shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ดอนเมืองคึกคึกรับเทศกาลท่องเที่ยว

ว่าที่เรืออากาศโทจตุรงคพล สดมณี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า แนวโน้มผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) จะคึกคักกว่าปีก่อน โดยขณะนี้สายการบินไลออนแอร์ ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสแอร์ไลน์) ของประเทศอินโดนีเซีย ยืนยันจะเปิดบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองในช่วงต้นเดือนธ.ค.นี้ตามแผนงานเดิม คือ กรุงเทพฯ-จาการ์ตา กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ โดยไม่มีแผนเลื่อนเปิดให้บริการ “ขณะนี้ผู้โดยสารและเที่ยวบินที่ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองยังปกติ ไม่มีการยกเลิกใช้บริการ และคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศจะยังใช้บริการเพิ่มขึ้นในฤดูกาลท่องเที่ยว(ไฮซีซั่น) และทั้งปี 56 จะมีผู้โดยสารรวม 16.5 ล้านคน จากปัจจุบันที่มีผู้โดยสารใช้บริการแล้วประมาณ 14 ล้านคน ส่วนปี 57 จะมีประมาณ 19 ล้านคน” สำหรับความคืบหน้าการปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้นนั้น อยู่ระหว่างดำเนินการระยะแรก เพื่อขยายขีดความสามารถให้รองรับได้ถึง 30 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันรองรับได้ 16.5 ล้านคนต่อปี โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 57 ระยะที่ 2 จะขยายให้รองรับได้ถึง 45 ล้านคนต่อปี จะดำเนินการได้แล้วเสร็จปลายปี 58 “เมื่อปรับปรุงระยะที่ 2 แล้วเสร็จ จะสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 50 ล้านคนต่อปี เกินขีดความสามารถที่กำหนดไว้ เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นผู้โดยสารในประเทศ จึงสามารถเพิ่มพื้นที่บางส่วนเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการได้มากขึ้น โดยประเมินไว้ว่าท่าอากาศยานดอนเมืองจะสามารถรองรับได้ในช่วงระยะ 10 ปี จากนั้นก็เป็นหน้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะต้องขยายตามแผนงานที่กำหนดเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารให้เพียงพอ”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดอนเมืองคึกคึกรับเทศกาลท่องเที่ยว

Posts related

 














กลุ่มยูโรโซน เส้นทางปฏิรูปยังคงอีกยาวไกล – โลกการเงิน

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นร้อยละ 0.25 ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอ้างถึงอัตราเงินเฟ้อ ที่ต่ำต่อเนื่องในการตัดสินใจดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารกลางยุโรปคงจะมีความกังวลว่า หากปล่อยไว้จนกลายเป็นภาวะเงินฝืดเหมือนกับที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว ก็อาจจะยากที่จะแก้ไขในภายหลัง ขณะที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน คณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป เพิ่งจะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน ในปี 2557 ลงเป็นร้อยละ 1.1 และปรับเพิ่มประมาณการอัตราการว่างงานเป็นร้อยละ 12.2 ทั้งนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร น่าที่จะสามารถขยายตัวในแดนบวกได้ในปีหน้า จากที่ติดลบประมาณร้อยละ 0.4 ในปี 2556 แต่อัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำดังกล่าว ทำให้เห็นได้ว่า การฟื้นตัวของกลุ่มยูโรโซนเพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น หนทางข้างหน้านั้นยังคงอีกยาวไกล ประเด็นสำคัญคือ กลุ่มยูโรโซนจะต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจให้มีความแข็ง แกร่ง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซ้ำอีก โดยการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ที่ทางการยุโรปมีแผนจะดำเนินการ ได้แก่ การรวมศูนย์การกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Banking Union) และการควบคุมด้านการคลัง (Fiscal Union) เพื่อดูแลวินัยการคลังของรัฐบาลแต่ละประเทศ ไม่ใช้เงินเกินตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับกรณีของกรีซ นอกจากนี้ ยังคงมีโจทย์ด้านความสามารถในการแข่งขันของหลายประเทศอย่างเช่น อิตาลี, กรีซ, สเปน, โปรตุเกส ที่กำลังแรงงานมีผลิตภาพ (productivity) ค่อนข้างต่ำ ในด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงินนั้น ธนาคารกลางยุโรปจะทำการประเมินฐานะความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจากวันนี้ ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า ผลการประเมินดังกล่าวอาจจะทำให้ธนาคารในยูโรโซนบางแห่งต้องเพิ่มทุนกันอีกรอบ แต่ก็เป็นก้าวสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่น และลดความเสี่ยงที่สถาบันการเงินที่อ่อนแอ จะลากฐานะการคลังของประเทศให้ย่ำแย่ตามไปด้วย เหมือนกับที่เกิดขึ้นในวิกฤติครั้งที่ผ่านมา ส่วนการควบคุมด้านการคลังนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มมีฐานะทางการคลังเป็นที่ยอมรับของตลาดเงิน ตลาดทุน ทั้งในด้านของดุลงบประมาณ และระดับหนี้สาธารณะ จนสามารถออกไประดมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมได้ด้วยตนเอง โดยไม่เป็นภาระแก่ทางการยุโรปเหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากจะให้การรวมศูนย์การกำกับดูแลสถาบันการเงิน และการควบคุมทางการคลังดังกล่าวสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประเทศสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนคงจะต้องยอมอยู่ในกรอบ ระเบียบ กติกาต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ไม่ใช่ต่างคนต่างเดินอย่างที่เกิดขึ้นจนนำมาสู่วิกฤติครั้งที่ผ่านมา ซึ่งตรงนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะนักการเมืองของประเทศสมาชิกคงอยากที่จะมีวาระของตนเองในประเด็นด้านการเงิน การคลังดังกล่าว ทำให้ในที่สุดแล้ว หากจะให้การปฏิรูปเดินหน้าได้จริง ประเทศสมาชิกคงจะต้องยอมเสียสละอิสรภาพบางส่วน โดยต้องยอมที่จะตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากทางการยุโรป เพื่อแลกกับความเชื่อถือไว้วางใจที่จะได้รับจากตลาดเงิน ตลาดทุน ส่วนประเด็นสุดท้ายในเรื่องของการเพิ่มผลิตภาพ (productivity)ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ที่ประสบปัญหาในด้านการแข่งขัน เช่น อิตาลี, กรีซ, สเปน, โปรตุเกส นั้น ผมมองว่าคงจะเป็นเรื่องยากไม่แพ้กัน เพราะภายใต้กรอบการใช้จ่ายทางการคลังที่จำกัดของกลุ่มยูโรโซน การจะเพิ่มความสามารถในด้านการแข่งขันให้แก่ประเทศ โดยทุ่มการลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ คงจะทำไม่ได้ จึงจะต้องหวังพึ่งการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เป็นหลัก เช่น การปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและลดต้นทุนแก่ภาคธุรกิจ ตลอดจนการทบทวนบทบาทของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยอะไรที่ภาคเอกชนทำได้ดีกว่า ภาครัฐก็ควรจะต้องถอยออกมา ซึ่งน่าจะทำให้ภาครัฐมีภาระที่ลดลง เป็นต้น ผมคาดว่า ในการปฏิรูปประเด็นสำคัญ ๆ ดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มยูโรโซน คงจะต้องใช้ความทุ่มเทและเวลาอีกไม่ต่ำ กว่า 3-5 ปีจากวันนี้ จึงจะพอเห็นผลเป็น รูปธรรม โดยหากระหว่างดำเนินการไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่มากระทบให้เสียขบวนแล้ว เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนก็น่าที่จะแข็งแกร่งขึ้น จนอาจจะสามารถขึ้นมาทัดเทียมกับสหรัฐในด้านความเป็นผู้นำได้ แต่ทั้งนี้ประเทศสมาชิกทั้งหมดจะต้องยอมรับกติกา และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในการฟันฝ่าอุปสรรคและความยากลำบากต่าง ๆ ที่ยังคงรออยู่ครับ. ดร. เชาว์ เก่งชน ck.at.kr@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กลุ่มยูโรโซน เส้นทางปฏิรูปยังคงอีกยาวไกล – โลกการเงิน

เจาะกลยุทธ์บริหารร้าน 7-11แดนซากุระ

การเปิดเสรีการค้า การลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาเพื่อช่วงชิงโอกาสในการเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ เพราะหาก “คิดก่อน ทำก่อน ย่อมได้เปรียบ” โดยเฉพาะเมื่อทำแล้วประสบความสำเร็จ ยิ่งตอกย้ำการแข่งขันที่มีความได้เปรียบคู่แข่ง เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยมีการแข่งขันสูง นอกเหนือจากเงินทุนแล้ว สิ่งสำคัญก็คือ “ระบบการบริหารจัดการที่ดี” ณ เวลานี้ต้องยอมรับว่าบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เจ้าของแฟรนไชส์ ร้านสะดวกซื้อ (คอนวีเนี่ยน สโตร์) “เซเว่น อีเลฟเว่น” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ซีพีฯ นำมาเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2532 แล้วแตกสาขากระทั่งปัจจุบันมีสาขากว่า 7,000 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้มีอัตราส่วนของผู้ซื้อแฟรนไชส์ถึง 55% อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทฯจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ ช่วงชิงลูกค้า และส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจค้าปลีก ล่าสุด นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ฯ จึงนำสื่อมวลชนร่วมดูงานด้านบริหารธุรกิจค้าปลีก ที่กรุงโตเกียว และเมืองนิกโก้ ประเทศญี่ปุ่น ยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีก พร้อมกับสำรวจย่านการค้าใจกลางกรุงโตเกียว ทั้งถนนชินจูกุ, ย่านอาซากุสะ และย่านรปปงงิ ซึ่งเป็นศูนย์รวมร้านสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เกต ขายสินค้านานาชนิดของทั้งชาวญี่ปุ่นและต่างชาติ โดยแต่ละร้านต่างงัดกลยุทธ์ทั้งลด แลก แจก แถม มาจูงใจลูกค้ากันสุดฤทธิ์ โดย นายคัตสึฮิโกะ อิเคดะ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจค้าปลีกชาวญี่ปุ่น ซึ่งคลุกคลีในวงการธุรกิจค้าปลีกมากว่า 40 ปีกล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศซบเซา กระทั่งนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ประกาศนโยบาย “อาเบะโนมิกส์” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ต่างต้องปรับกลยุทธ์และนโยบายเพื่อความอยู่รอด และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันตัวเลขผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี คิดเป็น 22% ของจำนวนประชากร และมียอดการใช้จ่ายซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคสูงถึง 45% ทั้งนี้บริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ ซึ่งเป็นบริษัทฯแม่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ ซึ่งต้องรับผิดชอบในการบริหารงาน ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เจแปน ถึง 1,600 สาขาทั่วญี่ปุ่น จึงใช้นโยบาย “ไอเท็ม บาย ไอเท็ม” หรือการบริหารแบบหน่วยต่อหน่วย คือให้แฟรนไชส์ซี่แต่ละแห่งกำหนดนโยบายของตัวเอง ด้วยการสำรวจความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ โดยมีจุดขายอยู่ที่ความสะดวกสบาย และรวดเร็วเป็นหลัก เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา และตอบสนองความต้องการของสังคมผู้สูงอายุ ที่ต้องการความเรียบง่าย โดยใช้สินค้าที่พัฒนาขึ้นเอง และสินค้าพรีเมี่ยม 60% อีก 40%เป็นสินค้าแบรนด์เนม ซึ่งนโยบายนี้ช่วยกระตุ้นยอดขายให้ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น เจแปน มียอดขายคิดเป็น 38% ของมูลค่ารวมในภาคธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดซึ่งมีมูลค่าใกล้เคียง 10 ล้านล้านเยน ด้าน นายสุวิทย์ กล่าวว่า การเดินทางมาสำรวจการบริหารร้านธุรกิจค้าปลีกครั้งนี้ เพื่อศึกษานโยบายในการปรับตัวของร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น เจแปน ว่าใช้วิธีใดในการปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่น และตอบสนองความต้องการของลูกค้า จนก้าวขึ้นสู่ความเป็นเบอร์หนึ่ง ในวงการธุรกิจค้าปลีกของญี่ปุ่น รวมทั้งเพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับใช้กับร้านค้าที่มีอยู่และกำลังจะเปิดตัวขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานอกจากบริษัทฯ จะนำแนวคิดการบริหารแบบ “ไอเท็ม บาย ไอเท็ม” มาปรับใช้โดยเน้นให้ความสำคัญแก่สินค้าที่วางขาย ซึ่งนอกจากจะต้องเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่แล้ว ยังต้องอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ปัจจุบันสินค้าและบริการในร้าน 73% เป็นสินค้าบริโภค 10% เป็นการบริการ ส่วนที่เหลือเป็นสินค้าอุปโภค ซึ่งมองว่าแนวโน้มในการขยายสาขายังเติบโตได้อีก ขึ้นอยู่กับทำเล อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นปีละ 500 สาขา คาดว่าสิ้นปี 56 จะเพิ่มเป็น 7,500 สาขา นอกจากนี้ยังมีนโยบายปลูกจิตสำนึกให้ลูกค้าและพนักงาน ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับหน่วยงานราชการ และพันธมิตร ภายใต้โครงการ 7 โก กรีน แบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ระยะ คือ 1. ลดการใช้ถุงพลาสติก 2. ร้านประหยัดพลังงาน 3. กรีน โลจิสติกส์ และ 4. กรีน โปรดักส์ หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการทำธุรกิจค้าปลีก และร้านค้าสะดวกซื้อ ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรง จำเป็นต้องมีสินค้าจำเป็นที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในราคายุติธรรม ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การนำระบบโลจิสติกส์เข้ามาใช้ และการนำนวัตกรรมการทำธุรกิจค้าปลีกใหม่ ๆ ตลอดเวลา. มานะ กัญจนะวโรดม

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เจาะกลยุทธ์บริหารร้าน 7-11แดนซากุระ

Page 1437 of 1552:« First« 1434 1435 1436 1437 1438 1439 1440 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file