shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ราคาทองคำ 25 ก.ย.57 ปรับครั้งที่ 1 ลด 100 บาท

วันที่ 25ก.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา09.20น. เว็บไซต์สมาคมค้าทองคำ ประกาศปรับราคาทองคำในประเทศครั้งที่ 1 ลด 100 บาท รูปพรรณขายบาทละ19,100 บาท รับซื้อ 18,328.44 บาท ทองแท่งขาย118,700 บาท รับซื้อ18,600บาทราคาทองคำและครั้งที่ปรับราคาทองคำปรับครั้งที่ 1 ลด 100 บาท รูปพรรณขายบาทละ19,100 บาท รับซื้อ 18,328.44 บาท ทองแท่งขาย118,700 บาท รับซื้อ18,600บาท เวลา 09.20น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ราคาทองคำ 25 ก.ย.57 ปรับครั้งที่ 1 ลด 100 บาท

Posts related

 














การแย่งชิงทรัพยากรปิโตรเลียม – พลังงานรอบทิศ

เมืองไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกันแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ในขณะนี้คือ การแย่งใช้ก๊าซแอลพีจี ระหว่างภาคประชาชนกับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ภาคประชาชนนำโดยแกนนำเอ็นจีโอ และนักวิชาการภาคประชาชนกลุ่มหนึ่ง ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรก๊าซแอลพีจีที่ได้จากโรงแยกก๊าซให้ประชาชนได้ใช้ก่อน ถ้ามีเหลือค่อยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ ถ้าไม่เหลือก็ให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปนำเข้าจากต่างประเทศเอง ไม่ต้องมาเป็นภาระของกองทุนน้ำมันฯ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องมาขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีกับประชาชน ฟังดูน่าเชื่อถือ ประชาชนก็ชอบ เพราะไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

ส่วนภาคผู้ประกอบการ กระทรวงพลังงาน และนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง ก็บอกว่าก๊าซในอ่าวไทยเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถนำมาแยกออกเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานปิโตรเคมีเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ ถ้าเอาไปเผาเป็นแอลพีจีให้ประชาชนใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด เป็น การทำลายคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างน่าเสียดาย

อีกประการหนึ่ง การสร้างโรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมีนั้นเป็นสิ่งที่พัฒนามาด้วยกันและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาอุตสาห กรรมชายฝั่งตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ดังนั้นการไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้ไปใช้ก๊าซนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบ ย่อมเป็นการทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 680,000 ล้านบาท ในทางอ้อมนั่นเอง เพราะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยที่สร้างขึ้นมาในระยะแรกนั้น เป็นโรงงานประเภท Gas-based ไม่ใช่ Liquid-based ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบได้ทั้ง 2 ชนิด คือจะใช้แอลพีจี หรือ แนฟทา เป็นวัตถุดิบก็ได้ (ถ้าแอลพีจีแพงก็เปลี่ยนไปใช้แนฟทาได้ แต่โรงงานประเภท Gas-based ทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าต้องนำเข้าแอลพีจีในราคาแพงมาเป็นวัตถุดิบก็เจ๊งลูกเดียว หรือไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นที่เขามีวัตถุดิบในราคาถูกกว่าได้)

นอกจากนั้นถึงแม้จะไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้แอลพีจีนำเข้าได้สำเร็จ ตามทึ่แกนนำภาคประชาชนบางคนต้องการ แอลพีจีที่ประชาชนใช้ก็ยังต้องขึ้นราคาอยู่ดี เพราะราคาที่ขายภาคประชาชนหน้าโรงแยกก๊าซอยู่ทุกวันนี้ (333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) เป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนของโรงแยกก๊าซ ซึ่งอยู่ที่ 550 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่ทุกวันนี้ที่โรงแยกก๊าซเขายังอยู่ได้ก็เพราะมีส่วนที่ขายให้อุตสาห กรรมปิโตรเคมีในราคาสูง (590 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) มาถัวเฉลี่ย ทำให้ยังไม่ถึงกับขาดทุน แต่ก็ไม่คุ้มกับการลงทุน ดังนั้นการขับไสไล่ส่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้ไม่มีใครมาถัวเฉลี่ยราคาก๊าซกับภาคประชาชนอีกต่อไป

เห็นได้ว่า ข้อเสนอการแย่งชิงก๊าซแอลพีจีให้ประชาชนใช้ก่อน แล้วไล่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซนำเข้า นอกจากจะเป็นการทำลายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยแล้ว ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาก๊าซขึ้นราคาอย่างที่เขาโฆษณาให้ประชาชนเชื่อแต่อย่างใด ดังนั้นการแบ่งสันปันส่วนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างคุ้มค่า หรือกลัวว่าถ้าทำอย่างนั้นแล้ว จะไม่มีจุดขายไปปลุกกระแสสังคมให้คนมากดไลค์!!!.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การแย่งชิงทรัพยากรปิโตรเลียม – พลังงานรอบทิศ

แผนเลิกอาชีพชาวนาเสร็จสิ้นเดือนนี้

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริหารวิชาการ ม.รังสิต กล่าวเตือนรัฐบาลว่าหากไม่เร่งแก้ไขปัญหาสินค้าราคาเกษตรตกต่ำโดยเร็ว จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ของ คสช.และปัญหาพลังงานเป็นระเบิดเวลาลูกที่สอง หากไม่ปล่อยลอยตัวราคาพลังงาน ขณะนี้ปัญหาสะสมเหมือนสโนวส์บอล ทั้งข้าวและยางที่ยังไม่มีทิศทาง พร้อมระเบิดได้ตลอดเวลา เพราะสินค้าเกษตรคือตัวจักรสำคัญสุดในการฟื้นเศรษฐกิจจากระดับรากหญ้า จะทำให้เห็นภาพเศรษฐกิจของประเทศชัดเจนว่าฟื้นตัวแท้จริงหรือไม่ และถ้ารัฐบาลไม่ยอมแทรกแซงราคาต่อสักระยะ เกษตรกรจะเดือดร้อนหนักเพราะส่วนใหญ่เป็นหนี้สินอยู่แล้ว รายงานข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการกำกับติดตามแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต57/58 ได้สรุปผลการดำเนินการทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการช่วยเหลือลดต้นทุนการผลิต 432 บาทต่อไร่ ในส่วนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง และค่าเมล็ดพันธ์ุ ซึ่งได้ติดตามประเมินผลโครงการที่มีเป้าหมายช่วยเหลือชาวนา เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมถึงการปล่อยสินเชื่อ ขณะนี้การประเมินผลยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เพราะฤดูนาปีเริ่มปลูก 1 ก.ค. และจะเก็บเกี่ยวในเดือน ต.ค.นี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงมหาดไทย ได้เข้าประกาศราคาค่าเช่านาที่เป็นราคาเหมาะสมให้ทุกพื้นที่แล้ว ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้ในราคาไร่ละ 800 บาท จากเดิมที่เจ้าของเก็บค่าเช่า 1-2 พันบาทต่อไร่ ทั้งนี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ร่วมในการกำหนดเขตปลูกพืชเศรษฐกิจ หรือโซนนิ่ง ที่มีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วางยุทธศาสตร์ส่งเสริมพืช 4 ชนิด เช่นข้าวโพด อ้อย มันสำหลัง และปาล์ม และตั้งคณะทำงานกำกับดูแลในสินค้าเกษตรแต่ละชนิดเพื่อกำหนดการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นคำสั่งหลักของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้เร่งสร้างความสมดุลให้กับภาคเกษตร โดยใช้แนวทางการทำงานให้เกษตรกรทุกราย เข้าสู่การปรับโครงสร้างการผลิต ซึ่งเป้าหมายแรกคือเกษตรกรชาวนาทั้งหมด ให้ปรับเปลี่ยนอาชีพ ทั้งในพื้นที่นอกเขตและในเขตชลประทาน โดยใช้โซนนิ่งมากำหนดเขตปลูกพืช เช่นในพื้นที่ที่ปลูกข้าวมาต่อเนื่อง แต่หากสภาพดิน ปริมาณน้ำ สภาพอากาศ ไม่เหมาะสม ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่รัฐส่งเสริมแทน ซึ่งจะเป็นพืชมีปริมาณผลผลิตที่ดีกว่าทำนา โดยภายในสิ้นเดือนนี้จะทำแผนยุทธศาสตร์แล้วเสร็จ.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แผนเลิกอาชีพชาวนาเสร็จสิ้นเดือนนี้

Page 152 of 1552:« First« 149 150 151 152 153 154 155 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file