shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เม็ดยาส่งต่อความรู้ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

เชื่อว่าคุณผู้อ่านคอลัมน์วันพุธของผมหลายคนคงเคยประสบปัญหาเวลาต้องเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ใช่ไหมครับ ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดสำหรับต้องรับ AEC ในปีหน้าก็คือการเรียนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะถ้าภาษาที่คุณผู้อ่านกำลังเรียนอยู่นั้นไม่ใช่แค่ภาษาที่สอง แต่เป็นภาษาที่สาม ที่สี่ หรือมากกว่าด้วยแล้ว ยิ่งทำให้คนเรียนใหม่ ๆ เกิดอาการสับสนในการใช้ภาษาได้ง่าย สมัยที่ผมเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ ๆ เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วก็เคยมีประสบการณ์สับสนระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาญี่ปุ่นมาแล้วเหมือนกันครับ ไหนจะเรื่องหลักภาษาที่แตกต่างกัน คำศัพท์ที่ต่างกัน และอย่างอื่นจิปาถะอีกมากมาย คุณผู้อ่านหลายคนคงเห็นด้วยกับ   ผมว่าการที่ต้องมาเริ่มต้นเรียนอะไรใหม่ ๆ การที่ต้องมาเรียนภาษาใหม่ ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าเป็นเรื่องของการเรียน ภาษา เดี๋ยวนี้ก็มีเทคโนโลยีอย่าง Google Translate ที่แค่คลิกเดียว ก็สามารถแปลทุกสิ่งทุกอย่างบนหน้าเว็บไซต์ออกมาได้อย่างง่ายดาย หรือ ถ้าเป็นตัวอย่างที่ใหม่ขึ้นมาอีกหน่อย ก็เช่นแอพพลิเคชั่น Word Lens ที่ผสานความสามารถของกล้องบนสมาร์ท   โฟน เทคนิคการรู้จำตัวอักษร และเทคนิคโลกเสมือนประสานโลกจริงจนสามารถแปลความหมายของคำที่เขียนอยู่ในภาพที่กล้องส่อง      อยู่ แล้วแสดงคำแปลทับลงไปบนภาพได้แบบทันที คุณผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์วันพุธผมเป็นประจำอาจจะคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการแปลเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แต่คำถามต่อมา คือ แล้วในอนาคตข้างหน้าอีกล่ะ นอกจากการช่วยแปลแล้ว จะมีเทคโนโลยีอะไรอื่นมาช่วยให้การเรียนรู้ภาษาใหม่ของเราง่ายขึ้นได้บ้างไหม? ล่าสุดในปีนี้เองครับ มีนักวิศวกรคอม พิวเตอร์คนหนึ่งนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจในงาน TED Talk โดยเขาคนนั้นมีชื่อว่า นิโคลัส เนโกรพอนตี (Nicholas Negroponte) ผู้ก่อตั้ง MIT Media Lab ห้องวิจัยชื่อดังก้องโลกแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ อเมริกา และผู้คิดโครงการ One Laptop Per Child (OLPC) โครงการอันโด่งดังที่จัดคอม พิวเตอร์แล็ปท็อปราคาประหยัดส่งให้เด็ก ๆ ทั่วโลกได้มีโอกาสใช้ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่อยู่ในพื้นที่กันดารของประเทศกำลังพัฒนา นิโคลัส เนโกร พอนตี ได้นำเสนอ   ไอเดียไว้ในรายการว่า เขาเชื่อว่าในอนาคตรูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นจะเปลี่ยน  ไป มนุษย์เราจะเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ด้วยวิธีที่พิเศษและแปลกไปกว่าเดิม โดยเขาทำนายว่าภายใน 30 ปีข้างหน้า การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นภาษาต่างประเทศ องค์ความรู้ หรือ ทักษะความสามารถอื่น ๆ จะสามารถส่งผ่านกันได้โดยยาเพียงแค่เม็ดเดียว เขาเชื่อว่าเม็ดยาพิเศษนี้จะมีหลักการทำงานคือ เราทานยาเข้าไป ยาก็ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย รวมทั้งไหลเวียนไปสู่สมองด้วย และเมื่อตัวยานี้ไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องของสมอง ก็จะส่งข้อมูลความรู้ที่ตัวยานั้นมีอยู่ให้กับสมองของผู้ใช้ได้ทันที จะว่าไปแล้วก็คล้ายกับก้อนวุ้นแปลภาษา ที่เจ้าแมวทานูกิสีฟ้าสัญชาติญี่ปุ่นชื่อก้องโลกอย่าง โดราเอมอน ชอบใช้นะครับ แค่กินวุ้นก้อนเดียวก็สามารถทั้งพูดและฟังภาษาอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาต่างประเทศ หรือภาษามนุษย์ต่างดาวก็ตาม ถ้าคำทำนายนี้เกิดเป็นจริงขึ้นมา ในอนาคตพวกเราคงจะสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนทักษะความสามารถต่าง ๆ ของแต่ละคนได้ ถ้าอยากจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ หรืออยากจะเรียนรู้จดจำความรู้อะไร ก็ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอ่านหนังสือเล่มหนา ๆ ไม่ต้องมานั่งท่องสูตรคูณ ไม่ต้องฝึกทักษะทำนู่นทำนี่แล้ว เพียงแค่ทานยาเข้าไปก็จะสามารถเรียนรู้ได้ในทันที ฟังดูแล้วเหมือนนิยายอิงวิทยาศาสตร์เลยใช่ไหมล่ะครับ แต่ก็อย่าลืมนะครับว่าคำทำนายของอัจฉริยะหลายคนนั้นไม่ได้ถูกต้อง 100% เสมอไป แม้แต่คนดัง ๆ อย่าง บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ยังเคยหน้าแตกกับคำทำนายในปี ค.ศ. 2004 ที่ว่า “สแปมอีเมลหรืออีเมลขยะต่าง ๆ จะหมดไปภายใน 2 ปี” มาแล้ว เพราะจนถึงตอนนี้ที่ผ่านมากว่า 10 ปีสแปมอีเมลก็ไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปแต่   อย่างใด ณ วันนี้ เวลานี้ มันยังเร็วเกินไปครับที่จะสรุปว่าคำทำนายอนาคตของนิโคลัส เนโกรพอนตี จะถูกต้องหรือไม่ ถ้ามองในแง่ร้ายหน่อย คงมีคุณผู้อ่านบางคนคิดอยู่ในใจว่า อะไรกัน ความรู้ความสามารถที่พวกเรามีในตอนนี้ต้องพยายามลำบากฝ่าฟันเพื่อ   ให้ได้มันมาติดตัว ต่อไปมันจะกลายเป็น     แค่สินค้าชิ้นหนึ่งที่ไม่ว่าใครก็สามารถซื้อได้ด้วยเงินน่ะหรือ แต่ถ้าลองก้าวออกมามองภาพกว้างอีกสักนิด ลองมองมันในแง่ดีบ้าง ผมคิดว่ายาวิเศษนี้จะทำให้วงการการศึกษาทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสิ้นเชิงเลยล่ะครับ แทนที่การศึกษาจะเป็นไปเพื่อเรียนรู้อดีต เรียนเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่มีใครบางคนคิดไว้หรือทำไว้ให้อยู่แล้ว การศึกษาในโลกอนาคตก็จะกลายเป็นการเรียนรู้เพื่อมุ่งไปสู่อนาคตข้างหน้าจริง ๆ เป็นการเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่มีขายอยู่ในยาเม็ดไหนบนโลกใบนี้ เรียกว่าเป็นยุคของการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของแท้เลยล่ะครับ. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เม็ดยาส่งต่อความรู้ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Posts related

 














ช่วงฝนชุก – รู้หลบ

ข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้ง ปริมาณฝนมากที่สุดของปี อยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน โดยพื้นที่ฝนมากส่วนใหญ่ อยู่ด้านหน้าทิวเขา หรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ขณะนี้ช่วงฝนชุกเดือนแรก กำลังจะผ่านไป ความเสี่ยงที่จะเจอฝนชุกเหลืออีก 1 เดือน การคาดหมายอากาศล่าสุด กรมอุตุฯระบุว่า ในสัปดาห์นี้ ช่วงวันที่ 25-28 ส.ค.จะมีฝนชุก ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ จะเจอหนัก ๆ วันที่ 28-30 ส.ค. ซึ่งต้องระวัง ทั้งฝนที่จะตกกระหน่ำเฉพาะหน้า และคอยดูฝนที่ตกสะสมต่อเนื่องว่าจะผสมโรงให้เกิดน้ำท่วมไหม ความรู้ทั่วไปที่กรมอุตุฯ แจงไว้บนเว็บไซต์ ในช่วงต่อจากนี้ พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน อย่างไรก็ดี ฝนที่ตกชุกหนาแน่นช่วงนี้ หากนำสถิติย้อนหลังมาเทียบเคียง จะพบว่ายังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอีกเยอะ เช่นในกรุงเทพมหานคร ก็ต่ำกว่าตั้ง 52 เปอร์เซ็นต์ บางจังหวัดที่เคยมีปัญหาน้ำท่วม มาคราวนี้มีฝนน้อยจนน่าใจหาย อย่างเช่น ที่ อ.สูงเม่น และอ.เด่นชัย จ.แพร่ แม้อยู่ในช่วงฤดูฝน แต่ปีนี้ ตกน้อยกว่าค่าปกติ ทำให้เกิดปัญหาท่าทีขัดแย้งในการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทานแม่ยมฝั่งขวาตอนล่าง.. ต้องจัดรอบเวรส่งน้ำ เพื่อกระจายน้ำให้มีใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ถึงช่วยลดความขัดแย้งที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรง ให้จบลงด้วยความเข้าใจอันดี ทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม ที่น้ำต้นทุนส่วนใหญ่จะมาจากฝายแม่ยม จะเห็นได้ว่า แม้ยังอยู่ในฤดูฝน และเป็นระยะชุกหนาแน่น ยังมีปัญหาน้ำน้อย จนต้องจัดเวรแบ่งปันกันใช้ น่าห่วงว่าฤดูแล้งที่จะมาถึง อีก 3–4 เดือนข้างหน้า จะรุนแรงขนาดไหน สถานการณ์น้ำในเขื่อนที่เหลือน้อยระดับวิกฤติหลายแห่ง เขื่อนน้ำน้อยวิกฤติหลายแห่ง โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) แจกแจงไว้ว่า เขื่อนอุบลรัตน์ ใช้การได้ 4%, เขื่อนภูมิพล ก็ 4%, เขื่อนทับเสลา 6%, เขื่อนลำพระเพลิง 7%, เขื่อนจุฬาภรณ์ 7%, เขื่อนแม่กวง 8%,เขื่อนสิริกิติ์ 12%, อ่างเก็บน้ำบางพระ มี 13%, เขื่อนศรีนครินทร์ 13%,เขื่อนคลองสียัด 14% มากที่สุด ที่เขื่อนวชิราลงกรณ มี 17% เวลานี้จึงเป็นช่วงฝนชุก ที่ต้องคำนึงถึงหน้าแล้งให้มากที่สุด ต่อจากนี้ถึงจะตกหนักแค่ไหน ก็เสี่ยงจะไม่พอใช้อยู่ดี. หยาดน้ำฟ้า

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ช่วงฝนชุก – รู้หลบ

ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนทีโอที

ในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการดำรงชีวิตของคนปัจจุบัน การจะให้ชุมชนและท้องถิ่นของตนเข้มแข็งและเป็นที่รู้จักสิ่งสำคัญคือการนำไอทีเข้าไปช่วยเสริม นายวุฒิดนัย ฐิตะกสิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริการสื่อสารไร้สายและบริการเพื่อสังคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ในฐานะที่ ทีโอที เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ดังนั้น การให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ล่าสุด ทีโอที ได้สนับสนุนศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนโรงเรียนรุจิรพัฒน์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ตามโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อโรงเรียนในการช่วยยกระดับมาตรฐานทางการศึกษา ให้มีความใกล้เคียงกับโรงเรียนในชุมชนเมืองแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์กับเด็กนักเรียนได้เปิดโลกทัศน์ให้มีความรอบรู้มากขึ้น รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและชุมชนในบริเวณโรงเรียนได้ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการส่งข้อมูลข่าวสารและการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการศึกษา การแพทย์การสาธารณสุข การคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจ และสังคม อย่างไรก็ตาม ทีโอที ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนรุจิรพัฒน์ จังหวัดราชบุรี โรงเรียนบ้านกองม่องทะ จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และโรงเรียนซับม่วงวิทยา จังหวัดสระแก้ว ถือเป็นโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ประธานองคมนตรีและองคมนตรีเป็นผู้จัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ทีโอที ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสัญญาณ อินเทอร์เน็ต แบบไอพีสตาร์ ความเร็ว 10/2 เมกะบิต พร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ 11 เครื่อง เครื่องพิมพ์ เลเซอร์ พรินเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง เครื่องรับโทรทัศน์ แอลอีดี พร้อมอุปกรณ์รับสัญญาณ ทีวี จานดาวเทียม จำนวน 1 ชุด เครื่องโปรเจคเตอร์พร้อมจอภาพ จำนวน 1 ชุด เครื่องเล่น ดีวีดี จำนวน 1 ชุด นายวุฒิดนัย เล่าว่า โครงการอินเทอร์เน็ตชุมชน จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง สร้างอาชีพ ทั้งในเรื่องของการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดตนเองผ่านการจัดทำเว็บไซต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่ปัจจุบันการทำธุรกิจค้าขายออนไลน์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทีโอที ได้ดำเนินการโครงการ USO อาทิ ปี 2549-2552 ได้รับอนุญาตจาก กสทช.ในการสนับสนุนการให้บริการระยะที่ 1 โดยติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์สาธารณะพร้อมการบำรุงรักษาให้กับหมู่บ้าน ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ และหน่วยงานช่วยเหลือสังคม รวมทั้งสิ้น 21,607 เลขหมาย โดย ทีโอที ได้นำระบบสื่อสารไม่ว่าจะเป็นระบบข่ายสายเคเบิลทองแดง ระบบเคเบิลใยแก้ว ระบบสื่อสารไร้สาย Wi-Net และเทคโนโลยี LTE รวมถึงการจัดอุปกรณ์สื่อสารที่เหมาะสมเพื่อให้การเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐานเป็นไปอย่างทั่วถึง ต่อมา ปี 2553-2556 ติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้านจำนวน 302 เลขหมาย สร้าง USO Net ศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน 206 แห่ง และศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน 118 แห่ง รวมถึงศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสเพิ่มอีกจำนวน 25 แห่งด้วย สำหรับปี 2557 ทีโอที ได้ร่วมประมูลและเสนอราคาต่ำสุดในโครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดหนองคาย เพื่อให้บริการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ 114 แห่ง สร้างศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนประจำตำบล USO 19 แห่ง และให้บริการอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน สถานีอนามัย และอบต. 321 แห่งด้วย การสร้างศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศ ช่วยชุมชนได้นำเอาผลิตภัณฑ์หรือจุดเด่นในพื้นที่ของตนเองมาเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้เห็น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนของตนเองได้อย่างยั่งยืน. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนทีโอที

Page 154 of 805:« First« 151 152 153 154 155 156 157 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file