shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เล็งทางด่วนเชื่อมบางซื่อ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาก่อสร้างทางยกระดับจากอาคารศูนย์คมนาคมพหลโยธินเข้าสู่ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครว่า ที่ประชุมมีมติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไปเจรจากับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานดำเนินโครงการ ให้ก่อสร้างทางขึ้นเพิ่มเติมจากบริเวณสถานีกลางบางซื่อ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง และช่วยระบายการจราจรเข้าออกสถานีกลางบางซื่อให้คล่องตัวยิ่งขึ้น“โครงการ เดิมจะมีเพียงทางลง ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีกลางบางซื่อมากพอสมควร เพราะขณะนั้นยังไม่มีแผนก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ จึงไม่ได้ออกแบบไว้รองรับ แต่เมื่อมีสถานีกลาง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางเข้ามา ก็น่าจะทำให้มีทางขึ้นจากสถานีกลางบางซื่อด้วย ดังนั้นที่ประชุมซึ่งประกอบด้วย กทพ. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงเห็นชอบให้ทำทางเชื่อมจาก สถานีกลางบางซื่อขึ้นไปยังทางด่วนได้ แต่ต้องไปเจรจากับบีอีซีแอลให้ชัดเจนก่อน”นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า การก่อสร้างทางเชื่อมดังกล่าว จะใช้วงเงินเพิ่มเติม 70 ล้านบาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชาชนที่จะเข้าใช้บริการในอนาคต ส่วนจะให้รวมอยู่ในสัญญาสัมปทานเดิม หรือจะเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในรูปแบบไหน จะต้องให้ กทพ.ไปหารือกับบีอีซีแอล โดยไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอน ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ พร้อมการก่อสร้างทางด่วนในเส้นทางดังกล่าวหรือไม่ แต่เบื้องต้นได้กันพื้นที่ไว้รองรับการก่อสร้าง หากพร้อมก็ก่อสร้างได้ทันทีส่วนของความคืบหน้าการก่อสร้างทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก คืบหน้าไปแล้ว 33% มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการประมาณปลายปี 59 โดยเป็นทางพิเศษยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ก่อสร้างบนเขตทางรถไฟสายใต้ที่มีอยู่เดิมเป็นส่วนใหญ่ มีจุดเริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก บริเวณใกล้กับโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ แนวเส้นทางโครงการจะวางตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ขนานกับทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ–ตลิ่งชัน และมีปลายทางที่ชุมทางรถไฟบางซื่อ บริเวณใกล้สถานีขนส่งหมอชิต 2 ระยะทางรวม16.7 กม.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เล็งทางด่วนเชื่อมบางซื่อ

Posts related

 














จี้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับอาเซียน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในอาเซียน หลังจากที่เปิดประชาคมอาเซียน (เออีซี) แล้ว โดยต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงฐานการผลิตของไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องจำนวนแรงงาน และค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าเพื่อนบ้าน โดยรัฐต้องส่งเสริมให้เอกชนไปหาตลาด แรงงาน และทรัพยากรจากประเทศเพื่อนบ้านขณะเดียวกัน ยังต้องยกระดับจากผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมในประเทศ เป็นผู้บริหารจัดการเครือข่ายในภูมิภาค และเพิ่มการทำวิจัย พัฒนา และการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในอนาคต โดยภาครัฐต้องเน้นการส่งเสริมไปที่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพแรงงานมากขึ้น“อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงในอนาคต และมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก โดยในอีก5ปีข้างหน้าอาเซียนจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพเติบโต จากปัจจุบันนี้อีกกว่า10เท่า โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจาก2,465พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มเป็น3,608พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่อุตสาหกรรมของประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยจะเติบโตได้อีกมาก”นายสมเกียรติ กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย หลังการเปิดเออีซีนั้น ภาครัฐ และเอกชน ต้องเข้าใจถึงการเชื่อมโยงฐานการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยขณะนี้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ เช่น ญี่ปุ่น ได้ใช้แนวคิดดังกล่าวขยายฐานการผลิตในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตชิ้นส่วนในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทั้ง ลาว และกัมพูชาและส่งมาประกอบในไทย ซึ่งอนาคตเป็นไปได้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะตั้งฐานการผลิตในเมียนมาร์ เนื่องจากมีขนาดประชากรใกล้เคียงกับไทย มีกำลังแรงงานถึง31ล้านคน และมีค่าจ้างได้เปรียบกว่าไทยเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ที่ปัจจุบันจะเห็นภาพของการเชื่อมโยงการ ผลิตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี จะย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในประเทศซีแอลเอ็มวี มากขึ้น และหากพัฒนาทักษะแรงงานให้กับแรงงานประเทศเพื่อนบ้านให้ใกล้เคียงกับไทยได้ ก็จะเป็นทางออกของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยในกลุ่มนี้ด้วยเช่นกันส่วน แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในระยะยาว รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ ในการจัดการด้านการตลาด เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมหลายอย่างของไทย เช่น เครื่องนุ่งห่ม ผู้ประกอบการไทย ผลิตสินค้าได้มีคุณภาพสูง แต่จะอยู่ในกลุ่มรับจ้างผลิต ทำให้ ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากนัก เนื่องจากยังขาดการส่งเสริมเรื่องการทำแบรนด์ และตลาด ซึ่งไทยต้องพัฒนาตัวเองเป็นเทรดดิ้ง เนชั่น ที่เน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรม ด้วยการวิจัย และพัฒนา การออกแบบ และการส่งเสริมการตลาด ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการบริหาร เครือข่ายการผลิต การจัดการโลจิสติกส์และการตลาด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จี้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับอาเซียน

โยนไอซีทีตัดสินกรณี “ทีโอที-กสท.”

นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายรัฐวิสา หกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สคร.ได้หารือกับนายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แล้ว แต่การควบรวมนั้น จะใช้เป็นแนวทางสุดท้าย เพราะไอซีทีจะหาแนวทางอื่นแก้ปัญหาก่อน เนื่องจากต้องรอผลการตรวจสอบฐานะที่แท้จริงออกมา ถึงจะกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้ชัดเจน“ขณะนี้ สคร.ยังไม่ได้กำหนดว่าการแก้ปัญหา ต้องควบรวม เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท มีกระทรวงที่ดูแลและกำหนดแนวทาง คาดว่าจะสามารถรายงานให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด รับทราบครั้งต่อไป”อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังกำหนดวันการประชุมซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ เพราะอยู่ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งประธานคณะกรรมการใหม่ จากหัวหน้าคณะรักษาความ สงบแห่งชาติ (คสช.) มาเป็น นายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนจากปลัดกระทรวง มาเป็นรมว.ประจำกระทรวงแทน เพื่อให้การกำหนดนโยบายรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน รวดเร็วมากขึ้นอย่างไรก็ตาม นายสมหมาย ได้สั่งให้ สคร. เปิดแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นจากฟากเอกชน ทั้งผู้รับเหมา นักกฎหมาย เกี่ยวกับกฎหมายร่วมทุนรัฐและเอกชนฉบับใหม่ (พีพีพี) ที่มีผลบังคับใช้มา 1 ปี แต่ยังไม่มีโครงการไหนของรัฐดำเนินการตามกฎหมายหมายพีพีพีได้ เพื่อนำความเห็นต่าง ๆ มาเขียนเป็นกฎหมายลูกที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนสนใจเข้ามาร่วมลงทุนโครงการของรัฐมากขึ้นนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลให้ควบรวมบริษัท ทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม เข้าด้วยกัน เพิ่งเป็นการเริ่มต้นการศึกษาความเป็นไปได้ ยังไม่มีข้อสรุปสุดท้ายจะต้องควบรวม หรือใช้วิธีการอื่นในการแก้ปัญหาฐานะการเนินงานของทั้ง 2 บริษัทก่อนหน้านี้ ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานของบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม โดยจะพิจารณาแนวทางสนับสนุนการทำธุรกิจร่วมกัน เพราะการให้สัญญาสัมปทานกับเอกชนจะสิ้นสุดในปี 58 นี้ เช่นเดียวกับบริษัทมหาชนจำกัดอื่น ๆ กระทรวงการคลังจะต้องเร่งปรับปรุงรูปแบบการกำกับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โยนไอซีทีตัดสินกรณี “ทีโอที-กสท.”

Page 127 of 1552:« First« 124 125 126 127 128 129 130 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file