shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

สนข.ยันปีหน้าเกิดแน่ตั๋วต่อตั๋วร่วม ประเดิมทางด่วนแก้รถติดเมืองกรุง

นับเป็นอีกครั้งในรอบหลายปีที่ “กระทรวงคมนาคม” พาสื่อมวลชนไปดูงาน “ระบบตั๋วต่อตั๋วร่วม” ที่ประเทศเกาหลีใต้ด้วยหวังจะจัดการระบบคมนาคมในเมืองกรุงให้ลดความแออัดลงให้ได้เพราะนั่นหมายความว่าจะช่วยลดต้นทุนการเดินรถลงได้มากถึง 10% และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้รถใช้ถนนให้พลเมืองของประเทศนั้น ๆ ดีขึ้น ล่าสุดกรมการขนส่งทางบก พร้อมทั้ง บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้พาคณะสื่อมวลชนรวมทั้ง “เดลินิวส์” เดินทางไปดูงานคมนาคมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ร่วมกับ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมว.คมนาคม ด้วยหวังว่าจะนำแนวทางการบริหารจัดการระบบที่ประสบความสำเร็จของเกาหลีใต้มาปรับใช้กับกรุงเทพ มหานครได้บ้าง “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมว.คมนาคม ระบุว่า เมื่อ 15 ปีก่อนหน้านี้ กรุงโซลก็เคยประสบปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนักจนทำให้ต้องลุกมาจัดการระบบขนส่งมวลชนกันอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนลดการซื้อรถส่วนตัวลง โดยพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการระบบให้มีคุณภาพโดยเฉพาะรถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์ที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าการปรับปรุงระบบการขนส่งประเภทอื่น ๆ จนมาตกผลึกที่ “ระบบตั๋วร่วม” เพื่อมาเป็นตัวจัดการคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางแถมยังช่วยประหยัดเวลาด้วย เนื่องจากบัตรใบเดียวสามารถใช้ครอบคลุมทั้งการจ่ายค่าทางด่วนค่าโดยสารรถประจำทางหรือกระทั่งรถไฟใต้ดิน ที่สำคัญด้วยระบบการจราจรที่คล้ายคลึงกันทำให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะใช้ระบบตั๋วร่วมใน กทม. ได้ แต่จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้นต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้า ซึ่งขณะนี้ “สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” (สนข.) เป็นแม่งานหลักอยู่ ทั้งนี้ หากจะนำตั๋วร่วมมาใช้ต้องตั้งบริษัทในเครือการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ามาช่วยดูการบริหารจัดการ และเบื้องต้นจะใช้กับระบบทางด่วนก่อน จากที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายทั้งทางด่วนขั้นที่ 1 โทลล์เวย์ มอเตอร์เวย์ หากเริ่มต้นได้จากนั้นก็ค่อยขยายไปยังการขนส่งร่วมกับรถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า รวมทั้งเรือด่วน และร้านค้าสะดวกซื้อต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในซิมการ์ดใบเดียว และอนาคตในซิมการ์ดนี้ก็จะถูกบรรจุลงไปในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ใช้โทรศัพท์ได้อีกด้วย เป็นต้น “จิรุตม์ วิศาลจิตร” รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ที่ศูนย์ข้อมูลการขนส่งของกรุงโซลนั้นได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ โดยในส่วนของรถโดยสารก็แบ่งออกเป็นสายสีแดง สายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีเหลือง ซึ่งเฉลี่ยแล้วประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงโซลต้องจ่ายค่าโดยสารอยู่ที่ 1,350 วอน หรือวันละ 41 บาท ด้วยการใช้บัตรสมาร์ทการ์ดเพียงแค่ใบเดียว โดยแผนการพัฒนางานด้านการจราจรภายในกรุงโซลนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 มาจนวันนี้รถประจำทางทุกคันจะติดตั้งระบบจีพีเอสทำให้ทราบได้ทันทีว่ารถคันนี้อยู่ที่ไหน ใช้เวลาเดินทางกี่นาที และบัตรสมาร์ทการ์ดนี้ใช้แค่จ่ายเงินต้นทางครั้งเดียวก็สามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางได้ตลอดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อีกทั้งศูนย์จราจรยังคอยตรวจสอบสภาพการจราจรของถนนทุกแห่งภายในกรุงโซลได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมพยากรณ์สภาพการจราจรได้อย่างแม่นยำ โดยอาศัยหลักสถิติของสภาพการจราจรที่ถนนดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแล้วนำมาประกอบกับข้อมูลด้านสภาพอากาศ เท่านี้ก็จะรู้ล่วงหน้าได้ว่าวันพรุ่งนี้รถบนถนนดังกล่าวจะติดขัดหรือไม่ และแม่นยำมากกว่า 90% จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ อาทิ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โลกสังคมออนไลน์หรือส่งไปทางข้อความในโทรศัพท์มือถือก็จะทำให้ประชาชนที่ต้องสัญจรผ่านถนนเส้นดังกล่าวในวันรุ่งขึ้นประเมินเวลาการเดินทางได้ นอกจากนี้ยังได้ไปเยี่ยมชมงานบริษัทขนส่งต่าง ๆ ภายในกรุงโซล ซึ่งทางการของกรุงโซลได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเหล่านี้เข้ามาให้บริการการเดินรถ และแบ่งสัดส่วนกำไรให้เป็นรายได้ แต่ทั้งนี้ต้องเน้นการให้บริการที่ดีที่สุด นี่เองจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พลเมืองในกรุงโซลหันมาใช้รถสาธารณะมากยิ่งขึ้นเพราะสะดวกสบายกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างไรก็ตามหากกรุงเทพมหานครอยากก้าวไปสู่จุดนั้นจริง ๆ ถือว่ายังต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มากกว่านี้ในทุกด้านเพื่อให้คนกรุงเทพฯจะได้ไม่ต้องซื้อรถเช่นกัน หากใช้บริการรถสาธารณะแล้วเกิดความสบาย ความฝันเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปนักที่จะทำให้กลายเป็นเรื่องจริงด้วยศักยภาพทั้งของรัฐและเอกชนในเมืองไทย เพียงแต่ว่าจะเป็นจริงได้เมื่อใดก็เท่านั้นเอง. จันทปภา ทวยเจริญ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สนข.ยันปีหน้าเกิดแน่ตั๋วต่อตั๋วร่วม ประเดิมทางด่วนแก้รถติดเมืองกรุง

Posts related

 














ยอดบุหรี่เถื่อนจากภาคใต้พุ่ง

นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ผู้อำนวยการยาสูบ โรงงานยาสูบ เปิดเผยว่า การลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาไทยผ่านบริเวณชายแดนภาคใต้มีปริมาณมากขึ้น หลังจากที่มีกระแสข่าวว่า กรมสรรพสามิตจะปรับขึ้นภาษีบุหรี่ที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ทำให้ยอดขายบุหรี่ลดลงในเดือนต.ค.และพ.ย.ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบุหรี่พรีเมียม หรือเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน เนื่องจากบุหรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาขายถูกกว่าไทย ดังนั้นได้มอบหมายให้หน่วยงานปราบปราบบุหรี่ผิดกฏหมาย ประกอบด้วย กรมศุลกากร  กรมสรรพากร  กรมสรรพสามิต โรงงานยาสูบ  และตำรวจต้องเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าบุหรี่เพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อยอดขายในประเทศ “การสูบบุหรี่ของคนไทยหากเทียบกับต่างประเทศยังมีสัดส่วนที่น้อย  โดยตลาดในไทยจะมีอัตราเติบโต 1-2% หากเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนหรือเอเชีย เช่น จีน และอินโดนีเซียมีการเติบโตเฉลี่ยเป็นตัวเลข 2 หลักต่อปี ซึ่งไม่ใช่ว่าต้องการให้ตลาดในไทยเพิ่ม  แต่ต้องการให้คนสูบบุหรี่คำนึงถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบุหรี่ เช่น ใบยาสูบว่า มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะการปลูกใบยาสูบต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ใบยาที่มีคุณภาพ และควบคุมเกณฑ์ของสารตกค้าง เพื่อผลิตบุหรี่ที่ได้มาตรฐานสากล ” ทั้งนี้แม้ว่ายอดขายบุหรี่จะลดลง แต่ไม่ได้ทำให้รายได้ของโรงงานยาสูบลดลง โดยปีนี้อยู่ที่ 7,000 กว่าล้านบาท จากปี 56 อยู่ที่ 6,000 กว่าล้านบาท เป็นผลมาจากโรงงานฯ ได้ปรับลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ไม่จำเป็นลง และไม่ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอนำเข้าเครื่องจักรใหม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกำลังการผลิตในปัจจุบันอยู่ที่ 33,000 ล้านมวนต่อปี และในปี 57 การผลิตยังอยู่ภาวะทรงตัวไม่ได้เพิ่มขึ้น  ส่วนการแข่งขันบุหรี่ไทยและต่างประเทศยังมีความรุนแรงต่อเนื่อง  เพราะบุหรี่ไทยมีราคาสูงกว่าทำให้การทำตลาดได้ยาก ซึ่งกำลังพิจารณาว่าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรบ้างที่ต้องพัฒนาเข้ามาทำตลาดให้แข่งกับคู่แข่งได้  พร้อมทั้งให้ความรู้ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ ผ่านตัวแทนการขายหรือเอเย่นต์ที่มีอยู่ 273 แห่งทั่วประเทศ  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ยอดบุหรี่เถื่อนจากภาคใต้พุ่ง

พรบ.2 ล้านล้านเคว้ง

นายชัชชาติสิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคมเปิดเผยถึงการดำเนินโครงการตามร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศพ.ศ….หรือพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านบาทหลังยุบสภาว่าขั้นตอนหลังจากนี้ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นให้พิจารณาว่าร่างดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่หากวินิจฉัยแล้วให้เดินหน้าต่อไปได้ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาพิจารณาว่าควรนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่หากไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯก็ถือว่าร่างพ.ร.บ.จะตกไปทันที อย่างไรก็ตามขั้นตอนการพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านบาทได้ผ่านการพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร์และวุฒิสภาโดยสมบูรณ์แล้วการยุบสภาจึงไม่เกี่ยวข้องในส่วนนี้เหลือเพียงแค่รอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและเป็นอำนาจการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่เท่านั้น  ทั้งนี้ยืนยันว่าการดำเนินโครงการภายใต้ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านบาทมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างมากซึ่งที่ผ่านมาได้ศึกษามาอย่างต่อเนื่องบางโครงการทำมานานหลายปีแล้วแต่เพิ่งนำมาบรรจุไว้ในพ.ร.บ.นี้เพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็วและต่อเนื่องเท่านั้นซึ่งปัจจุบันทุกโครงการยังมีการศึกษารายละเอียดการของโครงการตามต่อไปยังไม่มีโครงการไหนหยุดชะงักเพราะขั้นตอนการศึกษารายละเอียดต่างๆยังไม่ได้ใช้เงินกู้จากพ.ร.บ.นี้ นายจุฬาสุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)กล่าวว่าสนข.จะยังเดินหน้าศึกษาการดำเนินโครงการต่างๆภายใต้ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านต่อไปเพราะการศึกษารายละเอียดการดำเนินโครงการเป็นสิ่งที่สามารถทำต่อได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการยุบหรือไม่ยุบสภาของรัฐบาลประกอบกับการดำเนินงานในแต่ละโครงการเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาในการศึกษาเป็นนานดังนั้นจำเป็นที่สนข.จะเร่งศึกษาการดำเนินโครงการให้ต่อเนื่องและแล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดเพื่อเตรียมความพร้อมดำเนินโครงการได้ทันทีหาก พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านขบวนการของศาลรัฐธรรมนูญไปได้ นายอำพนกิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกล่าวว่า การประกาศยุบสภาของรัฐบาลไม่มีผลต่อพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านเพราะขั้นตอนสำคัญที่สุดในขณะนี้คือรอฟังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะประกาศรับหรือไม่รับวินิจฉัยคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ที่ร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้นซึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 154ระบุไว้ชัดเจนว่าหาก พ.ร.บ.ฉบับใดอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลนายกรัฐมนตรีจะต้องชะลอการนำพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อรอให้ศาลตัดสินถึงที่สุดก่อนซึ่งที่ผ่านมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจชะลอนำพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นทูลเกล้าฯแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 28พ.ย.ที่ผ่านมาเพื่อรอฟังคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญก่อน “ตอนนี้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียวผมไม่อยากพูดหรือคาดเดาอะไรก่อนที่ศาลจะตัดสินหากศาลตีความว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมายก็จะเดินหน้าต่อไปได้ซึ่งตามขั้นตอนกฎหมายรัฐบาลรักษาการสามารถที่นำขึ้นทูลเกล้าได้แต่โดยมารยาททางการเมืองแล้วรัฐบาลจะไม่ทำอาจต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่ที่มีอำนาจเต็มเป็นผู้ตัดสินใจเอง” ทั้งนี้ในส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาระบุว่ากฎหมายดังกล่าวอาจไม่สามารถบังคับใช้ได้ เนื่องจากมาตรา 150แห่งรัฐธรรมนูญกำหนดว่ารัฐบาลต้องนำกฎหมายที่ผ่านสภาขึ้นทูลเกล้าฯภายใน20วันมิฉะนั้นจะถือว่ากฎหมายตกไปตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างนั้นจริงแต่การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ในขณะนี้เป็นการพิจารณาโดยยึดกรอบมาตรา154คือต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนไม่ได้พิจารณาตามมาตรา 150ที่ระบุเรื่องของกรอบเวลาการนำขึ้นทูลเกล้าฯแล้วจึงไม่มีการนำเงื่อนไขของระยะเวลาการนำขึ้นทูลเกล้าฯเข้ามาพิจารณาแต่อย่างใด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พรบ.2 ล้านล้านเคว้ง

Page 1308 of 1552:« First« 1305 1306 1307 1308 1309 1310 1311 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file