shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เอกชนชี้รัฐบาลเลื่อนเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ปัญหาการเมือง

ในที่สุด “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” หรือ กกต. ก็ตัดสินใจเสนอให้รัฐบาลรักษาการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พิจารณาออกพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งใหม่ โดยมีเหตุผลสำคัญ 6 ข้อ หลังจากเห็นปัญหาการเมืองที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น จนเชื่อว่าหากยังดั้นด้นจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.นี้ คงไปไม่รอดแน่! ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่มีผู้สมัคร 28 เขตเลือกตั้ง ใน 8 จังหวัด หรือการได้ ส.ส.ไม่ครบ 95% หรือการขัดขวางการเลือกตั้งที่รุนแรงขึ้น หรือแม้แต่การไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ 3,885 ล้านบาท ทำให้คนไทยทั้งประเทศในเวลานี้  ต้องมารอลุ้นกันว่ารัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะตัดสินใจอย่างไร? แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะเลือกหนทางใดในการแก้ไขปัญหา… สุดท้ายคนไทยก็ย่อมได้รับผลกระทบอยู่ดีโดยเฉพาะบรรดาคนทำมาค้าขาย เพราะข้อเสนอของ กกต.ในครั้งนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ ด้วยเหตุนี้ “ทีมเศรษฐกิจ เดลินิวส์” จึงขอรวบรวมความคิดเห็นของคนทำมาค้าขายมาสะท้อนให้เห็น หอการค้าหนุน กกต. เริ่มจากฟากธุรกิจ “พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” รองประธานกรรมการหอการค้าแห่งประเทศไทย มองว่า การเลื่อนเลือกตั้ง น่าจะเป็นเรื่องที่ดีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เพราะมองว่า หากรัฐบาลเดินหน้าจัดเลือกตั้งต่อไป ก็ใช่ว่าจะสำเร็จ กลับมาจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะมีหลายปัจจัยเป็นอุปสรรคทำให้เปิดรัฐสภาไม่ได้ โดยเฉพาะการไม่มี ส.ส.ครบจำนวนที่กำหนด 95% ดังนั้นจึงเห็นว่า รัฐบาลควรประกาศให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ตามที่ กกต.ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลเสียหน้า แต่ก็เป็นเรื่องดีกับสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนี้ “ระหว่างนี้อยากให้คู่กรณีที่ขัดแย้ง หาทางเจรจาสงบศึก หรือทำการปฏิรูปร่วมกันก่อนจะจัดเลือกตั้งใหม่ ซึ่งอาจเสียเวลาสักหน่อยแต่เชื่อว่าในระยะยาวจะยั่งยืนและเป็นผลดีกับประเทศมากกว่า ส่วนมุมมองต่างชาติต่อการเลื่อนจัดเลือกตั้ง เชื่อว่าต่างชาติคงเข้าใจ และไม่น่าส่งผลต่อความเชื่อมั่นเท่าไร เพราะตอนนี้ต่างชาติก็รู้ถึงเลือกตั้งไปก็มีปัญหาตามมาอีกอยู่ดี” เอกชนมองยุติความขัดแย้งสำคัญสุด ส่วน “พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ระบุว่า ในหลักการเอกชนต้องการความสงบเรียบร้อย และลดความขัดแย้ง เพราะหากมีการแตกแยกและการชุมนุมที่ยืดเยื้อไปจะทำให้ประเทศเสียโอกาสและส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจระยะยาว โดยเอกชนยังสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งที่เป็นไปตามกฎหมายและเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และแม้จะมีการเลื่อนเลือกตั้งออกไปองค์กรภาคธุรกิจจะยังคงเดินหน้าผลักดันให้ตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อมาวางแนวทางการปฏิรูป สอดคล้องกับ “วัลลภ วิตนากร” รองประธาน สอท. มองว่า การเลื่อนหรือไม่เลื่อนเลือกตั้ง ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจมากนัก เพราะประเด็นที่กระทบเศรษฐกิจตอนนี้ คือ ปัญหาความขัดแย้งที่แต่ละฝ่าย จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีอยู่ให้ยุติโดยเร็ว จึงเห็นว่า องค์กรปฏิรูปที่เอกชนกำลังดำเนินการอยู่นี้จะต้องเกิดให้เร็วที่สุด ท่องเที่ยวเกาะติดวันต่อวัน ด้านมุมมองภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ ที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดย “ปิยะมาน เตชะไพบูลย์” ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ประเมินว่า แม้จะมีการเลื่อนเลือกตั้ง คงไม่เกี่ยวข้องกับการทำให้สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวดีขึ้น เนื่องจากข้อขัดแย้งยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกจุด โดยสิ่งที่ สทท. ทำได้ขณะนี้คือ การเฝ้าติดตามสถาน การณ์อย่างใกล้ชิดในทุกวัน เพื่อดูความเป็นไปทางการเมือง เพื่อบอกทิศทางการเติบโตทางการท่องเที่ยวในอนาคตได้ ชี้เลื่อนเลือกตั้งช่วยกำลังซื้อกลับ ขณะที่ตัวแทนภาคการค้าขาย เจ้า ของธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง “บุญชัย โชควัฒนา” ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค มองว่า หาก กกต. เลื่อนวันเลือกตั้งออกไป จะส่งผลดีต่อภาพรวมทั้งประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจเอกชน จะได้รับอานิสงส์ของกำลังซื้อ ที่จะกลับมาอย่างรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์ยุติลง ซึ่งอารมณ์การจับจ่ายของผู้บริโภคก็จะกลับสู่ภาวะปกติ หลังจากหดหายไปเนื่องจากไปให้ความสนใจกับการชุมนุมมากกว่าและชะลอการจับจ่ายเพื่อสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉิน “ที่จริงจะปล่อยให้เหตุการณ์เป็นแบบนี้ต่อไปภาคเอกชนก็ไม่    ได้รับผลกระทบเท่าไร มีแต่ภาพรวมของประเทศที่แย่ เพราะเอกชนก็ดูแลตัวเองมาตลอด เนื่องจากรัฐบาลให้ความสนใจแต่นโยบายประชานิยม ภาคเอกชนจึงต้องอยู่ให้ได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าตั้งสภาประชาชนและหารัฐบาลใหม่ที่เหมาะสมมา ก็หวังว่าจะช่วยให้ภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นได้” ขณะที่บรรดานักวิชาการ ที่อยู่กับข้อมูลต่างก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองในเวลานี้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หวั่นเบิกจ่ายงบล่าช้า “เชาว์ เก่งชน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า มีความกังวลกับปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. นี้ การเบิกจ่ายงบกลางต้องเลื่อนออกไป ทำให้ไม่มีเม็ดเงินที่จะต้องลงทุนขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในประเทศในปีม้าแน่นอน และะประเทศก็ต้องหวังพึ่งพาการส่งออกเพียงอย่างเดียว และอาจส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขยายตัวต่ำกว่า 2% เนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์ตัวอื่นมาช่วยทำงาน. ทีมเศรษฐกิจ  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนชี้รัฐบาลเลื่อนเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ปัญหาการเมือง

Posts related

 














2กรมภาษียันปิดล้อมไม่ส่งผลกระทบ

นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เดินทางไปปิดล้อมกรมฯ ว่า ขณะนี้ การทำงานของกรมฯไม่ได้รับผลกระทบมาก และไม่ส่งผลต่อการเสียหรือขอคืนภาษีของผู้เสียภาษี เนื่องจากได้สำรองระบบการทำงานไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยยืนยันว่าผู้เสียภาษียังสามารถยื่นภาษีได้ตามปกติทั้งขากเขตภาษี 51 หน่วย ในกรุงเทพฯ และ 800 หน่วย ทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากมีการยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ตยังได้รับการขยายเวลาให้ยื่นและชำระภาษีได้ออกได้อีก 8 วัน จากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องชำระให้กรมฯภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ก็ชำระได้ถึงวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ก็ชำระได้ถึงภายฝนวันที่ 23 ของเดือนถัดไป สำหรับการขอคืนภาษีบุคคลธรรมดาที่มีการยื่นแบบชำระและขอคืนมาตั้งแต่ 1 ม.ค.57 ก็ไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยยืนยันว่าการขอคืนภาษีจะไม่ล่าช้า แม้ว่าจะมีการขอคืนภาษีคืนมากขึ้น เพราะกรมเข้าใจดีว่าการขอคืนภาษีมากขึ้นมากจากอัตราภาษีที่เปลี่ยนไปและทำให้ภาระของผู้เสียภาษีลดลง อย่างไรก็ดี กรมสรรพากรอยากให้บุคคลธรรมดายื่นแบบและขอคืนภาษีทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากจะได้คืนภาษีภายใน 15 วัน เร็วกว่าการยื่นด้วยเอกสารผ่านหน่วยภาษีของกรมสรรพากร ด้านนายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ขณะนี้ ได้เตรียมแผนรองรับกรณีที่กลุ่ม กปปส.เข้ามาปิดล้อมสถานที่ของกรมฯไว้แล้ว โดยยืนยันการปิดล้อมครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน เนื่องจากกรมฯ ได้เก็บข้อมูลทั้งหมด และมีระบบสำรองในการทำงานเตรียมพร้อมไว้แล้ว รวมทั้ง ยังได้เตรียมแนวทางที่จะให้บริการประชาชน เบื้องต้น หากประชาชนหรือผู้ประกอบการไม่สามารถเดินทางเข้ามาชำระภาษีในสถานที่หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯชั้นในได้ ก็สามารถเข้าไปยื่นชำระในสถานที่ส่วนอื่นๆ โดยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดูแลและบริการประชาชนอย่างเต็มที่ นายมนัส แจ่มเวหา อธิบบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า กรมบัญชีกลางได้เตรียมความพร้อมในการทำงาน โดยเฉพาะการจ่ายเงินเดือนบำนาญและข้าราชการนั้น ได้ให้หน่วยงานเสนอเบิกมาตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. และโอนเข้าบัญชีธนาคารของแต่ละหน่วยงานไปตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. จากปกติกรมจะโอนให้ในวันที่ 20 ของทุกเดือน เพื่อจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการในวันที่ 25-27 ของทุกเดือน แม้จะโอนเเงินไปก่อน การจ่ายเงินไปก่อนแล้ว การจ่ายเงินเดือนต้องรอตามกำหนดคือ 25-27 ม.ค.นี้ “ในแต่ละเดือนกรมบัญชีกลางต้องจ่ายเงินเดือนและบำนาญคิดเป็นวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินเดือน 30,000 ล้านบาท และบำนาญ 20,000 ล้านบาท ดังนั้นเดือนม.ค.นี้จึงไม่ต้องกังวลว่าเงินเดือนจะไม่ออกตรงเวลา โดยที่ผ่านมาที่กระทรวงการคลังถูกปิด กรมบัญชีกลางยังสามารถจ่ายเงินเดือนและบำนาญตามกำหนดเวลา เพราะกรมเตรียมพร้อมระบบทำงานสำรอง และสถานที่สำรองไว้พร้อมแล้ว”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 2กรมภาษียันปิดล้อมไม่ส่งผลกระทบ

สศค.ห่วงเศรษฐกิจไตรมาสแรกทรุด

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่าขณะนี้ มีความเป็นห่วงถึงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรก ปี 57 ที่อาจได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองในประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการบริโภคในประเทศ ให้ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีแล้ว “แนวโน้มการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสแรก ปี 57 มีโอกาสและความเป็นไปได้สูงที่จะชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 56 ที่ผ่านมา เนื่องจากกลไกลที่เป็นปัจจัยหนุนสำคัญอย่างภาคการท่องเที่ยวและการบริการได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองค่อนข้างมาก รวมถึงการชะลอการลงทุนและการบริโภคก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่เข้ามากดดันแล้ว ซึ่งทั้งหมดมาจากความวิตกกังวลจากปัญหาการเมืองในประเทศ ทำให้ขณะนี้เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากว่าทิศทางจะเป็นอย่างไรและสถานการณ์จะยืดเยื้อยาวนานแค่ไหน” ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามได้แก่ มติการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 28-29 ม.ค.นี้ ที่คาดว่าจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งการไหลเข้า-ออกเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นผันผวนได้ รวมทั้ง แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะอ่อนค่าลงอย่างหนัก จนส่งผลกระทบต่อภาคการเงินโดยรวม ทั้งนี้ ประเมินว่าทิศทางการขยายตัวของตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปีนี้ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปัจจัยนอกประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการฟื้นตัวได้ดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นและจีน ที่จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย โดยปีนี้ สศค. ประเมินว่าตัวเลขส่งออกจะกลับมาเติบโตได้สูงถึง 6.5% ส่วนหนึ่งเป็นผลแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนของไทยที่อ่อนค่าลง จะเป็นปัจจัยหนุนการทำธุรกิจในภาคส่งออกได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศค.ห่วงเศรษฐกิจไตรมาสแรกทรุด

Page 1178 of 1552:« First« 1175 1176 1177 1178 1179 1180 1181 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file