shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

การเศรษฐกิจและการเงิน ปี 2557 – โลกการเงิน กับ ดร. เชาว์ เก่งชน

เหลืออีกเพียงสองเดือนก็จะสิ้นปี 2556 แล้ว ซึ่งมาถึงตรงนี้ หลายฝ่ายคงมีโจทย์ที่จะต้องประเมินสถานการณ์สำหรับปีหน้า ผมจึงขออนุญาตสรุปประเด็นเศรษฐกิจ-การเงินหลัก ๆ ที่ประเมินจากข้อมูลที่มีอยู่ ณ วันนี้ ครับ สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ คาดว่า ในปี 2556 นี้ คงจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าประมาณการเดิมเล็กน้อย อันเป็นผลจากประเด็นทางการคลัง ที่นำมาสู่การปิดทำการรัฐบาลบางส่วน เป็นเวลา 16 วันในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในขณะที่สำหรับปีหน้านั้น คาดว่า หากการต่อรองทางการเมืองระหว่างพรรครีพลับลิกันและเดโมแครต ไม่รุนแรงจนนำมาสู่การปิดทำการรัฐบาลอีก หรือนำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้แล้ว เศรษฐกิจสหรัฐก็น่าจะสามารถขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2.0-2.4 คือดีกว่าในปี 2556 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขยับเพดานหนี้ รวมถึงการอนุมัติการใช้จ่ายของรัฐบาล คงจะเป็นไปในลักษณะของการต่ออายุช่วงสั้น ๆ ทีละครั้ง ๆ จนถึงการเลือกตั้งกลางเทอมของสภาคองเกรสในเดือนพฤศจิกายนปีหน้า ทำให้ประเด็นการต่อรองระหว่างสองพรรคดังกล่าว ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญยังคงเป็นการปรับลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน หรือการทำคิวอี ของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งแม้คาดว่า อาจจะเลื่อนออกไปเป็นประมาณเดือนมีนาคม หรือเมษายน ปีหน้า แต่ในที่สุดแล้ว หากสหรัฐไม่ตกหน้าผาทางการคลังและเศรษฐกิจยังคงทยอยฟื้นตัวได้แล้ว การปรับลดคิวอีก็คงจะต้องเกิดขึ้นอยู่ดี ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง ในตลาดเงิน ตลาดทุน รวมถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนต่อเนื่องจากปี 2556 ที่ผ่านมา ส่วนเศรษฐกิจจีนนั้น คาดว่า ในปี 2556 คงจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าเป้าที่ร้อยละ 7.5 ของทางการจีน หลังจากที่อัตราการขยายตัวในไตรมาสที่สามที่เพิ่งจะประกาศออกมา ดีขึ้นกว่าในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งทำให้คลายความกังวลลงไปได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายยังคงมีคำถามเรื่องความสามารถในการแข่งขันของจีน และความมั่นคงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว รวมถึงยังคงต้องติดตามประเด็นสภาพคล่องในระบบการเงิน ตลอดจนประเด็นคุณภาพของสินเชื่อ ส่วนเศรษฐกิจยูโรโซนนั้น แม้ว่าตัวเลขจีดีพีของทั้งปี 2556 จะยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่ก็เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้คาดว่ากลุ่มประเทศยูโรโซน น่าจะสามารถหลุดพ้นจากภาวะถดถอยได้ในปีหน้า อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การที่ธนาคารกลางยุโรป จะทำการประเมินฐานะความแข็งแกร่งของบรรดาสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวน 128 แห่ง โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจากวันนี้ ซึ่งหากสถาบันการเงินใดถูกประเมินว่ามีเงินกองทุนไม่เพียงพอก็จะต้องดำเนินการเพิ่มทุน ในขณะเดียวกัน ทางการยุโรปก็คงจะเดินหน้าจัดตั้งกลไกแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่อ่อนแอ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งยูโรโซน กล่าวคือ มีกระบวนการที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้เพิ่มทุน หรือการปิดกิจการ รวมถึงการคุ้มครองเงินฝาก โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่จะยกระดับการกำกับดูแลสถาบันการเงินในกลุ่มยูโรโซนให้มีความแข็งแกร่ง และได้รับความเชื่อมั่น ทั้งนี้ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่สถาบันการเงินที่อ่อนแอ จะพลอยลากฐานะการคลังของประเทศให้ย่ำแย่ตามไปด้วย เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นกับไอร์แลนด์และสเปน ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา สำหรับประเด็นด้านสภาพคล่องของระบบการเงินไทยนั้น แม้การลดคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐ อาจจะกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นอยู่บ้าง แต่ผมมองว่า คงจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงมากนักต่อสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากสภาพคล่องที่สถาบันการเงินในระบบใช้ในการปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่นั้น มาจากการระดมเงินฝากในประเทศ ไม่ได้มาจากเงินทุนหรือเงินกู้ต่างประเทศ เหมือนกับในช่วงฟองสบู่ก่อนปี 2540 อย่างไรก็ดี จากการที่เศรษฐกิจไทยในปี 2557 น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น เป็นประมาณร้อยละ 4.5 ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้คาดว่า สถาบันการเงินในระบบย่อมจะต้องมีความต้องการสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้การแข่งขันด้านเงินฝาก น่าที่จะยังคงมีอยู่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อประกอบกับความต้องการใช้เงินของโครงการลงทุนภาครัฐ ที่คงจะเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปีหน้า รวมไปถึงสภาพคล่องในตลาดทุน ที่อาจจะลดลงตามการลดการทำคิวอีของสหรัฐแล้ว ระบบการเงินไทยก็คงจะมีสภาพคล่องที่ทยอยตึงตัวขึ้นตามลำดับ แต่ไม่น่าที่จะหวือหวา โดยน่าที่จะยังสามารถรับมือกันได้ครับ. ดร. เชาว์ เก่งชน ck.at.kr@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเศรษฐกิจและการเงิน ปี 2557 – โลกการเงิน กับ ดร. เชาว์ เก่งชน

Posts related

 














เปิดมุมมอง‘ตรรก บุนนาค’บริหารค่าเงินให้ไร้ความเสี่ยง

ในปี 56 นับเป็นปีที่หลายหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการนำเข้า ส่งออก สถาบันการเงิน นักลงทุน ได้มีโอกาสฝึกวิทยายุทธ์ หรือฝึกฝีมือในการบริหารธุรกิจและกิจการอย่างเต็มที่ เพราะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้ามาทดสอบมากมาย เริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ (คิวอี 3) ที่ทำให้เงินไหลบ่าเข้ามาแสวงหากำไรจากอาเซียน รวมถึงไทยส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 28.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากต้นปีที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จนผู้ส่งออกถึงกับส่ายหน้าไปตาม ๆ กัน ช่วงนั้นสิ่งที่ทางการ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำได้ดีที่สุดคือ การดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนจนกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ และให้สถาบันการเงินแนะนำให้ผู้ประกอบการนักลงทุนซื้อขายดอลลาร์ล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) รวมไปถึงการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จึงทำให้ผู้ประกอบการสามารถประคองตัวเองไปได้ในช่วงสั้น ๆ หลังจากนั้นในช่วงกลางปีเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานภาคเกษตร และนอกภาคเกษตรดูดีขึ้น จึงเป็นแรงส่งให้ “เบน เบอร์นันเก้” ประธานเฟด เริ่มออกมาส่งสัญญาณจะชะลอคิวอี 3 ในยกแรกปลายปีนี้ และยกเลิกทั้งหมดในกลางปี 57 ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มหวั่นวิตก และถอนเงินออกจากตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตรในภูมิภาคเอเชียและไทยอย่างรวดเร็ว ทำให้ค่าเงินบาทกลับทิศทางทันทีจากแข็งค่าที่ 28.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนลงถึง 3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรืออยู่ที่ 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงเวลานั้นไม่มีใครออกมาคาดการณ์ได้ว่าสุดท้ายค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในทิศทางใด ในมุมมองของนายแบงก์ อย่าง ’ตรรก บุนนาค” ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้สัมภาษณ์กับ “ทีมเศรษฐกิจ” เดลินิวส์ ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 3-4% มีแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทเป็นหลัก และการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกยังชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องติดตามข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายของสหรัฐจะต่อเนื่องหรือไม่ เพราะจะมีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงดอกเบี้ยด้วย หลังเปลี่ยนประธานเฟดคนใหม่เป็น “เจเน็ต เยลเลน” ’หากเยลเลนเข้ามาและต่อนโยบายเดิม นั่นเท่ากับว่าคิวอีจะเริ่มทยอยออกในปีหน้าเป็นต้นไป นักลงทุนจะเริ่มถอนเงินออกเพื่อกลับประเทศ ซึ่งอาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงินบ้าง ค่าเงินบาทอาจอ่อนค่าลงมากกว่านี้ เช่นมาอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ต้องดูประเทศอื่น ๆ เช่น เอเชีย ยุโรป หรือจีน จะเข้ามาลงทุนในไทยหรือไม่ เพราะถ้าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ มีการลงทุน หุ้นต่าง ๆ ยังน่าลงทุนอยู่ นักลงทุนจะเข้ามาซื้ออยู่ดี ความผันผวนอาจไม่มากอย่างที่คิด เพราะทั้งเงินไหลเข้าและไหลออกยังมีความสมดุลกันจึงทำให้ค่าเงินบาทอาจเคลื่อนไหวไม่มากหรือไม่เคลื่อนไหวเลยก็ได้” สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในปัจจุบันและผันผวนค่อนข้างมาก ยืนยันว่าไม่น่าห่วงมากนัก เนื่องจากทางการได้มีการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ขณะที่หากดูในเรื่องของการแข่งขันนั้น ไทยไม่ได้เสียเปรียบแน่นอน เพราะค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ค่อนข้างมาก โดยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าลง 2.14% ขณะที่อินโดนีเซียสูงที่สุดที่ 20.15% อินเดีย 14.28% มาเลเซีย 6.42% ฟิลิปปินส์ 5.92% เวียดนาม 1.43% และสิงคโปร์ 2.6% ขณะที่ผู้ประกอบการเริ่มเข้าใจตลาดมากขึ้น ไม่ได้นิ่งนอนใจ สะท้อนจากผู้ประกอบการนิยมทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 50% ประกอบกับสถาบันการเงินแนะนำให้ผู้ประกอบการรับมือและเข้าใจตลาดว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เช่น กลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็น ปตท. บางจาก ที่เป็นผู้ถือดอลลาร์สหรัฐรายใหญ่ ได้สั่งซื้อน้ำมันจำนวนมาก ขณะที่อีกด้านหนึ่งมีนักลงทุนที่เข้ามาซื้อกิจการในไทย เช่น สถาบันการเงินญี่ปุ่นที่เข้ามาซื้อกิจการของธนาคารกรุงศรีฯ เป็นต้น ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินไหลเข้าและออก ค่าเงินบาทจึงเคลื่อนไหวไม่มากนัก มาจนถึงบรรทัดนี้…แม้หลายฝ่ายบอกว่าค่าเงินที่เหมาะสมกับไทยจะอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่เชื่อได้แน่ว่าทางการไม่ยอมให้ค่าเงินบาทกลับไปเป็นเป้านิ่งเพื่อให้นักเก็งกำไรโจมตีค่าเงินได้ง่าย ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือ การปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ขณะที่นักลงทุนมีสิทธิเลือกเสี่ยงโดยปล่อยให้การค้าขายขึ้นอยู่กับค่าเงินในแต่ละจังหวะ หรือเบรกความหายนะด้วยการทำประกันความเสี่ยงของค่าเงินไว้ล่วงหน้า เพื่อรับเงินได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยคงขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน แต่สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ การติดตามสถานการณ์รอบด้านทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั่นเอง!. ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดมุมมอง‘ตรรก บุนนาค’บริหารค่าเงินให้ไร้ความเสี่ยง

ปิ้งไอเดียให้คลังเช่าที่รถไฟทำคอมเพล็กซ์

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากได้ตรวจเยี่ยมโรงงานมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แล้ว ได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.เตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาระบบรางภายใต้ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยต้องจัดเตรียมทั้งในเรื่องของหัวรถจักร หัวลาก โบกี้ ตู้สินค้า แคร่ รวมถึงการพัฒนาบุลลากรทางให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต และการย้ายโรงงานมักกะสันออกไปอยู่ที่แก่งคอย เพื่อเปิดทางให้กระทรวงการคลังเข้ามาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เบื้องต้นจะให้กระทรวงการคลังหักภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่กว่า 80,000 ล้านบาท ออกไปจากค่าเช่าใช้พื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้จัดซื้อรถโดยสารแล้ว 115 คัน แต่ละคันมี 13 ตู้ ในอนาคตจะต้องจัดให้ครบ 430 คัน ภายในปี 66 ส่วนหัวรถจักร ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดซื้อ 77 คัน และจะซื้อเพิ่มเป็น 218 คัน รวมทั้งต้องจัดซื้อรถดีเซลรางให้ได้ 206 คัน และรถสินค้าให้ได้ 3,444 คัน เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ในอนาคต ถึงปี 67 และในส่วนของพนักงาน ต้องเตรียมไว้รองรับคู่ขนานกันไปด้วย เพราะเมื่อโครงการภายใต้ พรบ. 2 ล้านล้านบาทแล้วเสร็จ รถไฟทางคู่เสร็จทุกสาย ร.ฟ.ท.ต้องพร้อมขนส่งสินค้าและบริการประชาชนได้ทันที ปัจจุบันร.ฟ.ท.มีเป้าหมายรายได้จากค่าโดยสารปีละ 3,800 ล้านบาท และรายได้จากการขนส่งสินค้าปีละ 1,759 ล้านบาท แต่ปี 67 จะเพิ่มรายได้จากค่าโดยสารเป็น 8,790 ล้านบาท และมีรายได้จากการขนส่งสินค้าเป็น 10,685 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ขนส่งสินค้าได้ปีละ 11 ล้านตัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านตัน เมื่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายต่าง ๆ แล้วเสร็จในอีก 7 ปีข้างหน้า ส่วนจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 70-80 ล้านคน จากปัจจุบัน 35 ล้านคน โดย ร.ฟ.ท.ต้องนำระบบการตรวจสอบมาตราฐานของโรงงาน (ไอเอสโอ) มาใช้กับโรงงานมักกสันด้วย จากปัจจุบันที่ไม่ได้นำระบบดังกล่าวมาใช้ นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับพนักงานของ ร.ฟ.ท.ที่ขาดอยู่ 2,000 ตำแหน่งนั้น จะให้เริ่มทยอยรับเข้ามา โดยเฉพาะบุคคลากรที่มีความรู้ด้านรถไฟ ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนรถไฟ ได้หยุดรับนักเรียนมา 6 ปี และเพิ่งเปิดรับเมื่อปีที่แล้ว 180 คน ก็ให้ผลิตบุคคลากรด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ด้วย ซึ่งร.ฟ.ท.ต้องวางแผนการดำเนินงานให้ดีเพื่อให้มีความพร้อมมากที่สุด ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้หารือกับกระทรวงการคลังมาแล้วในรอบแรก เบื้องต้นกำหนดได้พิจารณาให้กระทรวงการคลังเข้ามาดูแลทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. 2 แปลง คือ มักกะสัน 497 ไร่ และริมแม่น้ำเจ้าพระยา 277 ไร่ แบ่งเป็นสัญญาดำเนินการ 50+50 ปี โดย ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้รับค่าเช่าจากกระทรวงการคลังอย่างเดียว ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น กระทรวงการคลังจะดำเนินการเอง โดยกระทรวงการคลังเห็นด้วย และจะหารือร่วมกันให้ได้ข้อสรุปไม่ 1 เดือน “ที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังไม่ได้จ่ายชดเชยบริการรถไฟฟรีให้ ร.ฟ.ท. 40,000 ล้านบาท ก็ต้องมาพิจารณาด้วยว่าจะต้องจ่ายด้วยวิธีไหน ส่วนการเตรียมพร้อมด้สบบุคลากรนั้น ที่ผ่านมาได้เริ่มทยอยรับพนักงานเพิ่มแล้ว”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปิ้งไอเดียให้คลังเช่าที่รถไฟทำคอมเพล็กซ์

Page 1492 of 1552:« First« 1489 1490 1491 1492 1493 1494 1495 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file