shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ราคาทองคำ 6 ม.ค.57 ปรับครั้งที่ 1 ขึ้น 100 บาท

วันที่ 6 ม.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. เว็บไซต์สมาคมค้าทองคำ ประกาศปรับราคาทองคำในประเทศครั้งที่ 1 ขึ้น 100 บาท รูปพรรณขายบาทละ 19,850 บาท รับซื้อ 19,071.28 บาท ทองแท่งขาย 19,450 บาท รับซื้อ 19,350 บาท ราคาทองคำและครั้งที่ปรับ ราคาทองคำปรับครั้งที่ 1 ขึ้น 100 บาท รูปพรรณขายบาทละ 19,850 บาท รับซื้อ 19,071.28 บาท ทองแท่งขาย 19,450 บาท รับซื้อ 19,350 บาท เวลา 09.30 น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ราคาทองคำ 6 ม.ค.57 ปรับครั้งที่ 1 ขึ้น 100 บาท

Posts related

 














พลังงานปีม้าจ่อปรับขึ้นยกแผง

 ประเดิมเปิดปีมะเส็ง จับทิศทางราคาพลังงาน ต้องบอกว่าเป็นปีม้าร้อนแรงราคาพุ่งทะยานแทบทุกประเภท ทำเอาชาวบ้านออกอาการมึนตึ้บ สวนกระแสรายได้ที่นิ่งสนิท เหตุใหญ่ราคาอัดอั้นมานาน ประกอบกับพลังงานส่วนใหญ่ประเทศไทยนำเข้ามาแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเมื่อค่าเงินบาทอ่อนแรง ราคานำเข้าจะพุ่งทันที แต่รัฐบาลก็ได้ควักเงินชดเชยส่วนต่างเพื่ออุ้มราคาไม่ให้กระทบกับชาวบ้านมากนัก และยังเป็นการรักษาระดับฐานเสียง ส่งผลให้คนไทยเคยชินกับการใช้พลังงานราคาถูกสวนทางกับความเป็นจริงมานาน  ณ เวลานี้คนไทยได้รับของขวัญที่ต้องร้อง “ยี้” มาแล้ว หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) (เรกูเลเตอร์) ประกาศปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ  (เอฟที) ประจำเดือน ม.ค.-เม.ย. 57 อีก 5 สตางค์ต่อหน่วย ตั้งแต่ปลายปี 56 ทำให้ค่าเอฟทีที่ประชาชนต้องจ่ายจริงในงวดนี้ เป็นหน่วยละ 59 สตางค์ เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานอีกหน่วยละ 3.27 บาท ทำให้ค่าไฟฟ้าประจำเดือน ม.ค.-เม.ย. 57 ปรับขึ้นมาอยู่ที่หน่วยละ 3.82 บาท ซึ่งเป็นการปรับขึ้นราคาแบบอะลุ้มอล่วยเพราะหากปรับขึ้นราคาตามความเป็นจริง ต้องขึ้นถึง 6.99  สตางค์ต่อหน่วย สาเหตุที่ค่าไฟพุ่งกระฉูด มาจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เพราะค่าเงินบาทเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณค่าเอฟที โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าลง  1  บาท จะทำให้ค่าเอฟทีสูงขึ้นประมาณ 5.6 สตางค์ต่อหน่วย  แต่ถ้าครั้งนี้ปรับราคาตามความเป็นจริงจะสะเทือนขวัญประชาชนเกินไป เลยปรับลดลงมาเหลือหน่วยละ 5 สตางค์ ที่เหลือหน่วยละ 1.99  สตางค์ ผลักภาระให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับผิดชอบส่วนต่างไปก่อน ดีดลูกคิดมูลค่าที่ต้องแบกรับภาระทั้งสิ้น 1,009  ล้านบาท  ส่วนค่าเอฟทีในงวดต่อไป ๆ ที่จะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแน่นอน เพราะปีนี้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากประเทศพี่เบิ้มอย่างสหรัฐอเมริกา ประกาศถอนมาตรการคิวอีแล้วซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนในตลาดตราสารต่าง ๆ เริ่มไหลออกจากไทย แต่จะปรับขึ้นเท่าไรนั้นต้องคอยติดตามการตัดสินใจของคณะกรรมการเรกูเลเตอร์ว่าจะปรับขึ้นตามความเป็นจริงได้หรือไม่  อีกหนึ่งราคาพลังงานที่คนไทยต้องหลอนอีกนานคือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน ที่ประกาศปรับขึ้นราคามาตั้งแต่ ก.ย. 56 แล้ว เดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม หลังจากตรึงราคาไว้ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาทมาเนิ่นนาน โดยเดือน ม.ค. 57 ราคาแอลพีจี ภาคครัวเรือน ราคาปรับขึ้นมาเป็น 20.63 บาทต่อกิโลกรัม จะลากยาวต่อเนื่อง จนสะท้อนต้นทุนหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของไทยกิโลกรัมละ 24.84 บาท ที่สำคัญในเดือน มี.ค. 57  ราคาแอลพีจี ทั้งภาคครัวเรือนและภาคขนส่งราคาจะอยู่ในระดับเดียวกันคือกิโลกรัมละ 21.63 บาท ส่งผลให้กระทรวงพลังงานจะเริ่มปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งควบคู่ไปด้วยเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม จนไปสู่เป้าหมายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติกิโลกรัมละ 24.84 บาท แต่จะสามารถเดินหน้าจนบรรลุเป้าหมายที่กระทรวงพลังงานกำหนดหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลใหม่ว่า จะเปลี่ยนแปลงนโยบายแอลพีจีอีกหรือไม่ เพราะการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งจะกระทบกับกลุ่มแท็กซี่โดยตรง  เหตุผลหลักที่ต้องปรับขึ้นราคาเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (เออีซี) ปลายปี 58 ซึ่งจะทำให้ประชากรกว่า 600 ล้านคน ในประเทศสมาชิก 10 ประเทศ เดินทางได้อย่างเสรีและสะดวกขึ้น ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยมีโอกาสถูกรุมซื้อก๊าซแอลพีจีราคาถูกหากไทยยังตรึงราคาจำหน่ายไว้ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท เพราะปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านไทยราคาแอลพีจีโดดไปถึงกิโลกรัมละ 30-45 บาทแล้ว ประเด็นนี้กระทรวงพลังงานรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงได้ศึกษาแนวทางเบื้องต้นในแผนการเยียวยาผู้ประกอบการกลุ่มแท็กซี่ที่ยังใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงอยู่ว่าจะใช้แนวทางใด เช่น การเปิดโครงการเปลี่ยนใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเอ็นจีวีแทน นอกจากนี้จะส่งผลต่อเนื่องมาถึงเงินชดเชยราคาแอลพีจี เพราะนอกจากไทยผลิตก๊าซแอลพีจีได้เองแล้ว อีกส่วนหนึ่งต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีมาจากต่างประเทศเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลต้องควักเงินจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาเพื่อให้ประชาชนใช้ในราคาถูก เช่น ปัจจุบันซื้อแอลพีจีจากต่างประเทศราคาตันละ 1,000  ดอลลาร์สหรัฐ แต่ต้องขายให้คนไทยใช้ในราคาตันละ 333  ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้น รัฐบาลต้องจ่ายชดเชย โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายส่วนต่าง ดังกล่าวให้กับ บมจ.ปตท. ซึ่งเป็นผู้นำเข้าแอลพีจีรายใหญ่มาขายในประเทศเดือนละกว่า 3,000 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 36,000 ล้านบาท  อีกหนึ่งพลังงานที่ต้องจับตา ที่จะจ่อคิวปรับขึ้นราคาคือ ก๊าซธรรมชาติ สำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) แต่ยังไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ เพราะติดเงื่อนไขที่กระทรวงพลังงานกำหนดให้บริษัท ปตท. ต้องเร่งแก้ปัญหารอเติมเอ็นจีวีที่ยาวเหยียดให้ลดลงให้ได้ รวมถึงต้องจัดการปัญหาเอ็นจีวีขาดแคลนบางพื้นที่ ให้มีจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง และต้องเพิ่มปั๊มเอ็นจีวีให้มากขึ้น ซึ่ง บมจ.ปตท. ยังไม่สามารถขยายปั๊มได้เพิ่มเติมตามที่กำหนด กระทรวงพลังงานจึงยังไม่สามารถอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาได้ และที่ผ่านมา “สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ” ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุว่า ปี  57 จะต้องปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีแน่นอน เพราะขายต่ำกว่าต้นทุนมานาน และเป็นการรองรับการเปิดเออีซีเช่นกัน  เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเดียวกับก๊าซแอลพีจี สำหรับราคาเอ็นจีวีที่จะปรับขึ้นนั้น ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานมีแนวทางจะปรับขึ้นเดือนละ 50  สตางค์ต่อกิโลกรัม จากปัจจุบันราคาอยู่ที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนจะปรับขึ้นเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับ รมว.พลังงานคนใหม่จะตัดสินใจเรื่องราคาเท่าไร ระหว่างข้อมูลของ บมจ.ปตท. แจ้งว่า ต้นทุนเอ็นจีวีที่แท้จริงอยู่ที่ 15 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาต้นทุนเอ็นจีวีอยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม    ที่ผ่านมาการตรึงราคาเอ็นจีวีมาอย่างยาวนานส่งผลให้ บมจ.ปตท. ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศต้องแบกรับภาระขาดทุนสะสมแต่เพียงผู้เดียว โดยที่ผ่านมาแบกรับภาระไปแล้ว  7-8 หมื่นล้านบาท และขณะนี้มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ บมจ.ปตท. อาจมียอดขาดทุนสะสมถึง 100,000  ล้านบาทแล้ว  นอกจากนี้ในปี 57 ราคาน้ำมันดีเซล เป็นอีกประเภทหนึ่ง ที่กระทรวงพลังงานมีแนวโน้มจะปล่อยลอยตัว เพราะราคาน้ำมันดีเซลถูกตรึงไว้ไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท มาตั้งแต่เดือน เม.ย. 54 เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว ที่รัฐบาลได้ตรึงราคาไว้ สูญรายได้กว่า 300,000 ล้านบาท โดยเงินส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดเงินสรรพสามิตน้ำมันจากเดิมที่เก็บอยู่ที่ลิตรละ 5.31 บาท แต่เก็บจริงแค่ลิตรละ 0.005 บาทเท่านั้น หรือเรียกได้ว่า แทบจะหยุดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลเลยทีเดียว ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องสูญรายได้ทางภาษีถึงเดือนละ 9,000 ล้านบาท แต่ปัญหาใหญ่ของการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจภาคใหญ่ โดยเฉพาะราคาสินค้า รวมทั้งค่าบริการภาคขนส่ง เช่น รถบรรทุก รถโดยสารประจำทาง รถสองแถว ซึ่งบางส่วนยังใช้น้ำมันดีเซลจึงจะเป็นข้ออ้างในการขอปรับขึ้นราคา ซ้ำเติมประชาชน เพราะฉะนั้นแนวทางการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลจึงเป็นเรื่องอ่อนไหว ที่รัฐบาลต้องทำแผนการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในวงกว้างอย่างรัดกุม เพราะที่ผ่านมาแต่ละรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายอุ้มราคา จนทำให้ประชาชนเคยชินกับการใช้พลังงานราคาถูก    ณ เวลานี้จึงต้องจับตารัฐบาลชุดใหม่ว่าจะกล้าเดินหน้าตัดสินใจนโยบายพลังงานต่อไปอย่างไรเพราะเป็นการเดิมพันระหว่างฐานคะแนนเสียงกับต้นทุนที่แท้จริง  และยังมีโจทย์สำคัญอย่างการรองรับการเปิดเออีซี เพราะถ้าไทยยังใช้พลังงานที่ถูกอุ้มด้วยเงินของรัฐบาล หากมีการเปิดเออีซีไทยจะกลายเป็นประเทศที่ถูกมะรุมมะตุ้มเรื่องใช้พลังงานราคาถูกและเสียงบประมาณอย่างมหาศาล.  ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พลังงานปีม้าจ่อปรับขึ้นยกแผง

รถไฟ- บขส.ยกเครื่องบริการปีม้า

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในปี 57 รฟท.ตั้งเป้าหมายปรับปรุงการให้บริการรถไฟครั้งใหญ่ หลังจากปีที่ผ่านมาได้เกิดอุบัติเหตุตกรางบ่อยครั้ง เพราะสภาพราง และหัวรถจักรเก่ามาก โดยเดินหน้าสั่งซื้อหัวรถจักรใหม่เข้ามาอีก 77 หัว โดย 20 หัวแรกสำหรับใช้ขนส่งสินค้า ตอนนี้ได้จัดซื้อไปแล้ววงเงิน 2,100 ล้านบาท และทยอยรับหัวรถจักรใน 1-2 ปี ส่วนหัวรถจักรสำหรับขนผู้โดยสารก็กำลังอยู่ในขั้นตอนจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ 50 คัน มูลค่า 6,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะจัดซื้อได้ไม่เกินกลางปี 57 รวมถึงจะจัดหาโบกี้โดยสาร แคร่ขนสินค้าเพิ่มเติมด้วย “สภาพรางที่ผ่านมาไปไม่ไหวจริงๆ บางอันใช้มาเป็นร้อยปี แถมซ่อมไม่เต็มร้อยด้วย ก็เลยทำให้เกิดเหตุตกรางบ่อย ในปี 57 รฟท.เลยวางแผนปรับใหญ่ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ทั้งการซ่อมราง ซึ่งตั้งเป้าใน 2 ปี ต้องเปลี่ยนราง เปลี่ยนหมอนไม้ทั่วประเทศให้ครบ อย่างสายเหนือตอนนี้ซ่อมเสร็จแล้ว ส่วนสายอีสานก็กำลังปรับเป็นระยะ ๆ ถึงช่วงบัวใหญ่-หนองคาย ส่วนเส้นทางภาคใต้ กำลังศึกษาว่าจะซ่อมแบบไหนดี ระหว่างปิดซ่อมใหญ่แบบภาคเหนือ หรือทยอยซ่อมไปด้วยเปิดวิ่งไปด้วย แต่วิธีนี้จะเสร็จช้า และก็เสี่ยงเกิดอันตรายกว่า” นอกจากนี้ รฟท.ยังมีการสร้างความปลอดภัยด้านอื่นอีก อย่างล่าสุด ได้เตรียมลงทุน 95 ล้านบาท จัดซื้อเครื่องเอ็กซเรย์  ตรวจร่างกายและตรวจจับโลหะไปติดตั้งไว้สถานีรถไฟ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 17 สถานี เพื่อตรวจจับโลหะดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารในภาคใต้ ขณะเดียวกันยังวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานของรฟท. เพราะยอมรับที่ผ่านมาการทำหน้าที่หย่อนยานไปบ้าง จึงจะเปิดอบรมนายสถานี คนขับ และผู้ดูแลตามจุดไม้กั้น เพื่อให้หน้าที่ตามคู่มือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดเหตุเหมือนขบวนปฐมฤกษ์รถไฟสายเหนือ ที่ตกรางเพราะการสับรางผิดพลาดของเจ้าหน้าที่อีก ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด กล่าวว่า แผนปรับปรุงการให้บริการและรักษาความปลอดภัยของรถ บขส.ในปี 57 จะบังคับให้รถบัส รถตู้โดยสารสาธารณะกว่า 13,000 คัน ต้องติดตั้งเครื่องตรวจจับความเร็วจีพีเอสให้หมด และไม่ผ่อนผันอีกแล้วเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ปีหน้าบขส. ยังไปร่วมมือกับบริษัทรถชั้นนำพวก เมอร์เซเดส เบนซ์, วอลโว่ และสแกเนีย จับคนขับ บชส.ไปฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการขับรถ และวางแผนนำเข้ารถรุ่นใหม่ 15 เมตร อีก 100 คัน แทนรถเก่า 2 ชั้น ส่วนการดูแลผู้โดยสาร ปีนี้จะรณรงค์ให้คาดเข็มขัดต่อเนื่องเวลาเดินทาง เพราะที่ผ่านมาคนยังเข้าใจผิด คิดว่าหากคาดแล้วจะหนีออกยาก ทั้งที่หากคาดเข็มขัดนิรภัยแล้วจะช่วยรักษาความปลอดภัยได้มากกว่า พร้อมทั้งจะมีการสาธิตความปลอดภัยก่อนเดินทางเหมือนเครื่องบิน เช่น เตือนให้รัดเข็มขัดนิรภัย แนะนำประตูฉุกเฉิน การใช้ค้อนทุบกระจก พร้อมคู่มือใส่ไว้หน้าที่นั่งทุกคน นอกจากนี้ยังมีแผนติดกล้องกล้องวงจรปิดให้ครบ 900 คันในกลางปี 57 เพื่อดูแลผู้โดยสารในรถ เพราะที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนมามาก กับการเกิดลักเล็กขโมยน้อย ในตอนดับไฟกลางคืน จึงต้องตั้งกล้องไว้ในห้องโดยสาร คอยตรวจจับมิจฉาชีพที่ย่องเบาขโมยของ รวมทั้งอีก 2 จุดช่วงท้ายรถ เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์รอบตัวรถ และอีกตัวตรงคนขับไว้เก็บพฤติกรรมคนขับว่าประมาทเลินเล่อ เช่น ขับรถมือเดียว โทรศัพท์ไปคุยหรือไม่  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รถไฟ- บขส.ยกเครื่องบริการปีม้า

Page 1218 of 1552:« First« 1215 1216 1217 1218 1219 1220 1221 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file