shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

รัฐ-เอกชนชี้4กลไกเคลื่อนศก.จี้แก้การเมืองก่อนลงทุนสะดุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ วันที่ 18 พ.ย. 56 สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจได้จัดงานสัมมนาประจำปี 56 เรื่อง “พลังขับเคลื่อนอนาคตไทย : แนวโน้มเศรษฐกิจปี 57” โดยเชิญภาครัฐและเอกชน มาร่วมเสวนา รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ “ทิศทางการบริหารเศรษฐกิจไทยในปี 57” ซึ่งส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 57 มาจาก 4 ปัจจัย คือ โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท, โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท, การส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงต้องเร่งแก้ปัญหาการเมืองให้จบโดยเร็ว นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกฯ และรมว.คลัง ระบุว่า ผิดหวังมากกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนที่ยังต้องเผชิญกับความผันผวนจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ รวมถึงความล่าช้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโครงการระบบบริหารจัดการน้ำ และยังเป็นเรื่องน่าขำที่หลายฝ่ายนำตัวเลขในอดีตมาชี้วัดปัจจุบัน อย่างไรก็ตามไทยต้องการโครงการลงทุนขนาดใหญ่มากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากหลายฝ่ายยังกังวลต่อความไม่โปร่งใส ภาครัฐก็ขอให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเพื่อตรวจสอบ หากไม่มีปัญหาอะไรขัดข้องเชื่อว่าทั้ง 2 โครงการสามารถเดินหน้าได้ในปี 57 แน่นอน ด้านนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ บอกว่า ในปี 57 ภาคการส่งออก จะเป็นในแกนหลักที่กลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยปี 56 กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชนประเมินว่าส่งออกไทยจะขยายตัวได้ 1% เพราะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลายประเทศชะลอตัวลง แต่ในปี 57 เชื่อว่าเศรษฐกิจหลายประเทศสามารถกลับมาขยายตัวได้ดีอีกครั้งและทำให้การส่งออกไทยขยายตัวได้ที่ 5-7% เพราะหลายหน่วยงานเห็นตรงกันว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ที่ 4-6.2% ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วน และยังเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ลดต้นทุนโลจิสต์ให้เอกชน สร้างโอกาสความเสมอภาคและการเท่าเทียมทางสังคม โดยเวลานี้กำลังรอการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า จะพิจารณา พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาทอย่างไร ’หากโครงการ 2 ล้านล้านบาทเกิดอุบัติเหตุ โครงการต้องเดินหน้าต่อไป โดยให้กระทรวงการคลังไปดูว่า จะหาเงินที่ไหน มาลงทุน ซึ่งมองว่า หลายโครงการ เป็นโครงการที่ตั้งมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว แต่ไม่สามารถหาเงินมาลงทุนได้ จึงทำให้ไทยเสียโอกาสมาก เช่น สร้างรถไฟรางคู่ สมัยก่อนใช้งบประมาณ 80,000 ล้านบาท แต่ตอนนี้ต้องใช้งบประมาณถึง 400,000 ล้านบาท ต่อไปหากโครงการ 2 ล้านล้านได้รับการอนุมัติแล้ว เราต้องทำ 3 อย่างให้เกิดขึ้นคือ ราคากลางที่ต้องสะท้อนความจริง คุณภาพของงานที่ต้องดี และต้องแข่งขันอย่างเป็นธรรมที่สำคัญต้องโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน“ ขณะที่ภาคเอกชนอย่าง นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) แสดงความมั่นใจว่าในปี 56 นี้มั่นใจว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยในระดับ 26.2 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อน 17% มีรายได้ 1.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% ส่วนปี 57 คาดว่า ภาคการท่องเที่ยวจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้ 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากคนไทย 700,000 ล้านบาท และ ต่างชาติ 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเร็วกว่าแผนที่นายกรัฐมนตรีได้กำหนดไว้ว่าจะมีรายได้ 2 ล้านล้านบาทในปี 58 สาเหตุที่ภาคการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง จนหลายภาคส่วนมองว่าในปีนี้และปีหน้าภาคท่องเที่ยวยังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องได้วางแผนร่วมกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ พร้อมทั้งได้ประสานงานกับกระทรวงวัฒนธรรมตลอดเวลาเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวไทย เช่นเดียวกับ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่บอกว่า เชื่อว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 5–6 % เนื่องจากมองว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัว ส่งผลให้ภาคการส่งออกขยายตัวดีขึ้น โดยที่ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐ เร่งเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อให้เกิดการลงทุน ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งต้องการให้ภาครัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะการค้าชายแดน ซึ่งที่ผ่านมาได้สอบถามบรรดาสมาชิกและภาคเอกชนต่างระบุตรงกันว่า เวลานี้ปัญหาใหญ่ที่กังวลมากที่สุด แซงหน้าปัญหาอื่นคือ ปัญหาการเมือง เพราะยืดเยื้อจะยิ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนรายใหม่ที่กำลังตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย ส่วนนักลงทุนเดิม ยังขอลงทุนต่อไป จึงต้องการอยากให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหาการเมืองให้จบโดยเร็ว เพราะกลายเป็นปัญหาที่น่ากังวลกว่าปัจจัยภายนอก ทั้งที่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้เอง ทั้งหมดเป็นเพียงความคิดเห็นบางส่วนที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้กลั่นกรองออกมาให้เห็นถึงแก่นแท้ของปัญหาและแนวทางแก้ไข แต่ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองเช่นนี้…ความฝันที่หวังไว้จะเดินหน้าได้หรือไม่คงต้องจับตาดูกันต่อไป!!. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รัฐ-เอกชนชี้4กลไกเคลื่อนศก.จี้แก้การเมืองก่อนลงทุนสะดุด

Posts related

 














ชงคลังเพิ่มทุนบีเอ็มซีแอล

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงแนวทางการเพิ่มทุนในบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (บีเอ็มซีแอล) ของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ว่า ต้องให้กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นผู้พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ว่าแนวทางใดเหมาะสมที่สุด ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม. รับทราบ ซึ่งจะต้องมีความชัดเจนก่อนครบกำหนดกรอบเวลาในเดือน ธ.ค.นี้ “กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นหน่วยปฏิบัติก็พร้อมรับนโยบาย อีกทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนการประกาศแนวทางใด ๆ ของ รฟม.จะมีผลต่อเรื่องของราคาหุ้นทั้งสิ้น ดังนั้นเรื่องนี้ต้องดูให้รอบคอบ รอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอเรื่องกลับมาก่อน และจะส่งผลวิเคราะห์ไปยังกระทรวงการคลังทันที” แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า วันที่ 21 พ.ย. นี้คณะกรรมการรถไฟฯ จะพิจารณาว่า จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบีเอ็มซีแอลหรือไม่ หลังจากวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา ในการประชุมผู้ถือหุ้นสมัยวิสามัญของบีเอ็มซีแอลได้เห็นชอบแผนเพิ่มทุนของบริษัท 8,500 ล้านบาท จาก 11,950 ล้านเป็น 20,500 ล้านบาท แต่ รฟม.ที่ถือหุ้นอยู่ด้วย 25% ยังคงไม่ตอบรับ เพราะต้องรอที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบก่อน เสนอให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ และรายงานต่อ ครม. อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวแจ้งว่า ในส่วนของรฟม.จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐ เพราะหากต้องการรักษาสัดส่วนหุ้น 25% จะต้องเพิ่มเงินทุนอีก 2,000 ล้านบาท หากบอร์ดอนุมัติให้เพิ่มทุนจริง ครม.เห็นชอบด้วย รฟม.อาจจะเสนอขอกู้หรือขอใช้งบกลางในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้วจ่ายคืนทีหลัง “แนวโน้มที่ประชุมบอร์ดรฟม. คาดว่าจะไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพราะเห็นว่ารฟม.เป็นผู้ให้สัมปทาน ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลก็ได้ เนื่องจากเป็นกิจการของเอกชน อีกทั้ง รฟม.มีสัญญาการบริหารเมื่อครบสัมปทาน ทุกอย่างก็ตกเป็นของรฟม.อยู่ดี แต่บอร์ดส่วนที่เห็นด้วยว่า ควรรักษาสัดส่วนหุ้น ซึ่งมีอยู่จำนวนน้อย โดยให้เหตุผลว่า จำนวนเงินไม่มาก ประกอบกับเป็นยุทธศาสตร์ด้านการลงทุน ซึ่งจะมีประโยชน์อีกหลายเรื่องในอนาคต”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงคลังเพิ่มทุนบีเอ็มซีแอล

เดินหน้าลงนามเอ็มโอยู”ทวาย”

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 21 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ไทย-พม่า (เจซีซี) ซึ่งจะลงนามในบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) 3 ฉบับคือ กรอบความร่วมมือในการดำเนินโครงการระหว่างไทยกับพม่า (เฟรมเวอร์คออฟอะกรีเม้นท์) รวมถึงเอ็มโอยูเรื่องการโอนกิจการของบริษัทอิตาเลี่ยนไทย เดเวล็อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือไอทีดี กลับไปเป็นการดำเนินงานโดยบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) หรือบริษัท ทวาย เอสอีแซด ดีเวลล๊อปเมนท์ ที่ถือหุ้นร่วมกันระหว่างไทย พม่า และญี่ปุ่นที่จะเข้ามาถือหุ้นร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นการลงนามในเอ็มโอยูที่เอสพีวี ต้องคืนเงินให้ไอทีดี ในฐานะที่เป็นผู้ลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานระยะแรก ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยยืนยันว่าการคืนเงินให้ไอทีดีนั้น เป็นเรื่องที่ต้องให้ความเป็นธรรมกับภาคเอกชน เพราะก่อนหน้านี้ได้เข้าไปบริหารจัดการ โดยจากนี้ไปไอทีดี ต้องหยุดดำเนินกิจการต่าง ๆ ทั้งหมดที่ทวาย เนื่องจากได้จัดตั้งเอสพีวีเข้าไปดำเนินการแทนแล้ว ขณะที่ประเทศพม่าเองต้องการให้เปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาบริหารโครงการเป็นโครงการ ๆ ไปและต้องเปิดประมูลอย่างโปร่งใส เป็นธรรมกับบริษัทต่างชาติด้วย ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะแต่บริษัทของไทยแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า มั่นใจว่าอนาคต ไอทีดีสามารถเข้าไปลงทุนและเข้าร่วมประมูลในโครงการอื่น ๆ ได้ โดยยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเป็นการเอาเปรียบภาคเอกชนหรือเข้ามาชุบมือเปิปแต่อย่างใด แต่เป็นนโยบายของพม่าที่ต้องดำเนินการตาม ขณะเดียวกันรัฐบาลได้พยายามหารือร่วมกับพม่าที่จะปกป้องและรักษาผลประโยชน์ให้กับไอทีดี ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เดินหน้าลงนามเอ็มโอยู”ทวาย”

Page 1403 of 1552:« First« 1400 1401 1402 1403 1404 1405 1406 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file