shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ฉลุยแก้หนี้ขสมก.ใช้งบอุดหนุนปี 57 โปะหนี้รถเมล์ฟรี

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายข่ายประจำปีงบประมาณ 57 จากแผนการจัดการหนี้ภาครัฐโครงการชำระหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายการดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน (รถเมล์ฟรี) เป็นแผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการอุดหนุนเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายตามมาตรการรถเมล์ฟรี วงเงิน 1,726 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรวงเงินเพื่อชำระหนี้จำนวนดังกล่าวตั้งแต่ปีงบ 57 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ สำนักบริหารหนี้สาธารณะได้แจ้งว่าคณะกรรมการนโยบายหนี้สาธารณะมีมติในการประชุมฯเห็นควรให้โครงการบริการรถเมล์ฟรีใช้เงินงบประมาณในการดำเนินงาน และสำนักบริหารหนี้สาธารณะจะไม่บรรจุวงเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจสำหรับมาตรการดังกล่าวไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะตั้งแต่ปีงบประมาณ 56 เป็นต้นไป ทั้งนี้สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 57 ให้ ขสมก.ตามแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐเพื่อชำระเงินกู้ชดเชยมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน 1,726 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว และการดำเนินการระยะต่อไป ให้ ขสมก. กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณหารือกันถึงการจัดสรรงบประมาณให้ขสมก.เพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว ไม่ให้เป็นภาระแก่ ขสมก.และช่วยให้มีสภาพคล่องทางการเงิน มีเงินสดจ่ายหมุนเวียนประจำเดือนได้เพียงพอโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายให้บริการของ ขสมก.ในอนาคต

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฉลุยแก้หนี้ขสมก.ใช้งบอุดหนุนปี 57 โปะหนี้รถเมล์ฟรี

Posts related

 














ดันไทยเป็นพ่อค้าคนกลางขายของแข่งสิงคโปร์

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ มีแผนที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ค้าระหว่างประเทศ (เทรดเดอร์)มากขึ้น โดยเป็นคนกลางรับคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ไปจำหน่ายสินค้าในตลาดต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี, โอทอป และผู้ผลิตสินค้าที่มีศักยภาพในการทำตลาดน้อยให้สามารถระบายสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากจะเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมหาศาลเหมือนกับประเทศสิงคโปร์ “กรมฯจะทะยอยการฝึกอบรมผู้ประกอบการที่สนใจการเป็นเทรดเดอร์ ซึ่งอาจจะนำสินค้าที่ผลิตได้เอง หรือนำสินค้าของผู้ผลิตรายอื่น ไปขายไปส่งออก โดยทำตัวเหมือนกับที่สิงคโปร์ทำ” ขณะเดียวกันยังมีแผนที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไทยเป็นรายกลุ่มสินค้า โดยจะโปรโมตผ่านนิตยสาร แม็กกาซีน โทรทัศน์ บิลบอร์ด ในประเทศเป้าหมาย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จัก และสร้างการยอมรับต่อสินค้าไทยและประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยดีขึ้นในสายตาต่างชาติ “ได้ขอให้ทูตพาณิชย์แต่ละประเทศ ไปดูว่าสินค้าไทยที่มีขีดความสามารถในการบุกเจาะตลาด ก็ให้ไปทำประชาสัมพันธ์สินค้าไทยชนิดนั้น ๆ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และโปรโมตผ่านสื่อเฉพาะของสินค้านั้น ๆ เช่น อาหาร ก็จะเน้นหนังสือ นิตยสาร หรือรายการที่เกี่ยวกับอาหาร หรือ อัญมณี สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ก็จะใช้หลักการเดียวกันในการโปรโมต” นอกจากนี้จะให้ความสำคัญกับการทำตลาดแบบออนไลน์ โดยใช้สื่อออนไลน์มาเป็นตัวกลางในการเปิดตลาดให้กับสินค้าไทย เพราะแนวโน้มของโลกได้หันมาซื้อขายสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันไทยสามารถค้าขายออนไลน์ได้แล้วมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งการผลักดันการส่งออกบริการใหม่ ๆ เช่น ดิจิตอล คอนเท็นต์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ เกมส์ เอนิเมชั่น เพลง ละคร และภาพยนตร์ รวมถึงบริการอีเว้นต์ ออแกนไนเซอร์ และโรงเรียนสอนหลักสูตรพิเศษ ซึ่งจะเน้นตลาดอาเซียนเป็นหลัก แล้วสิ้นปีจะต้องติดตามผลว่าเป็นอย่างไร ประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งจะขอใช้เป็นตัวชี้วัดการทำงานด้วย ทั้งนี้ ให้เน้นตลาดอาเซียนเป็นพิเศษ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) นางนันทวัลย์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มการค้าที่แข่งขันกันรุนแรงในตลาดโลก กรมฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งดำเนินการให้ข้อมูลการลงทุนเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือแหล่งทุนให้แก่เอสเอ็มอี สร้างคลัสเตอร์ของผู้ประกอบการไทยที่เข้าไปลงทุนในประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นหน้าด่านในการให้ข้อมูลลงทุน ทำอนุสัญญาภาษีซ้อน สนับสนุนเบี้ยประกันให้กับนักลงทุนขนาดกลางและเล็กในธุรกิจที่มีความเสี่ยง ส่วนระยะยาวต้องปรับโครงสร้างองค์กร เพิ่มบทบาทภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในการเป็นหัวหอกเข้าไปลงทุน รวมทั้งเพิ่มแรงจูงใจทางภาษีให้กับธุรกิจที่ไปลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดันไทยเป็นพ่อค้าคนกลางขายของแข่งสิงคโปร์

ครม.ไฟเขียว1,900 ล้านบาทอุ้มชาวนาอีกรอบ

นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 55/56 ได้ทันในวันที่ 15 ก.ย.56 เป็นกรณีพิเศษ ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอครม. ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเป็นประธาน โดยได้อนุมัติวงเงิน 1,907 ล้านบาท ชดเชยให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการ และเกษตรกรที่มีหนังสือรับรอง จะได้รับการเงินชดเชยตันละ 2,121 บาท รายละไม่เกิน 33 ตัน คิดเป็นปริมาณรวม 899,000 ตัน สำหรับวงเงินชดเชยดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาเห็นว่า เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยกรณีฉุกเฉิน ปี 56 ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัย (ปภ.) ประกาศเมื่อวันที่ 1 ต.ค.56 โดยวงเงินดังกล่าว ได้คำนวณจากค่าพันธุ์ข้าว 536.47 บาทต่อไร่ และค่าปุ๋ย 401.27 บาทต่อไร่ รวมเป็นเงินชดเชย 937.74 บาทต่อไร่ คิดเป็นค่าช่วยเหลือต่อตันเป็นเงิน 2,121 บาท ทั้งนี้ที่ประชุมยังมอบหมายให้คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการจำนำระดับจังหวัด ไปกำกับดูแลการช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอน รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินเยียวยา เพื่อให้ประโยชน์ตกกับเกษตรกรอย่างแท้จริงตามปริมาณผลผลิตจริงที่เกษตรกรนำไปจำหน่าย และไม่เกินปริมาณตามหนังสือรับรองเกษตรกร โดยกำหนดหลักเกณฑ์ เอกสารหลักฐาน วิธีการขอรับเงิน และการจ่ายเงินเยียวยาด้วย อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ ได้แจ้งว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 55/56 ครั้งที่ 2 จากเดิม 2.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นอีก 1.27 ล้านตัน จึงมีผลผลิตส่วนหนึ่งเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 55/56 เพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ 22 ล้านตัน และมีบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำได้เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดหลังสิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ ต่อมาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรในหลายจังหวัดที่ได้รับหนังสือรับรองเกษตรกร ครั้งที่ 2 และคาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อน 15 ก.ย. แต่ไม่สามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการได้ เพราะกระทรวงเกษตรฯ ขอให้เลื่อนการเพาะปลูกและปล่อยน้ำชลประทานล่าช้า รวมถึงเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวในช่วงวันที่ 16-30 ต.ค. โดยขอให้ขยายระยะเวลาจำนำออกไปเป็นสิ้นสุดเดือนพ.ย.56 แต่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาแล้วเห็นว่า เกษตรกรได้ขายผลผลิตไปแล้ว จึงควรให้การช่วยเหลือเป็นค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์ ค่ายาปราบศัตรูพืชตันละ 2,500 บาท ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ปรับลงเหลือตันละ 2,121บาท ให้สอดคล้องอัตราการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยกรณีฉุกเฉินปี 56.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ครม.ไฟเขียว1,900 ล้านบาทอุ้มชาวนาอีกรอบ

Page 1489 of 1552:« First« 1486 1487 1488 1489 1490 1491 1492 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file