shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ไทยจับมือภูฏานร่วมมือการค้า-เศรษฐกิจ

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยและภูฏานกับ กระทรวงเศรษฐการของภูฏาน เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การท่องเที่ยว ก่อสร้าง สุขภาพและการรักษาพยายาล การศึกษา พลังงาน โลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และยังได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (เจทีซี) เพื่อเป็นเวทีสำหรับทั้งสองประเทศในการทบทวนพัฒนาการด้านการค้าและการลงทุน ทั้งนี้จากความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะช่วยเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนและทำการค้ากับภูฏานและประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับภูฏานได้มากขึ้น เพราะปัจจุบันภูฏานได้มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับหลายประเทศ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน เป็นต้น และยังเป็นสมาชิกความตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคต่างๆ ซึ่งไทยสามารถใช้ภูฏานเป็นฐานในการผลิตและส่งออกไปยังประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีได้ และจะง่ายกว่าการเข้าไปตั้งธุรกิจในประเทศเหล่านั้น ขณะเดียวกัน ยังมีโอกาสในการเข้าไปลงทุนในหลายกิจการ โดยเฉพาะโครงการใหญ่ที่สำคัญและกำลังจะเปิดรับนักลงทุนต่างชาติ คือ โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 10,000 เม็กกะวัตต์ และจะขยายเป็นอีก 3 เท่า ในอนาคต เพื่อส่งไปขายต่อยังอินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน โดยขณะนี้มีอินเดียเป็นนักลงทุนรายใหญ่ นอกจากนั้น ยังเปิดกว้างสำหรับธุรกิจบริการอื่นๆ ที่ไทยมีจุดแข็ง คือ ด้านดูแลสุขภาพ การศึกษา การท่องเที่ยว รีสอร์ต ร้านอาหาร และธุรกิจบริการในด้านอื่นๆ สำหรับกิจการที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ เช่น การพัฒนาส่งออกพลังงานน้ำ ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ การพัฒนาศูนย์การศึกษาในประเทศ ศูนย์ผลิตพืชออแกนิค ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น ก็เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนได้ นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวว่า แม้ภูฏานจะเป็นประเทศเล็ก ไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย มีการนำเข้าสินค้าไทยเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 150,000 เหรียญสหรัฐ และในปี 56การส่งออกจากไทยไปภูฏาน เพิ่มขึ้น 98.97% สำหรับในปี 56 ภูฏานเป็นคู่ค้าอันดับที่ 153 ของไทย ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (51-55) การค้ารวมเฉลี่ยมีมูลค่า 12.10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 134 ของไทย มีมูลค่าเฉลี่ย (51-55) 11.94ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 180 ของไทย มีมูลค่าเฉลี่ย (51-55) 0.15 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปภูฏาน ได้แก่ สิ่งทอ รถยนต์และอุปกรณ์ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าผืน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น สินค้านำเข้าจากภูฏานที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไทยจับมือภูฏานร่วมมือการค้า-เศรษฐกิจ

Posts related

 














หอการค้าระบุยุบสภาฯไม่กระทบเศรษฐกิจ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายฝ่ายเริ่มคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองลงหลังจากติดตามพฤติกรรมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่แกนนำม็อบตั้งใจจะชุมนุมอย่างสงบและไม่มีความรุนแรง ประกอบกับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรียืนยันจะไม่มีการสลายม็อบเด็ดขาด ส่งผลให้บรรยากาศการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไม่ได้รับความเสียหายมากนัก ดังนั้นศูนย์ฯ ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 56 จะอยู่ในระดับ 3.3% อย่างไรก็ตามหากการเมืองไม่สามารถยุติลงด้วยดี และรัฐบาลอาจยุบสภา หรือนายกรัฐมนตรีลาออก ก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่างกัน คือ หากมีการเลือกตั้งใหม่ก็จะมีเม็ดเงินสะพัดในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 40,000-50,000 ล้านบาท ก็จะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศและช่วยพลักดันให้เศรษฐกิจปีนี้ขยับได้บ้าง ทั้งนี้หากนายกรัฐมนตรีลาออก และมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ พรรคเพื่อไทยก็จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเหมือนเดิม เพราะพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงไม่เพียงพอ จะส่งผลให้รัฐบาลยังคงเป็นพรรคเดิม และมีนโยบายขับเคลื่อนเหมือนเดิม ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก และปีหน้าเศรษฐกิจไทยก็จะโตได้ตามเป้าหมาย 5% “หากยุบสภาในช่วงที่คะแนนนิยมของรัฐบาลตกต่ำ ก็มีโอกาสให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นรัฐบาลเหมือนกัน ซึ่งจะทำให้นโยบายการบริหารประเทศเปลี่ยนแปลง ก็ต้องดูต่อว่าจะมีนโยบายอย่างไร และมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร แต่หากเลือกตั้งใหม่ได้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลเหมือนเดิมเชื่อว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องโดยเฉพาะโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท” สำหรับข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอย่างเป็นรูปธรรมโดยไม่ให้มีโอกาสกลับเข้าสู่การพิจารณาได้อีก, ควรให้โอกาสประชาชนทุกลุ่มได้แสดงออกทางการเมืองอย่างเสรีภายใต้ระบอบประชาธิปไตย, รัฐไม่ควรใช่กำลังสลายชุมนุม, รัฐควรป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีความคิดแตกต่างกันปะทะกันและกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองทุกกลุ่มชุมนุมด้วยความสงบเรียบร้อย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หอการค้าระบุยุบสภาฯไม่กระทบเศรษฐกิจ

“การบินไทย”ขาดทุนไตรมาสที่ 3 กว่า 6.2 พันล้าน

นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 56 การบินไทยมียอดขาดทุนสุทธิ 6,195 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 2.84 บาท แต่เมื่อคิดผลดำเนินงานรวมกับบริษัทย่อย จะขาดทุนสุทธิลดเหลือ 6,182 ล้านบาท แต่แย่กว่าปีก่อนที่มีกำไร 1,857 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นการขาดทุนก่อนอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีเงินได้ 3,238 ล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 2,890 ล้านบาท ขณะที่รายได้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 51,351 ล้านบาท “สาเหตุการขาดทุนในไตรมาสนี้ มาจากการดำเนินงานค่าใช้จ่าย และต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น หลังจากการบินไทยลงทุนซื้อเครื่องบินใหม่เข้ามา ประกอบกับในอุตสาหกรรมการบินมีการแข่งขันกันสูงและได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคต่างๆ ในโลก ทำให้การเติบโตของรายได้มีอัตราต่ำกว่าค่าใช้จ่าย” ทั้งนี้รายได้จากค่าโดยสาร รายได้จากหน่วยธุรกิจ และกิจการอื่น แม้จะปรับสูงขึ้นจากจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการเพิ่ม แต่รายได้ค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์กลับลดลงจากการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่ค่าใช้จ่ายได้ปรับตัวเพิ่มเช่นกัน จากต้นทุนการดำเนินงาน การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าล่วงเวลาของพนักงาน และแรงงานภายนอก จนทำให้มีรายจ่ายในบุคลากรสูงขึ้นถึง 16.3% นายสรจักรกล่าวว่า ผลการดำเนินงานรวม 9 เดือนปี 56 (1 ม.ค.- 30 ก.ย.) การบินไทยและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 156,900 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิรวม 6,313 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีก่อนซึ่งมีกำไรถึง 5,629 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 6,351 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 2.91 บาท ซึ่งลดจากปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้น 2.49 บาท โดยในช่วง 9 เดือนทีผ่านมา การบินไทยมีการเพิ่มเครื่องบินใหม่ และที่นั่งเพิ่มถึง 8.5% แต่การหารายได้ไม่สามารถเพิ่มได้ทัน ประกอบกับประสบปัญหาจากการแข็งค่าเงินบาท ทำให้รายได้จากการขายและให้บริการได้รับผลกระทบ อีกทั้งมีการบันทึกขาดทุนด้อยค่าเครื่องบินเป็นเงิน 3,592 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่มีเพียง 181 ล้านบาท นอกจากนี้การบินไทยยังได้ปรับลดเป้าหมายกำไรสุทธิทั้งปี 56 ลงเหลือ 2,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในรอบปี จากเดิมที่คาดทั้งปีมีกำไร 6,000 ล้านบาท ต่อมาลดเหลือ 4,000 ล้านบาท และเหลือ 2,000 ล้านในที่สุด ซึ่งสวนทางกับปีก่อนที่ได้กำไรทั้งปีมากถึง 6,200 ล้านบาท โดยยอมรับว่าในปี 56-58 จะเป็นปีที่แย่ของการบินไทย เพราะมีภาระหนี้สินสูง และในการประชุมคณะกรรมการบริษัทการบินไทย เดือนธ.ค. นี้ จะมีการเสนอแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ให้มีรายได้เพิ่ม ลดรายจ่าย และทำกำไรให้สูงขึ้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “การบินไทย”ขาดทุนไตรมาสที่ 3 กว่า 6.2 พันล้าน

Page 1420 of 1552:« First« 1417 1418 1419 1420 1421 1422 1423 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file