shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

"ยิ่งลักษณ์" สั่งคลัง-พาณิชย์เร่งกู้ค้าชายแดน

“ยิ่งลักษณ์”สั่งคลัง-พาณิชย์เดินหน้าการค้าชายแดน หลังตัวเลขต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 1 ล้านล้านบาทในปีนี้ เหลือเพียง 600,000 ล้านบาท เล็งคุยพม่าตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เมื่อวันที่ 16 ต.ค. นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานกำกับบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน  ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งหาแนวทางส่งเสริมการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น และอยากให้หาแนวทางการส่งเสริมอื่นที่ไม่ใช่แค่การเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการไปเจรจากับรัฐบาลเมียนม่าร์ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น เขตปลอดภาษี เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนของไทยมีเพียง 60,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1 ล้านล้านบาทในสิ้นปี 56 นี้ “การดูแลสินค้าชายแดนในปีที่แล้วมีมูลค่าประมาณ 910,000 ล้านบาท และตั้งเป้าว่าในปีนี้จะเพิ่มอยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันยังทำได้เพียง 600,000 กว่าล้านบาท ซึ่งการค้าชายแดนคิดเป็น 6.1% ของการค้าทั้งหมด นายกฯ จึงต้องการสนับสนุนการค้าแนวชายแดนมากขึ้นในบางพื้นที่ที่เช่นแม่สาย ท่าขี้เหล็ก หรือเมียวดี แม่สอด อยากให้มีการหรือกับพม่าพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นได้หรือไม่” นายธีรัตถ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับราคาสินค้าทางการเกษตร โดยได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ไปหาแนวทางจัดการผลผลิตทางการเกษตรครบวงจร เช่น ให้กระทรวงพาณิชย์แต่งตั้งผู้ติดตามดูแลสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับค่าครองชีพของประชาชนรายชนิด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : "ยิ่งลักษณ์" สั่งคลัง-พาณิชย์เร่งกู้ค้าชายแดน

Posts related

 














ถล่มนโยบายจำนำข้าว 2 ปี ขาดทุนยับ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 56  องค์กรต่อต้านการคอร์รัปชั่น (ประเทศ ไทย) ร่วมกับกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกันจัดงานเสวนามหากาพย์จำนำข้าวสู่มหกรรมกอบกู้สุจริต “ความรับผิดชอบทางจริยธรรมเป็นความจำ เป็นในการพัฒนาประเทศ” เพื่อให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการบริหารของรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายแก่ประเทศ โดยมีนักวิชาการ ตัวแทนชาวนา ผู้ส่งออกข้าว และอดีตรมว.คลัง ร่วมแสดงความคิดเห็น นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)  ประเมินว่า หากรัฐบาลสามารถระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ใน 3 ฤดูกาลแรกของรัฐบาลชุดนี้หมดภายในวันนี้รัฐบาลก็จะขาดทุนในโครงการเพียง 283,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายในราคาตลาดโลก แต่คงเป็นไปได้ที่จะขายหมดตอนนี้  อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลขายหมดภายใน 5 ปีก็จะขาดทุนทางบัญชี 400,000 ล้านบาท “โครงการรับจำนำข้าวครั้งนี้เป็นการทำลายการพัฒนาข้าวของไทยที่ดำเนินการมาประมาณ 100 ปีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5 รวมถึงทำลายระบบการส่งออกข้าวไทย และ เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก  อย่างไรก็ตามมองว่าพรรคเพื่อไทยคงไม่ยกเลิกโครงการนี้แน่นอน เพราะเป็นแบรนด์ของพรรคไปแล้วในการหาเสียง ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้ ไม่ล้มแน่ แต่ทีดีอาร์ไอห่วงว่าเศรษฐกิจไทยจะล้มก่อน” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง กล่าวว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรียกเลิกโครงการรับจำนำข้าวแล้วเปลี่ยนวิธีการอื่นในการช่วยเหลือ เกษตรกรแทน เนื่องจากช่วง 2 ปีในการรับจำนำข้าวของรัฐบาลขาดทุนทางบัญชี 425,000 ล้านบาท  ดังนั้นยังไม่สายที่จะยกเลิกวิธีการรับจำนำ แล้วหันมาใช้วิธีช่วยเหลือ แบบอื่นแทน เช่น การจ่ายผลประโยชน์ส่วนเพิ่มให้ชาวนาโดยตรงแทน ตลอดจนกระจายการช่วยเหลือครัวเรือนชาวนาที่ยากจนเพิ่มขึ้น หากทำได้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะได้ชื่อว่าได้ทำงานเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายธีรชัย ภูวนารถนรานุบาล  อดีต รมว.การคลัง  ยืนยันว่า โครงการรับจำนำของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาเกิดความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งการเก็บรักษาข้าว การป้องกันการ ทุจริต ประสบกับภาวะขาดทุน ซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะการคลัง ดังนั้น ภาครัฐจึงควรกลับไปทบทวนถึงการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็น การช่วยเหลือเกษตรกรโดยไม่ต้องพึ่งพาโครงการขายข้าวรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) “การขาดทุนในระดับ 400,000 ล้านบาทหากเกิดขึ้นจริงจะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะต่อประเทศซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนให้คนรุ่นหลังได้โดยวิธีที่จะสามารถช่วยลดการขาด ทุนได้คือการใช้วิธีการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรโดยโอนเข้าบัญชีผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งต้องกำหนดว่าจะจ่ายให้ตันละเท่าไร โดยวิธีนี้ จะทำให้ทราบถึงจำนวนเงินที่จะใช้จ่ายในโครงการที่ชัดเจน” ด้าน นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องยุบสภาแล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อที่จะยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวที่ สร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างหนัก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถยกเลิกในตอนนี้ได้ ไม่เช่นนั้นจะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลได้แถลงนโยบายดังกล่าวต่อรัฐสภา ไปแล้ว ดังนั้นมีทางเดียวที่รัฐบาลจะลงได้คือการยุบสภา สำหรับความเดือดร้อนของโรงสีในบางส่วนพบว่าโรงสีที่จะเข้าร่วมโครงการในครั้งแรกหลายรายก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายแก่พวกพ้องนักการเมืองในหลาย ๆ ขั้นตอนด้วย ส่วนโรงสี และโกดังบางรายที่ต้องการข้าวเปลือกเข้าโครงการเยอะๆก็อาจมีการจ่ายเงินผู้เกี่ยวข้อง เพราะหากมีปริมาณข้าวเข้าโกดังเยอะก็จะได้ค่าบริหารจัดการเยอะตามไปด้วย นายวิชัย ศรีประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมส่งข้าวออกต่างประเทศ เห็นว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายจำนำมักจะเป็นที่ชื่นชอบของนักการเมืองที่ไม่ดีหรือไม่ หรือว่า ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรจริงๆ โดยเฉพาะเรื่องจำนำข้าวที่มีการเปิดช่องให้เกิดการฉ้อโกงงบประมาณและโรงสีฉ้อโกงชาวนาได้หลายช่องทาง เบื้องต้นประเมินว่าโรงสีบาง รายจะมีเทคนิคในการหักเงินจากชาวนาเฉลี่ย  3,300 บาทต่อตัน โดยชาวนาขายข้าวเฉลี่ยตันละ 10,000-12,000 บาท โดยการหักผ่านเครื่องมือในการโกงเรื่องคุณภาพ ข้าว ความชื้นข้าวและการเพิ่มปริมาณสิ่งเจือปน เป็นต้น นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย ประเมินว่า ปัจจุบันมีชาวนารายย่อยไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวมากนัก โดยเฉพาะในส่วนของภาคอีสาน ที่ส่วนใหญ่ผลิตข้าวได้  3-5 ตันซึ่งหากนำไปเข้าโครงการปริมาณน้อยจะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่สำคัญขณะนี้มีชาวนาหลายจังหวัดเช่น พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และสิงห์บุรี ต้องการให้ตนช่วยกันเรียกร้องให้มีการประกันรายได้แทนการรับจำข้าว นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ เชื่อว่า รัฐบาลมีหนี้จากโครงการรับจำนำข้าวถึง 6 แสนล้านบาทแล้ว และเกินกว่าเพดานวงเงินที่กำหนด ซึ่ง กระทรวงการคลังทราบดีถึงเงินที่ใช้จำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลต้องรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือทางกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ได้พิสูจน์แล้วว่าโครงการรับจำนำข้าว ไม่ได้ช่วยดันให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ในทางกลับกันราคาข้าวในตลาดกำลังลดต่ำอย่างรุนแรงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ผลมาจากตลาดโลกเห็นว่าไทยมีสต๊อกข้าว เหลือถึง 17 ล้านตัน ความเห็นของภาคเอกชนที่สะท้อนมุมมองโครงการรับจำนำข้าว ที่รัฐบาลควรนำไปปรับเปลี่ยนตามความเหมาะส เพื่อให้เงินภาษีจากประชาชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ถล่มนโยบายจำนำข้าว 2 ปี ขาดทุนยับ

กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่2.50%ต่อปี

ประชุมกนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 ต่อ 0 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี เนื่องจากมีความเสี่ยงจากการเจรจาปรับเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย
เมื่อวันที่ 16 ต.ค.นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 ต่อ 0 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี เนื่องจากมีความเสี่ยงจากการเจรจาปรับเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย แต่ธปท.มั่นใจว่ามีเครื่องมือทางการเงินที่พร้อมรับมือความผันผวนหากเกิดวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนนโยบายและดูแลสภาพคล่องในตลาดเงินบาท ตลาดเงินดอลลาร์ ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆได้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตช้ากว่าที่คาดไว้แต่เริ่มทรงตัว และเห็นสัญญาณปรับดีขึ้นในบางภาค เช่นการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลก แต่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังทรงตัว โดยระยะต่อไปเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ภายใต้ภาวะการเงินในปัจจุบันที่ยังผ่อนปรน แต่ยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้ง ความล่าช้าการเบิกจ่ายโครงการลงทุนของภาครัฐ ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่ ธปท.ยังคงมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวจะไม่หลุดต่ำลงกว่ากรอบเป้าหมายที่วางไว้ 0.5%
“กนง.ได้พิจารณาการปรับลดเป้าหมายตัวเลขเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ใหม่ ทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และการส่งออก ซึ่งแถลงข้อมูลปรับลดทั้งหมดในวันที่ 25 ต.ค.นี้ โดยสาเหตุหลักมาจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก มีระดับที่สูงขึ้นจากปัญหาทางด้านการเงินการคลังของสหรัฐฯ ปัจจัยความเสี่ยงภายในประเทศในเรื่องการเบิกจายงบประมาณด้านการคลังที่ล่าช้า ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต”
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินของไทย เช่นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ภาระหนี้ครัวเรือนที่ขณะนี้อยู่ในทิศทางที่ชะลอลง รวมถึงการขาดดุลของรัฐบาล โดยเฉพาะจากภาระการรับจำนำข้าวที่แม้จะไม่ได้พิจารณาเฉพาะเจาะจง แต่ได้หารือกัน เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มให้ความสนใจ เพราะเป็นปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยนักลงทุนมองว่าฐานะการคลังในระยะข้างหน้าอาจมีความเปราะบาง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่2.50%ต่อปี

Page 1533 of 1552:« First« 1530 1531 1532 1533 1534 1535 1536 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file