shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

โอกาสภาพยนตร์ไทยในเออีซี – เออีซีกับม.หอการค้าไทย

ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 58 วงการธุรกิจแผ่นฟิล์มถือเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ถูกเปิดกว้างให้แข่งขันกันอย่างเสรี ซึ่งน่าสนใจว่า อนาคตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย จะได้รับผลดี หรือเสีย และเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าไปอย่างไร หลังปี 58 ดร.อรดล แก้วประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของหนังไทยหรือภาพยนตร์ไทยภายใต้เออีซี ในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทางเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ว่า ปัจจุบันวงการภาพยนตร์ไทย มีการพัฒนาจากช่วง 10 กว่าปีก่อนมาก ทั้งตัวบทหนัง โปรดักชั่น รวมถึงธุรกิจโรงภาพยนตร์ ซึ่งหลายเรื่องก็ประสบความสำเร็จได้โกอินเตอร์ไปต่างประเทศ แต่หากถามว่าภาพยนตร์ไทยอยู่ในระดับใดในอาเซียน ต้องบอกว่ามีหลายส่วน เพราะถ้าเป็นเฉพาะตัวภาพยนตร์ ไทย…ยังอยู่ที่ 3 ตามหลังฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เนื่องจากภาพยนตร์ไทยมีข้อจำกัดด้านภาษา การสื่อสารทางวัฒนธรรม ทำให้มีตลาดจำกัดแค่คนไทย 60 ล้านคน แตกต่างกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่บทส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษทำให้สื่อสารไปต่างประเทศได้ง่าย แต่หากพูดในแง่การผลิต โปรดักชั่น หรือโรงภาพยนตร์ ของไทยถือว่าก้าวหน้าไปมาก สู้ได้ไม่เป็นสองรองใครในอาเซียน อย่างไรก็ตาม หลังเปิดเสรีอาเซียน การแข่งขันในธุรกิจภาพยนตร์คงมีมากขึ้น ทั้งตลาดในอาเซียน หรือภาพยนตร์จากอาเซียนที่ออกไปขายในต่างแดน โดยไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัว เพราะแม้มีจุดเด่นจากบทที่หลากหลาย ทั้งภาพยนตร์รัก ผี หรือ ตลก และมีดาราโด่งดังแฟนคลับทั่วอาเซียน แต่ยังมีจุดอ่อนเรื่องภาษา และความสดใหม่ ที่เป็นรองประเทศเพื่อนบ้าน พม่า ลาว ที่ทำให้น่าสนใจมากกว่า ดังนั้นคนทำภาพยนตร์ไทยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ เช่น การหันมาทำหนังร่วมทุนกับชาติในอาเซียนเพิ่มขึ้น เช่น เรื่อง “สบายดีหลวงพระบาง” ที่ใช้พระเอกคนไทย นางเอกคนลาว ซึ่งทำให้ขายได้ 2 ประเทศ และในอนาคตหากร่วมมือกัน 3-4 ชาติ จับมือกับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ยิ่งทำให้น่าสนใจและเปิดตลาดได้กว้างขึ้น นอกจากนี้ควรปรับบทให้มี 2 ภาษาเพื่อให้ง่ายต่อการทำตลาด รวมถึงควรใส่มุมมองในแง่ของธุรกิจเข้าไปผสมด้วย เพราะภาพยนตร์เป็นศิลปะที่ใช้ทุนสูง จะมองแค่ศิลปะอย่างเดียวคงไม่ได้ ตลอดจนควรหาช่องทางสร้างรายได้อื่น นอกจากขายตั๋ว เพราะระยะหลังรายได้จากส่วนนี้มีแต่ลดลงเรื่อย ๆ ส่วนในแง่การรวมตัวกับเอกชนของคนทำภาพยนตร์ในไทย ในนามสมาคม หรือสมาพันธ์ถือว่ามีความแข็งแกร่ง แต่ยังขาดเงินทุน และโอกาสการสนับสนุนไปโชว์ยังต่างแดนอยู่ โดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหม่ หรือภาพยนตร์คุณภาพ ที่ยังมีโอกาสไปขายต่างแดนได้น้อย ทั้งที่ภาพยนตร์ไทยมีคุณภาพดีหลายเรื่อง เรื่องนี้…ถือว่าสำคัญที่ภาครัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเพื่อให้ขับเคลื่อนมากกว่าเพียงแค่ให้เงินสนับสนุนอย่างเดียว เช่น การนำภาพยนตร์ไทยทุกประเภทไปประชาสัมพันธ์ ไปเปิดตลาด ตามเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในประเทศต่าง ๆ โดยไม่เลือกเฉพาะค่ายใหญ่ หรือการหาช่องทางฉายภาพยนตร์ให้มากขึ้น เพราะปัญหาใหญ่ในเวลานี้คือ…พอคนสร้างภาพยนตร์เสร็จกลับไม่มีเวทีให้ฉาย เนื่องจากระบบโรงภาพยนตร์ในไทย เหลือรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ทำให้ภาพยนตร์ฟอร์มเล็ก หรือประเภทอาร์ตไม่มีเวทีให้แสดง ขณะเดียวกันภาครัฐจำเป็นต้องส่งเสริมการหารายได้อื่นในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เช่น การใช้สถานที่ในไทยเป็นฉากถ่ายทำ รวมถึงธุรกิจโปรดักชั่นต่าง ๆ เพราะคนไทยมีศักยภาพมากแต่ยังขาดการสนับสนุน โดยเฉพาะการแก้ปัญหา ขออนุญาตถ่ายทำ ต้องผ่านหลายหน่วยงานมาก ทำให้ไม่สะดวก ผิดจากต่างประเทศที่รัฐอำนวยความสะดวกให้เต็มที่ เพราะข้อดีนอกจากจะช่วยโปรโมตประเทศ และนำเงินเข้ามาใช้จ่ายในไทยแล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่ายคนทำภาพยนตร์ และถ่ายทอดความรู้ใหม่ช่วยพัฒนาภาพยนตร์ไทยไปในตัวด้วย ธุรกิจภาพยนตร์ในวันนี้…ถือว่ามีความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การขายภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการเผยแพร่วัฒนธรรม ทำให้เกิดการยอมรับประเพณี ภาษา สินค้า การท่องเที่ยว เหมือนกับที่ประสบความสำเร็จในเกาหลี ภาครัฐจึงนิ่งเฉยไม่ได้และควรเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่!

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โอกาสภาพยนตร์ไทยในเออีซี – เออีซีกับม.หอการค้าไทย

Posts related

 














‘ไอซีที’จัดห้องเรียนชุมชนออนไลน์เตรียมพร้อมคนไทยเข้าสู่อาเซียน

กระทรวงไอซีทีอบรมผลิตสื่อและการใช้งานระบบห้องเรียนชุมชนออนไลน์สำหรับอาเซียน หลังใช้ประโยชน์จากห้องเรียนชุมชนออนไลน์ นายสมชาย ใบม่วง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การจัดอบรมการผลิตสื่อและการใช้งานระบบห้องเรียนชุมชนออนไลน์สำหรับอาเซียน (Community e-Classroom) เป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างสังคมเมืองและชนบท รวมทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์หลักของประเทศ ตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ที่ว่า ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (สมาร์ท ไทยแลนด์) และประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาบทเรียน ความรู้ ในรูปแบบของห้องเรียนออนไลน์ และพัฒนาศูนย์รวมในการเรียนการสอนให้สมบูรณ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถขยายวงกว้างเพื่อขยายโอกาสไปยังเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการผลิตหลักสูตรและการใช้ประโยชน์จากห้องเรียนชุมชนออนไลน์ สำหรับจัดกิจกรรมการสอนของครู นักเรียน ผู้นำชุมชน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนต่าง ๆ กลุ่มคนเหล่านั้นได้มีโอกาสในการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมต่อไป การอบรมจะมีถึง 8 พ.ย. 56 ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ไอซีที’จัดห้องเรียนชุมชนออนไลน์เตรียมพร้อมคนไทยเข้าสู่อาเซียน

โรงแรมไทยปรับรับจีน

ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยกว่าร้อยละ 30 คาดว่า ภายใน 3 ปีข้างหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 50 นั่นไม่ใช่การคาดการณ์ที่เกินเลย เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่แห่แหนมาเที่ยวเมืองไทย ตระเวนกระจายตัวอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีภาพยนตร์ Lost in Thailand (แก็งค์ม่วนป่วนไทยแลนด์) เป็นต้นแบบจากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศของชาวจีน (Chinese International Travel Monitor : CITM) ประจำปีเป็นปีที่ 2 โดย Hotels.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์บริการสำรองห้องพักโรงแรมชั้นนำของโลก เปิดเผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกอันมีนัยสำคัญเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเดินทางชาวจีนและแนว ทางที่อุตสาหกรรมโรงแรมทั่วโลกจะต้องปรับตัว ชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศส่วนใหญ่ร้อยละ 96 มีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน ขณะที่ร้อยละ 52 เดินทางไปประเทศอื่น ๆ เพื่อติดต่อธุรกิจหรือเพื่อการศึกษา ในแนวโน้มที่เติบโตขึ้น เกือบ 2 ใน 3 ของนักเดินทางชาวจีนระบุว่า พวกเขาต้องการที่จะเดินทางอย่างอิสระและไม่เป็นหมู่คณะ วิวัฒนาการด้านพฤติกรรมเช่นนี้ได้รับการยืนยันโดยผู้ประกอบการโรงแรมในกลุ่มที่ทำการสำรวจ โดยพวกเขาระบุว่า ปัจจุบันนี้ร้อยละ 70 ของผู้เข้าพักชาวจีนเดินทางอย่างอิสระ เมื่อเทียบกับสัดส่วนการแยกกันเดินทางในปี ค.ศ. 2012 โซวี่ ชาน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Hotels.com ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า CITM ประจำปี ค.ศ. 2013 เผยให้เห็นว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การเดินทางท่องเที่ยวอย่างอิสระ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางชาวจีนส่วนใหญ่ ในขณะที่กระแสความนิยมนี้กำลังแพร่หลาย รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จะต้องนำประเด็นนี้ไปพิจารณาเมื่อมีการกำหนดรูปแบบและขั้นตอนการขอวีซ่า ตัวอย่างเช่น นโยบายวีซ่าระหว่างกันช่วยให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี ค.ศ. 2013 3 ใน 4 (ร้อยละ 75) ของนักเดินทางชาวจีนกล่าวว่าผู้ประกอบการโรงแรมต้องปรับปรุงด้านการสื่อสาร โดยจัดให้มีการแปลเป็นภาษาจีนในส่วนต่าง ๆ เช่น ข้อความต้อนรับ เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ในขณะที่เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 42) กล่าวว่าพวกเขาต้องการให้มีพนักงานที่สื่อสารภาษาจีนกลางได้ในโรงแรมมากกว่านี้ การแนะนำกันแบบปากต่อปากมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเกือบ 1 ใน 3 (ร้อยละ 30) ของนักเดินทางชาวจีนกล่าวว่า พวกเขาเชื่อคำแนะนำจากสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงมากที่สุด รองลงมา คือ เว็บไซต์บริการจองแพ็กเกจท่องเที่ยวเดินทางออนไลน์และเว็บไซต์แสดงความเห็น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โรงแรมไทยปรับรับจีน

Page 1456 of 1552:« First« 1453 1454 1455 1456 1457 1458 1459 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file