจำหน่ายเลย “ผกาทิพย์  แย้มประยูร” สาวชาวสุราษฎร์ธานี เล่าให้ฟังว่าเดิมทีจะขึ้นมาชุมนุมเพียงอย่างเดียวแต่เห็นโอกาสดีที่จะหารายได้เสริมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการมาร่วมการชุมนุม รวมถึงนำรายได้บางส่วนสมทบทุนกับ กปปส.จึงพิมพ์เสื้อลายกรุงเทพชัตดาวน์มาจำหน่ายที่บริเวณเวทีชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าว 500 ตัว ในราคาตัวละ 150 บาท ซึ่งเมื่อหักลบต้นทุนแล้วได้กำไรถึง 30% ถือว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน “เสื้อเป็นสินค้าที่ขายได้อยู่แล้วทุกการชุมนุม ที่บ้านก็ทำธุรกิจนี้อยู่เลยลองนำมาขายดูปรากฏว่าผลตอบรับดีมากถึงจะมีคนขายแข่งกันเยอะก็ไม่กังวลว่าจะขายไม่หมดมองว่าแม้จะเลยวันปิดกรุงเทพฯ ไปแล้วคนยังหาซื้อไว้สะสมเพราะ 13 ม.ค. กลายเป็นวันประวัติศาสตร์ไปแล้ว” ด้านร้านจำหน่ายเสื้อพิมพ์ลายหน้าศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่าเปิดเผยให้ฟังถึงธุรกิจขายเสื้อในที่ชุมนุมว่า ทำยอดขายได้ดีมากโดยก่อนหน้านี้ทางร้านได้เปิดจำหน่ายมาแล้วที่เวทีราชดำเนินทำรายได้ 40,000-50,000 บาทต่อวัน และพอวันนี้ย้ายมาขายในวันกรุงเทพชัตดาวน์เพียงครึ่งวันขายได้แล้วกว่าแสนบาท ด้านพ่อค้าพวงมาลัยบริเวณสี่แยกพระพรหมก็หันมาขายข้าวกล่องสร้างรายได้ชดเชยในวันที่ต้องปิดศาลพระพรหมฯ เพราะมีการชุมนุม วินมอเตอร์ไซค์โกยรายได้ ขณะที่การเดินทางในวันที่มีการปิดกรุงเทพฯ นั้นยอมรับว่าอาจจะติดขัดบ้างในหลายพื้นที่ ทำให้หลายคนเลือกที่จะหันมาใช้บริการรถโดยสารมวลชนกันเพิ่มขึ้นส่งผลให้บริการ “วินมอเตอร์ไซค์” ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะคล่องตัวรวดเร็ว และสะดวกสบายไปได้ทุกหนแห่งโดย “บุญรัก ปรุงเผ่าพันธ์” ผู้ขี่มอเตอร์ไซค์วิน ย่านอินทามระกล่าวว่า ช่วงที่มีการชุมนุมตนจะย้ายมารับบริการตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะว่าทำรายได้ดีมากอย่างต่ำสุดจะได้เงินวันละพันกว่าบาทหรือเพิ่มเป็นเท่าตัวจากรายได้ปกติโดยเฉพาะในวันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา เพียงวันเดียวทำเงินได้ถึง 4,000 บาท “ถ้าวันไหนปิดถนนเยอะ ๆ รายได้จะดีมากแล้วก็อาจจะปรับเพิ่มราคาขึ้นเล็กน้อย เพราะการจราจรในช่วงนั้นจะติดมากเป็นพิเศษ เช่นจากเดิมนั่งจากจตุจักรไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 80 บาท ก็เพิ่มเป็น 100 บาท แต่วันนี้ที่ปิดห้าแยกลาดพร้าวจะได้เงินไม่มากเท่า เพราะระยะอยู่ไม่ไกลรถไฟฟ้าคนจึงนิยมเดินมากกว่า ซึ่งคาดว่าอาจจะได้เงิน 1,000 บาทเศษเท่านั้น” ด้านผู้ขี่วินมอเตอร์ไซค์ที่สี่แยกราชประสงค์กล่าวว่า วันนี้คนมาร่วมการชุมนุมเยอะเป็นพิเศษ แต่ยังไม่มีผู้มาใช้บริการมากเท่าไร อาจเป็นเพราะยังไม่ใช่เวลาเดินทางกลับ ทั้งนี้ต้องรอดูช่วงเวลาที่เลิกชุมนุมว่าจะทำรายได้เท่าไรแต่ทั้งนี้คืนวันที่ 12 ม.ค. มีผู้มาใช้บริการมากเป็นพิเศษเพราะเริ่มเคลื่อนสถานที่ชุมนุมจากราชดำเนินมายังราชประสงค์แทนโดยตั้งแต่ 11.00-04.00 น. ทำรายได้ไปแล้ว 2,500 บาท ร้านในห้างฯ ยอดทะลัก สำหรับ “ร้านอาหารและเครื่องดื่มในศูนย์การค้า” ก็มีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ร้านกาแฟชื่อดังในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เผยว่า ปกติแล้วจะจำหน่ายกาแฟได้  600-800 แก้วต่อวัน แต่ในช่วงที่มีการชุมนุมขายได้เพิ่มขึ้นเป็น 900-1,000 แก้วต่อวัน ทั้งนี้คาดว่าในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันชุมนุมใหญ่จะทำยอดขายได้ถึง 130,000 บาทจากเดิมที่ขายได้ 100,000 บาทต่อวัน ซึ่งก่อนหน้านี้ในระยะที่มีการชุมนุมลูกค้าชะลอการมาใช้บริการลงเพราะไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ส่งผลให้ยอดขายตกลงเหลือเพียงวันละ 70,000-80,000 บาทเท่านั้น ด้าน ศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าไอที  เพาเวอร์บาย ยอมรับว่าบรรยากาศการซื้อขายไม่คึกคักแต่บรรยากาศโดยรวมทั่วไปนั้นมีผู้ชุมนุมเดินเข้ามาดูสินค้าอยู่ตลอดเวลาโดยพนักงานขาย ระบุว่าวันนี้ยอดขายลูกค้าที่มาซื้อสินค้าปกติลดลงนอกจากนี้สินค้าที่เคยขายดีในการชุมนุมครั้งก่อน อาทิ อุปกรณ์สำรองไฟโทรศัพท์มือถือหรือ เพาเวอร์แบงค์ขายได้น้อยลงแต่ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 56 สามารถขายเพาเวอร์แบงค์ได้หลาย 10 ชิ้นรายได้ส่วนนี้จึงขึ้นมาชดเชยกันได้ รถไฟฟ้าอานิสงส์ ด้าน รถไฟฟ้า เป็นอีก 1 ธุรกิจที่รับอานิสงส์ผลบวกแบบเต็ม ๆ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดินที่ รฟม.ถึงกับต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ขายตั๋วเต็มพิกัดทั้ง 2 ที่นั่งจากปกติที่นั่งคนเดียว พร้อมทั้งบริการขายตั๋วแบบฉีกเพื่อเร่งระบายประชาชนไม่ให้ตกค้างในทุกสถานีที่มีผู้ชุมนุมมีผู้มาใช้บริการแน่นตลอดทั้งจตุจักร ลาดพร้าว พหลโยธิน บางซื่อ สุขุมวิท ได้นำรถไฟฟ้าที่มีอยู่ออกมาวิ่งทุกคัน 57 โบกี้ 29 ขบวนและเดินรถให้ถี่ขึ้นทุก 3 นาทีต่อขบวน ขณะที่รถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นยังมีคนมาใช้บริการน้อยกว่าที่คาดไว้โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนช่วง  08.00-09.00 น. แต่ก็เริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเพราะความไม่สะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง และส่วนหนึ่งหยุดงาน แต่ก็ได้ติดตามสถานการณ์ทั้งวันเพื่อปรับลดหรือเพิ่มขบวนรถไฟฟ้าให้สอดคล้องตามปริมาณผู้ที่มาใช้บริการแต่เน้นให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก นี่เป็นส่วนหนึ่งของการพลิกวิกฤติกำลังซื้อให้เป็นโอกาสของผู้ขายในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองที่ถึงแม้จะเป็นเพียงเวลาอันสั้น ๆ แต่หากสามารถปรับตัวรับทันก็พุ่งได้ฉิวตามสุภาษิตที่ว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก!!. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เงินสะพัดสินค้าม็อบ

Page 1166 of 1552:« First« 1163 1164 1165 1166 1167 1168 1169 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file