shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

‘พรชัย’มอบนโยบายข้าราชการไอซีที 11 ก.ย.นี้

รมว.ไอซีที เตรียมเข้าให้นโยบายข้าราชการกระทรวงไอซีที  ลั่น รอประชุม ครม.นัดแรกก่อน รับเตรียมเคลียร์อำนาจ-เร่งแก้กฎหมาย กสทช. นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า จะเข้าทำหน้าที่ในกระทรวงไอซีทีพร้อมมอบนโยบายเร่งด่วนกับข้าราชการกระทรวงไอซีทีอย่างเป็นทางการวันที่ 11 ก.ย.นี้ จากเดิมที่จะเข้าทำงานในวันที่ 8 ก.ย. แต่ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ขอให้การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งแรกวันที่ 9 ก.ย. ก่อน ถึงจะเข้ามอบนโยบายอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยอมรับว่า การเข้ามาทำหน้าที่ รมว.ไอซีทีครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจหนักที่จะต้องเข้ามาปฏิรูปโครงสร้างการสื่อสารของประเทศไทย โดยเฉพาะการจัดการกับธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกันระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) “นายกฯ ต้องการให้กระทรวงไอซีทีเป็นเจ้าภาพปรับโครงสร้างบริหารจัดการการสื่อสารทั้งประเทศ โดยให้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งหมด ทั้งทางอวกาศ ทางบก และ ทางน้ำ รวมถึงจัดการแก้ปัญหาเรื่องสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอที กสท กับเอกชนให้เรียบร้อยด้วย” นายพรชัย กล่าว สำหรับหนึ่งในนโยบายปฏิรูปการสื่อสาร คือ ความชัดเจนในอำนาจกำกับดูแลการสื่อสารของประเทศระหว่างกระทรวงไอซีที และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยเฉพาะการเสนอแก้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘พรชัย’มอบนโยบายข้าราชการไอซีที 11 ก.ย.นี้

Posts related

 














โนเกียลูเมีย3 รุ่นใหม่กล้องเด่น วิดีโอ 4K – ฉลาดใช้

สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ผลิตสมาร์ทโฟนระดับโลกหลายรายใช้บรรยากาศก่อนเปิดงาน  IFA  ที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เป็นสถานที่เปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ ไมโครซอฟท์ดีไวซ์  เลือกใช้อาคารเก่าคลาสสิกเป็นสถานที่จัดงานท่ามกลางธีมจัดงานสีส้มและเขียว มีนักข่าวและบล็อกเกอร์จากทั่วโลกมาร่วมงาน โดยมีนักข่าวจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปร่วมงานจำนวน 9 คนในจำนวนนี้มีนักข่าวจากไทยสองคน คริสเวเบอร์ รองประธานฝ่ายขายอุปกรณ์สื่อสาร บอกกับผู้สื่อข่าวว่าไมโครซอฟท์และโนเกียคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ใช้ชีวิตดิจิตอลกันง่าย ๆ สามารถใช้ทุกอุปกรณ์เข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาผ่านโนเกีย ลูเมีย ส่วนแอพพลิเคชั่นขณะนี้บนวินโดว์ส โฟนสโตร์ก็มีแอพจำนวนหลายแสนและมีแอพใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน โนเกียลูเมีย ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ 3 รุ่นวินโดว์ส  8.1 และอุปกรณ์อื่น ๆ ในงานนี้ เริ่มจากโนเกีย ลูเมีย 830  สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายรูปมาพร้อมเทคโนโลยีเพียววิว ซึ่งเดิมจะอยู่ในมือถือราคาแพงเท่านั้นเทคโนโลยีเพียววิว ทำให้ลูเมีย 830 มีความโดดเด่นเรื่องการถ่ายภาพความละเอียดสูงตัวเครื่องบางและเบากว่าทุกรุ่น สาเหตุที่บางด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ออกแบบเลนส์คุณภาพได้เล็กและบางหากใช้ลูเมีย 1020 ตัวกล้องจะนูนออกมาแต่ในลูเมีย  830 ตัวเลนส์แบนราบไปกับ ฝาหลัง ที่สำคัญเอาลองเทียบกับลูเมีย 1020 เวลาเปิดใช้งานกล้องมีข้อแตกต่างชัดเจน เพราะลูเมีย 830 เปิดกล้องพร้อมถ่ายภาพได้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์จริง ๆ อันนี้ยืนยันจากประสบการณ์ตรง ภายในงานคริสเวเบอร์ ได้เทียบภาพถ่ายจากค่ายคู่แข่งชอตต่อชอต เน้นการถ่ายภาพในที่แสงน้อยเพื่ออวดประสิทธิภาพกล้องเพียววิว 10 เมกะพิกเซลของลูเมีย 830 และการบันทึกเสียงขณะถ่ายวิดีโอที่เน้นคุณภาพเสียงคมชัด งานนี้โนเกียอวดศักยภาพ ถ่ายวิดีโอ  4K 24  เฟรมต่อวินาทีให้ดู ที่ไม่ธรรมดาก็คือแต่ละเฟรมความละเอียดภาพ  8  เมกะพิกเซลและยังสามารถดัดแปลงเป็นภาพนิ่งความละเอียดสูงได้ด้วย ตามด้วยลูเมีย 730 และ 735 ที่มีหน้าตาเหมือนกันแต่แตกต่างกันที่ ลูเมีย 730 รองรับสองซิมส่วนรุ่น 735 รองรับแอลอีที 4 จี แต่โดดเด่นที่กล้องหน้ามุมกว้าง 5 เมกะพิกเซลสำหรับการถ่ายภาพเซลฟี่ ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของโนเกียลูเมีย บอกว่า กล้องหน้ามุมกว้างช่วยให้เก็บภาพเซลฟี่ได้ครบหน้าไม่บวมและบาน แต่สมจริงสามารถเลือกภาพที่ดีที่สุดและใส่ฟิลเตอร์ได้ทันที  หรือที่เรียกกันว่า Rich Capture ซึ่งแปลงภาพที่ถ่ายด้วย auto HDR และ DynamicFlash หรือจะใช้บริการวิดีโอคอลล์ผ่านสไกป์ ก็สะดวก ทั้งสามรุ่นมีดีไซน์ที่เพรียวบางน่าใช้สีไฮไลต์ก็คือ สีเขียวและสีส้ม จะวางจำหน่ายพร้อมกันในเดือนกันยายนนี้ โดยลูเมีย 830  ราคา 330 ยูโรถือว่าไม่แพงเลยกับความสามารถในตัวกล้องที่มีชิปควอดคอร์ ส่วนลูเมีย 730 และ 735 ราคา 199 และ 219 ยูโรเรียงตามลำดับ พร้อมใช้บริการวินไดร์ฟหรือคลาวด์ เพื่อเก็บข้อมูลได้อีก 15 กิกะไบต์ นอกจากนี้ยังมีแท่นชาร์จไร้สายแบบใหม่รุ่น ดีที-903 ดีไซน์สวยโค้งมน เหมือนก้อนหินบนหาดทรายสีส้ม เขียว และขาวที่จะมีแสงไฟแจ้งเตือนเวลาชาร์จแบตสวยงามและล้ำสมัยมาก ๆ สุดท้ายที่โดดเด่นและฮือฮาก็คือ อุปกรณ์ที่เรียกว่าไมโครซอฟท์ สกรีน แชร์ริ่งเอชดี -100 เป็นแท่นวงกลมสีดำพร้อมแผ่นบาง ๆ รองรับเอ็นเอฟซีสำหรับเอาคอนเทนต์บนหน้าจอมือถือขึ้นจอทีวีผ่านเอชดีเอ็มไอโดยไม่ต้องพึ่งพาสายแค่เอาแท่นเสียบไว้แต่เอาแผ่นวงกลมไว้ข้างตัวก็แชร์ได้ทันที ตลอดวันที่จัดงานรู้สึกชื่นชมความเป็นนักสู้ของชาวโนเกีย และวัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่น ทั้งผู้บริหารและพนักงานฝ่ายต่าง ๆ ที่ช่วยกันนำเสนอและคิดค้นการออกแบบใหม่ให้นักข่าวได้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ประทับใจมานานและมาเห็นได้ชัดเจนในยุคนี้ เอาใจช่วยให้กลับมายืนอย่างสวยงามเหมือนที่เคย. ปรารถนา ฉายประเสริฐ prathana.chai@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โนเกียลูเมีย3 รุ่นใหม่กล้องเด่น วิดีโอ 4K – ฉลาดใช้

นักวิทย์อาเซียน

ชื่นชมกับนักวิจัยไทย ที่วันนี้…เรียกได้ว่าเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับแถวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด… 2 นักวิจัยไทยได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในอาเซียน เพื่อยกย่องความสามารถการทำงานวิจัยเพื่อส่วนรวม ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน ในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา รางวัลแรกคือ“ASEAN-US Science Prize for Women”  ประจำปี 2557 ซึ่งมอบให้กับ “ดร.ณัฏฐพร พิมพะ”  นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พร้อมคณะนักวิจัยห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิท สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)  จากผลงานวิจัย “เทคโนโลยีไส้กรองนาโนจากเซรามิกเคลือบเงินสำหรับเครื่องผลิตน้ำดื่มสะอาดแก่ชุมชนในช่วงอุทกภัย” รางวัลนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดขึ้นร่วมกันระหว่างอาเซียนและประเทศสหรัฐอเมริกา  เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับนักวิจัยสตรีดีเด่นของภูมิภาคอาเซียน ที่มีผลงานทั้งในด้านการวิจัยจนถึงการนำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริง  ซึ่งปีนี้เลือกงานวิจัยหลักเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ  เพื่อแสดงถึงความพยายามของอาเซียน ที่จะพัฒนาสมรรถภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภูมิภาคเพื่อการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทั้งภูมิภาค ดร.ณัฏฐพร บอกว่า งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยมุ่งเป้าในเรื่องน้ำสะอาด เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติมีน้ำดื่มสะอาดได้จริง โดยนำนาโนเทคโนโลยี มาช่วยทำให้ระบบกรองน้ำหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยีไส้กรองนาโนที่ทำจากเซรามิกเคลือบเงินมีการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และร่วมกับสภากาชาดไทย ต่อยอดนำไปใช้จริง โดยผลิตเป็นเครื่องผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยไส้กรองนาโน สำหรับใช้ในภาวะฉุกเฉินหรือประสบภัยพิบัติ  โดยสามารถผลิตน้ำสะอาดได้ประมาณ  200 ลิตร ต่อชั่วโมง ช่วยผู้ประสบภัยได้มากกว่า 1,000 คนต่อวัน ปัจจุบันเครื่องดังกล่าวได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้สภากาชาดไทย นำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ต่อไป ส่วนอีกหนึ่งรางวัลที่น่าภาคภูมิใจไม่แพ้กันก็คือรางวัล “The ASEAN Meritorious Service Award” (AMSA) ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์แก่ภูมิภาคอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผู้ได้รับรางวัลนี้ก็คือ “ดร.ธีรยุทธ  ตู้จินดา” นักวิจัยอาวุโส จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)สวทช. และรองผู้อำนวยการ หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยร่วมระหว่างไบโอเทค และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการใช้ดีเอ็นเอเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธ์ุพืช โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก (Marker assisted selection) ร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะตามต้องการและลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ ดร.ธีรยุทธ บอกว่า ได้รับรางวัลนี้ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยช่วยทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากรในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ให้มีความสามารถในการใช้ดีเอ็นเอเทคโนโลยีในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวของแต่ละประเทศ ให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย และต้านทานต่อ โรคและแมลงที่สำคัญ ที่ผ่านมาร่วมกับกรมการข้าวและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี สายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาได้อย่างเช่น พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วม และ พันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้ “ธัญสิริน” ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจดสิทธิเรื่องการพัฒนายีนความหอมของข้าวและร่วมกับกรมการข้าวพัฒนาข้าวทนแล้ง ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่ปลูกจริง ส่วนการขยายความร่วมมือไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ผ่านการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบัณฑิตและโครงสร้างพื้นฐาน ให้กับบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ  ทั้ง เมียนมาร์ สปป.ลาว และกัมพูชา ซึ่งมีพันธุ์ข้าวในแต่ละท้องถิ่น ปัจจุบันมีการพัฒนาข้าวเมียนมาร์สายพันธุ์ MK-75 ที่มีคุณภาพเหมือนข้าวบาสมาติและต้านทานโรคขอบใบแห้ง ข้าวกัมพูชาทนแล้งสายพันธุ์ CAR3 ที่มีคุณภาพหุงต้มดี ข้าวเหนียว สปป.ลาว สายพันธุ์  TDK1 ที่มีคุณภาพหุงต้มดี และต้านทานต่อโรค และ IR57514 ที่ทนน้ำท่วม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้  ซึ่งมีการเผยแพร่และเริ่มปลูกกันอย่างกว้างขวางในแต่ละประเทศ ดร.ธีรยุทธ บอกอีกว่า งานวิจัยนี้ได้กลายเป็นโมเดลความร่วมมือในภูมิภาคที่หน่วยงานให้ทุนวิจัยต่าง ๆ นำไปใช้ในภูมิภาคอื่น ๆ ..แม้ไม่ได้คาดหวังมาก่อนว่าจะได้รับรางวัลนี้ แต่ก็ดีใจ และหวังว่าอย่างน้อยอนาคตผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ จะมีการให้ความสำคัญกับงานวิจัยแบบนี้มากขึ้น  และสามารถต่อยอดความร่วมมือสร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างยั่งยืน. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิทย์อาเซียน

Page 128 of 805:« First« 125 126 127 128 129 130 131 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file