shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

โชว์ความพร้อม12อุตสาหกรรม

นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ต.ค. – 9 พ.ย. 56 กระทรวงพาณิชย์จะจัดงาน“อนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 58 ให้กับภาคประชาชน ผู้ประกอบการ และภาคธุรกิจ ที่จะต้องเตรียมรับมือกับความท้าทายในด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุน และแรงงานมีฝีมือ ทั้งนี้ ภายในงาน จะจัดแสดงความพร้อมของอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทย 12 กลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) ได้แก่ โลจิสติกส์, อาหาร, เกษตร, ยางพารา, รถยนต์, แฟชั่น, ต่อเรือ, พลังงานทดแทน, การขนส่ง, ก่อสร้าง, สปา และสิ่งพิมพ์และหีบห่อ โดยทั้ง 12 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ ไทยมีขีดความสามารถและมีโอกาสในการเพิ่มความร่วมมือและเชื่อมโยงเข้ากับประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยยังคงความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียนหลังจากเปิดเออีซีแล้ว สำหรับเป้าหมายในการพัฒนาทั้ง 12 กลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ในกลุ่มโลจิสติกส์ ตั้งเป้าหมายเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน การเชื่อมโยงโครงข่ายถนนเชื่อมต่อในอาเซียน และการเชื่อมโยงทางทะเลในอาเซียน, กลุ่มสุขภาพและความงาม ตั้งเป้าหมายผลักดันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และการเชื่อมโยงกับเออีซี โดยให้สอดรับกับนโยบายเมดิคอล ฮับ ซึ่งไทยมีจุดแข็งอยู่แล้ว, คลัสเตอร์ท่องเที่ยว ตั้งเป้าหมายการเข้าถึง และเชื่อมโยงภายในอาเซียน โดยจะผนวกรวมกับธุรกิจการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ (ไมซ์) เพราะไทยมีนโยบายพัฒนาการท่องเที่ยวผ่านรูปแบบการประชุม สัมมนา และนิทรรศการ และคาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนเข้ามาท่องเที่ยวไทยมากขึ้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โชว์ความพร้อม12อุตสาหกรรม

Posts related

 














ศึกษายกเครื่องร้านถูกใจให้อยู่รอดและยั่งยืน

นางสาวนพพร ลิ้นทอง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำการศึกษา วิจัยและพัฒนาการประกอบธุรกิจร้านค้าถูกใจว่าจะพัฒนาอย่างไร เพื่อให้การทำธุรกิจยั่งยืนและอยู่รอดได้หลังเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58โดยจะคัดเลือกร้านถูกใจ 50 ร้านค้า จากจำนวน 6,000 ร้านค้า เป็นต้นแบบการพัฒนา(โมเดล) เพื่อให้เป็นร้านค้าที่ยั่งยืน ซึ่งจะเริ่มโครงการพัฒนาตั้งแต่เดือนม.ค. 57 และภายในเดือนส.ค. 57 จะสามารถผลักดันให้ร้านถูกใจทั้ง 6,000 ร้าน ได้รับการพัฒนาจนแข่งขันได้ “การดูแลร้านถูกใจ จะไม่มีงบสนับสนุน แต่จะอบรมพัฒนาให้ความรู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ร้านค้าทั่วไปเลี้ยงตัวเองและอยู่รอด เพื่อรองรับการแข่งขันค้าปลีกที่จะรุนแรงขึ้นหลังเปิดเออีซี ซึ่งจะใช้งบประมาณที่เหลือประมาณ 100 ล้านบาทในการพัฒนาร้านถูกใจที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ ส่วนการเพิ่มปริมาณร้านถูกใจนั้น คงไม่ใช่เป้าหมายหลักแล้ว” แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าจัดทำข้าวถุงรวมใจนั้น ขณะนี้องค์การคลังสินค้า (อคส.) อยู่ระหว่างคัดเลือกผู้ปรับปรุงและบรรจุหีบห่อ และตรวจสอบคุณสมบัติผู้กระจายข้าวถุงรวมใจ ซึ่งอาจไม่ทันกำหนดเดิมที่จะกระจายข้าวถุงรวมใจออกสู่ท้องตลาดในวันที่ 28 ต.ค.นี้ ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดจัด ทำร้านค้าอาหารจานด่วนราคา 15 บาท กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดส่งรายชื่อร้านอาหารในเครือข่ายธงฟ้าเพื่อให้เจ้า ของโครงการได้ต่อยอดว่าจะเจรจาอย่างไรให้ร้านค้าเหล่านั้นเพิ่มเมนูราคา ประหยัด หรือลดราคาลงจากที่ขายอยู่ 30-35 บาท แต่ยอมรับว่าอาจทำได้ยากในบางพื้นที่ เพราะมีต้นทุนสถานที่สูง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศึกษายกเครื่องร้านถูกใจให้อยู่รอดและยั่งยืน

เอสเอ็มอีผลิตเสื้อผ้าเล็งร่วมทุนแบรนด์ดังหาทางรอด

นายถาวร กนกวลีวงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมฯมีนโยบายที่จะผลักดันให้ผู้ผลิตเสื้อผ้าเพิ่มมูลค่าเพิ่มในการ ส่งออกสินค้าโดยการร่วมทุนกับแบรนด์เสื้อผ้าระดับโลกหรือการซื้อใบอนุญาติ เจ้าของลิขสิทธ์เพื่อทำตลาดสินค้าร่วมกันเจ้าของสินค้าแทนการรับจ้างการ ผลิตอย่างเดียว เนื่องจากจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และลดปัญหาเจ้าของแบรนด์กดราคาคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) เบื้องต้นหลายรายเริ่มร่วมทุนกับแบรนด์จากญี่ปุ่น ยุโรป และ สหรัฐฯแล้ว“การทำธุรกิจต้องมีการปรับเปลื่ยนตามความเหมาะสมซึ่งการรับจ้างการผลิตอย่างเดียวค่อยๆลดลง ดังนั้นการสร้างแบรนด์ตนเองและร่วมทุนกับแบรนด์ดังๆ ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการได้ แต่การร่วมทุนกับแบรนด์ดังๆ นั้นเจ้าของแบรนด์คงต้องดูปรสิทธิภาพของผู้ผลิตสินค้าด้วย เพราะหากไม่มีศักยภาพเพียงพอก็จะไม่ร่วมทุน เนื่องจากเป็นห่วงว่าอาจทำให้แบรนด์สินค้าตกต่ำลง”ขณะเดียวกันทางสมาคมได้ขอความร่วมมือจากภาครัฐโดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้า ระหว่างประเทศในการช่วยสร้างแบรนด์เสื้อผ้าแก่สมาชิก รวมถึงการช่วยหาตลาดและการสร้างความอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไทยในการ เข้าไปทำการค้าและการลงทุนในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานเพียงพอและมีค่าจ้างแรงงานไม่ถูกมากนัก เพื่อการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศไทยนายวัลลภ วิตนากรที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการผลิตเสื้อผ้าและชุดกีฬาที่เป็นโรงงานห้องแถวจำนวนมากทะยอยปิดกิจการเนื่องจากลูกค้าได้ปรับลดหรือยกเลิกคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) แล้วหันไปจ้างโรงงานขนาดใหญ่แทน เพราะว่าผู้ผลิตรายใหญ่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพมากกว่าทั้งเนื้อผ้า เนื้องาน และความเรียบร้อยด้านต่างๆ แม้ว่าราคาสินค้าจะแพงกว่าเฉลี่ยตัวละ 50 บาทก็ตาม“เห็นได้ชัดเจนการการผลิตชุดฟุตบอลของสโมสรตามลีกต่างๆในประเทศไทยที่มีออเดอร์รวมกันจำนวนมากบางทีมสั่งครั้งละ 4-5 หมื่นตัวต่อปีเดิมเคยสั่งจากโรงงานห้องแถว แต่ระยะหลังแฟนบอลระบุว่าเสื้อผ้าไม่ดีบ้าง หรือนักฟุตบอลบอกว่าใส่แล้วร้อนผิดปกติ ส่งผลให้เจ้าของลิขสิทธิ์หันมาสั่งโรงงานที่มีศักยภาพมากขึ้น จนผู้ผลิตบางรายมีออเดอร์ทะลักแต่ส่วนใหญ่ก็รับไว้หมดเพราะสามารถทดแทนออเดอร์ส่งออกที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอสเอ็มอีผลิตเสื้อผ้าเล็งร่วมทุนแบรนด์ดังหาทางรอด

Page 1497 of 1552:« First« 1494 1495 1496 1497 1498 1499 1500 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file