shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

คลังลุยออกพันธบัตรไตรมาสแรกปี 58

นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน. ได้แจ้งรายละเอียดการออกพันธบัตรรัฐบาลในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 58 ให้สถาบันการเงินต่างๆ ได้รับทราบ โดยมีวงเงินที่จะออกทั้งหมด 98,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการออกเดือน ต.ค.57 วงเงิน 41,000 ล้านบาท เดือน พ.ย.57 วงเงิน 23,000 ล้านบาท และเดือน ธ.ค.57 อีก 34,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของแผนการบริหารหนี้งบประมาณปี 58ทั้งนี้ พันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นการปรับโครงสร้างหนี้เดิมที่ครบกำหนด รวมทั้งการออกพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงเงินเฟ้อวงเงิน 12,000 ล้านบาท ในเดือน ธ.ค.57 ซึ่งเป็นพันธบัตรทางเลือกที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก “การออกพันธบัตรไตรมาสแรกปีงบประมาณ 58 ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบริหารหนี้งบประมาณปี 58 วงเงินรวมทั้งสิ้น 1.25 ล้านล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินใหม่ 381,000 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เก่า 797,000 ล้านบาท”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คลังลุยออกพันธบัตรไตรมาสแรกปี 58

Posts related

 














ทำทีโออาร์เร่งปรับปรุงสนามบินดอนเมือง

นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับปรุงสนามบินดอนเมืองว่า ทอท.จะเร่งจัดทำทีโออาร์ ให้เสร็จภายใน 1-2 เดือนนี้เพื่อเปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาปรับปรุงโครงการขยายความจุอาคารผู้โดยสารสนามบินดอนเมือง ให้เสร็จเร็วขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเสร็จในเดือนพ.ย. 58 เป็นเสร็จในเดือนส.ค.58 แทนทั้งนี้ในร่างทีโออาร์ที่จะเปิดประมูลใหม่นี้จะมีรายละเอียดการปรับปรุงทั้งสิ้น 23 รายการ ซึ่งส่วนมากเป็นระบบการบริการพื้นฐานที่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย เช่น ระบบไอที คอมพิวเตอร์ ระบบไฟฟ้า บันไดเลื่อน ลิฟท์ หลุมจอดเทียบเครื่องบิน เป็นต้นโดยงบประมาณที่ใช้ จะใช้จากงบส่วนเดิมที่เหลือกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งหากปรับปรุงเสร็จจะทำให้สนามบินดอนเมืองรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มจากปัจจุบัน 18.5 ล้านคน เป็น 30 ล้านคนต่อปีรายงานข่าวแจ้งว่า โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินดอนเมืองขยายความจุผู้โดยสาร จาก 18.5 ล้านคน เป็น 30 ล้านคน ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท. ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.56 โดยมีวงเงินปรับปรุง 3,200 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภค และระบบสื่อสารสารสนเทศ ในส่วนของอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 อาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 5 และอาคารทางเดินเชื่อมด้านทิศใต้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทำทีโออาร์เร่งปรับปรุงสนามบินดอนเมือง

แนะรัฐแก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514

นายวิวัฒน์ชัย อัตถากร  คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยระหว่างการสัมมนาเรื่อง”พลังงานปิโตรเลียมในมิติสิทธิมนุษยชน เพื่อคืนความสุขประชาชน” จัดโดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมว่า  แนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องพลังงาน ในมุมสิทธิมนุษยชน มองว่า รัฐควรแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514  เนื่องจากพ.รบ. ปิโตรฯ ดังกล่าวมีหลายมาตราปิดกั้นประชาชน  ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน  ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดความขัดแย้งในเรื่องพลังงานทุกวันนี้   “การสัมมนาเรื่องพลังงานที่ผ่านมาๆ  มีการพูดถึงแต่ปลายเหตุ ไม่ค่อยได้พูดถึงต้นเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร ในมุมมองของผมในเรื่องต้นตอของมนุษยชน อยากให้มองถึงต้นตอของปัญหาของทุกวันนี้  คือ พ.ร.บ.ปิโตร ฯ  ซึ่งกีดกันการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของประชาชน  รวมทั้งต้องการให้ภาครัฐเข้าถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานมากกว่า  70 % หรือถือครอง 100 % เพื่อให้เกิดความมั่งคงและประโยชน์สูงสุดของประเทศ  และต้องการให้หยุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 โดยให้ฟังเสียงประชาชนก่อน” สำหรับมาตราที่ต้องแก้ไขมากที่สุด คือ มาตรา 23  ที่ระบุว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน การขอสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แบบสัมปทานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งเป็นจุดอ่อน เพราะการที่รัฐให้สัมปทานกับภาคเอกชน ทำให้ประชาชนถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด เพราะใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานของภาครัฐไม่เต็มที่  ต้องการให้ภาครัฐ มองว่า ปิโตรเลียมต้องเป็นของประชาชนถูกต้องที่สุด   นอกจากนี้ยังมีมาตรา 22  เรื่องรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่มากเกินไป ทำให้ถูกยึดโยง คลอบงำโดยนักการเมืองได้สะดวก  , มาตรา 25 – 26  ระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามสัมปทานมากเกินไป ทำให้ประชาชนเสียเปรียบ  มาตรา 64 ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่า รัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีตามมาตรา 61 ซึ่งต้องการให้ภาครัฐจำกัดการส่งออกปิโตรเลียม  เพื่อให้ใช้พลังงานในประเทศให้เพียงพอ เพราะทุกวันนี้ทางภาครัฐ จะระบุว่า พลังงานในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ     นายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ วิศวกรปิโตรเลียมชำนาญการพิเศษ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ตัวแทนกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า  การสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมของไทย มีขั้นตอนโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมแต่ละแห่ง ก็มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ  ซึ่งการเปิดขุดเจาะสัมปทาน ต้องใช้เวลาในการสำรวจ เพราะการขุดเจาะแต่ละครั้งก็ไม่สามารถระบุได้ว่า จะมีแหล่งพลังงานเท่าไร และที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน จะทำแผนใด ๆ เช่น แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (แผนพีดีพี) และแผนพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน ก็ได้มีการสำรวจความเห็นของประชาชนแต่ละพื้นที่ก่อนอยู่แล้ว    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะรัฐแก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514

Page 148 of 1552:« First« 145 146 147 148 149 150 151 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file