shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

แชตกลายเป็นการสื่อสารหลัก ระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลาน

จากผลงานวิจัยฉบับใหม่ของอีริคสันคอนซูเมอร์แล็บ ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา เป็นการทำสัมภาษณ์กลุ่มคนสูงอายุ ซึ่งมีอายุระหว่าง 65-75 ปี จำนวน 30 คน ในซานฟรานซิสโก รวมถึงผู้สัมภาษณ์ In-House อีก 8 คน   ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้ต่างมองว่า การได้รับข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้น ตลอดจนมีการเข้าร่วมกลุ่มสร้างสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆในสังคมออนไลน์รอบตัวมากขึ้นนั้นช่วยทำให้พวกเขาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่หลากหลายในช่วงวัยที่อายุมากแล้ว โดยแต่ละคนบอกว่า พวกเขารู้สึกมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้น มีความรู้สึกว่าเด็กลง และมีการเข้าร่วมกลุ่มกับบุคคลอื่นและสังคมรอบตัวมากขึ้น ตลอดจนได้รับรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในสังคมนี้ กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีนั้นได้เข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นอกจากนี้งานวิจัยยังเผยให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารสามารถเชื่อมรอยต่อระหว่างวัยของผู้สูงอายุกับกลุ่มคนวัยรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยพวกเขาสามารถแชร์ความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี การสอน และการให้ความช่วยเหลือพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ตลอดจนเป็นการสร้างพื้นที่ตรงกลางภายในครอบครัว พัฒนาการของเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน ยังคงเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมจากการเข้าถึงเทคโนโลยีของคนในกลุ่มวัยต่าง ๆ อีกด้วย โดยความเหลื่อมล้ำนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นในกลุ่มของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยเฉพาะผู้สูงวัยจำนวนมากที่ยังไม่มีการใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือการบริการรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับกลุ่มวัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คือ กลุ่มคนวัยรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยเริ่มจากการพิมพ์แชต (Chat)และส่งรูปภาพนั่นเอง ทั้งนี้ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารดังกล่าวนั้นได้ลดการใช้งานในแบบของโทรศัพท์พูดคุยหรือวอยซ์ (Voice) และการใช้อีเมล (e-mail) โดยผู้สูงอายุมักมองว่า กลุ่มคนวัยที่อายุน้อยกว่าชอบที่จะสื่อสารด้วยการพิมพ์แชตมากกว่า นอกจากนี้ ด้วยหน้าจอที่ปรับขนาดใหญ่ขึ้นและการใช้งานที่ง่าย จึงทำให้แท็บเล็ต กลายเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความดึงดูดใจให้กับกลุ่มคนวัย 65-75 ปี และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวิดีโอคอล (Video Call) ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มคนสูงอายุมองว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอุปกรณ์การสื่อสารที่สมบูรณ์แบบ เพราะมันช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนสนิทและครอบครัว รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และการแชร์บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตในสไตล์หรือที่เป็นตัวตนของพวกเขาได้ดีอีกด้วย กิจกรรมของกลุ่มคนวัยนี้ถูกเติมเต็มด้วยการเชื่อมต่อกับลูกหลานและเพื่อน ๆ กิจกรรมอาสาสมัคร การเข้าสังคมร่วมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ความสนใจเฉพาะบุคคล ตลอดจนการเดินทางท่องเที่ยวของพวกเขาเอง.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แชตกลายเป็นการสื่อสารหลัก ระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลาน

Posts related

 














นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ 2557 – ฉลาดคิด

เชิดชูนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่  ที่ถือเป็นบุคลากรสำคัญ ในการผลักดันให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต วันนี้.. มาทำความรู้จักกับเจ้าของรางวัล   “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2557” จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์  ที่เพิ่งประกาศรางวัลไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทย์ รุ่นใหม่ทั้ง  4  ท่าน มีผลงานวิจัยที่หลากหลายทั้งด้านเคมี ฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์ เริ่มจาก ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงไทย วิฑูรย์” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ผู้ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเคมี พัฒนากระบวนการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินและการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกไข่เป็นตัวดูดซับ ศาสตราจารย์ ดร.ธงไทย บอกว่าจากเดิมเป็นวิศวกรที่ใคร ๆ ก็มักมองว่าเป็นคนสร้างมลพิษ  จึงอยากที่จะมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมกับเขาบ้าง ซึ่งการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมกับการสร้างพลังงานทดแทนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่หลายฝ่ายทั่วโลกพยายามผลักดันเพื่อลดภาวะโลกร้อนที่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ งานวิจัยที่ทำอยู่ จึงเป็นการนำองค์ความรู้เดิมในด้านวิศวกรรมเคมีมาต่อยอด สร้างกระบวนการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซเหลือทิ้งจากการกระบวนการเผาไหม้ในภาคอุตสาหกรรม โดยนำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุในการดูดซับ (Adsorbent) ก่อนส่งเข้ากระบวนการกักเก็บให้มีความเข้มข้นสูงประมาณ  90% โดยปริมาตร เพื่อนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพลังงานทดแทนต่อไป ท่านต่อมา “ดร.มนตรี   สว่างพฤกษ์” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ผู้ใช้วัสดุนาโนคาร์บอน “กราฟีน” สร้างองค์ความรู้ใหม่ในงานวิจัยพื้นฐาน ผลิตตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวดและสารยับยั้งเชื้อราในแผ่นยางดิบ ดร.มนตรี  บอกว่า  กราฟีนมีลักษณะเป็นแผ่นที่มีโครงสร้าง 2 มิติ มีการจัดเรียงคาร์บอนอะตอมด้วยพันธ์โคเวเลนต์ต่อกันเป็นวงหกเหลี่ยมซ้ำ ๆ กันเหมือนตาข่ายคล้ายรังผึ้ง มีคุณสมบัติที่น่าทึ่ง เช่น เป็นสารกึ่งโลหะ เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีกว่าทองแดงหลายเท่า แข็งแรงกว่าเหล็กกล้า และมีความยืดหยุ่นสูง จึงเหมาะกับการนำไปใช้ผสมกับพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเสริมแรง และเพิ่มค่าการนำไฟฟ้า งานวิจัยที่ทำจึงนำวัสดุนาโนคาร์บอน “กราฟีน” มาพัฒนาเป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวด ซึ่งจากการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์เก็บพลังงานที่ทำจากวัสดุกราฟีน หรือวัสดุผสมของกราฟีนกับโลหะออกไซด์ คาดว่าจะถูกนำมาใช้แทนแบตเตอรี่ในอนาคตอันใกล้ เพราะสามารถจ่ายไฟได้นานแต่ใช้เวลาสั้นลงสำหรับการชาร์จไฟ นอกจากนี้ ดร.มนตรี ยังมีผลงานวิจัยที่โดดเด่นจากการนำกราฟีนมาแก้ปัญหาเชื้อราในยางพารา  โดยได้วิจัยสารยับยั้งเชื้อราจากวัสดุกราฟีน  ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ “Natural Rubber Smile” หรือสารยับยั้งเชื้อราบนแผ่นยางพาราดิบ ซึ่งเป็นสารเนื้อผสมระหว่างกราฟีนกับน้ำ ใช้งานง่าย ทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็งและมีต้นทุนถูกกว่าเมื่อเทียบกับกระบวนการรมควัน ด้าน “ดร.ปริญญา  การดำริห์” อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิทย์รุ่นใหม่ที่ใช้องค์ความรู้เชิงทฤษฎีฟิสิกส์ พลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค ศึกษามิติกาลอวกาศและจักรวาล ดร.ปริญญา บอกว่า เป็นงานวิจัยที่นำเสนอแนวคิดใหม่ในแวดวงฟิสิกส์ทฤษฎีของฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค โดยใช้ทฤษฎีสตริง (String Theory) หรือทฤษฎีเส้นเชือกเป็นหลักในการอ้างอิง ซึ่งจะช่วยเสริมจุดบกพร่องของทฤษฎีควอนตัมและทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ที่ไม่สามารถจะอธิบายได้  ซึ่งจากงานวิจัยนำไปสู่การค้นพบทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งมุ่งหวังให้นักวิจัยรุ่นหลังนำวิทยาการเชิงทฤษฎี ไปต่อยอดประยุกต์เป็นองค์ความรู้เสริมความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆในอนาคต ส่วน “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ นาคอริยกุล” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เป็นนักวิทย์รุ่นใหม่ ที่นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ “การคัดเลือกคุณลักษณะ (feature selection)” เพื่อจำแนกประเภทมาใช้ลดเวลาต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำในการตรวจสอบ หวังตอบโจทย์ด้านอุตสาหกรรมเกษตร-การแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ  บอกว่า  งานวิจัยที่ทำอยู่จะเน้นใน 2 ด้านที่เหมาะกับประเทศไทยคือ ด้านการตรวจสอบความปลอดภัยในอาหาร โดยไม่ทำลายชิ้นงาน  และทดแทนการใช้แรงงานคน ซึ่งจะปลอดภัยและแม่นยำกว่า และด้านการแพทย์ เช่น การใช้ไมโครอะเรย์ในการตรวจยีนที่สามารถบ่งบอกความผิดปกติหรือตรวจหาการก่อโรคในระยะแรกได้ ทั้งนี้การคัดเลือกคุณลักษณะ  มีหลากหลายขั้นตอนและมีความซับซ้อน การใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล   จะทำให้ช่วยย่นระยะเวลาได้เป็นเท่าตัวและได้ผลลัพธ์ในเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการแพทย์. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ 2557 – ฉลาดคิด

เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ชุมชนคลองรังสิต

วันนี้(27สค.57)นายรอยล  จิตรดอน   กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริชุมชนคลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี ที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ อ.หนองเสือ  จ.ปทุมธานี โดยมีส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงาน นายรอยล  กล่าวว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์  ฯร่วมกับอ.หนองเสือ และองค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ฯ ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสำเร็จของชุมชนที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ กรอบคิด กรอบงาน มาพัฒนาการจัดการน้ำชุมชนจนประสบผลสำเร็จเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นมาศึกษาเรียนรู้ได้ โดยใช้พื้นที่จริงของชุมชนอธิบายผ่านแผนที่และภาพความเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ได้ ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ชุมชนคลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี แสดงผลสำเร็จของการจัดการน้ำของชุมชนคลองรังสิตซึ่งได้ดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างน้ำ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและกักเก็บน้ำในพื้นที่ร่องสวนปาล์มน้ำมัน พัฒนาเป็นแก้มลิงแบบเพิ่มรายได้อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ริมคลองสาธารณะด้วยพื้นที่ตัวอย่างการทำเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ ชุมชนคลองรังสิตมีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำเกษตรกรรมร่องสวนเป็นอาชีพหลักวิถีชีวิตพึ่งพาแหล่งน้ำจากคลองรังสิต เพื่อการเพาะปลูก คมนาคม อุปโภค และบริโภคแต่เดิมเกษตรกรทำสวนส้ม   แต่ประสบปัญหาโรคส้มระบาด และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นดินเปรี้ยวเกษตรกรจึงเริ่มหันมาปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งสามารถทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและน้ำท่วมขังได้นานกว่า 1 เดือน ประกอบกับในปี 2554ที่เกิดมหาอุทกภัย พบว่าพื้นที่คลอง 8,9 ,10สามารถเก็บกักน้ำและหน่วงน้ำไว้ตามคลองหลัก คลองซอย และร่องสวนปาล์มน้ำมันจึงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัยครั้งนี้แต่ด้วยโครงสร้างควบคุมระดับน้ำที่มีในพื้นที่ชำรุดและไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพทำให้ชุมชนหันมาบริหารจัดการน้ำควบคู่กับการปรับวิถีเกษตรให้สอดคล้องกับและเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของพื้นที่และในปี2555 ด้วยน้ำพระทัยของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาที่ทรงสนับสนุนแนวทางบริหารจัดการน้ำโดยพระราชทานเงินบริจาคของวิทยาลัยกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)ใช้ดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและพัฒนาพื้นที่คลองรังสิตเป็นแก้มลิงแบบเพิ่มรายได้ขยายผลการดำเนินงานโดยมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโคคา-โคลาประเทศไทย ปัจจุบันขยายผลรวม 8 ตำบล 2 อำเภอ (ต.บึงชำอ้อ, ต.บึงกาสาม,ต.บึงบอน, ต.บึงบา, ต.หนองสามวังและ ต.นพรัตน์ อ.หนองเสือ / ต.คลองหก และ ต.คลองเจ็ด อ.คลองหลวง)ครอบคลุมพื้นที่กว่า 226,997 ไร่ เป็นตัวอย่างความสำเร็จให้กับชุมชนอื่นได้ศึกษาเรียนรู้ จึงเกิดเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ” ให้ผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้การน้อมนำแนวพระราชดำริและแนวทางการทำงาน ไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในท้องถิ่นต่อไป     

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ชุมชนคลองรังสิต

Page 150 of 805:« First« 147 148 149 150 151 152 153 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file