shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ปี 57 กูรูฟันธงเกมบนมือถือมาแรงสุด!!

  วงการเกมของเมืองไทยในปี 57 มีอะไรที่น่าจับตาอยู่ไม่น้อยหลังจากที่โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมอย่างมากจากคนไทย ส่งผลให้ “แอพพลิเคชั่นเกม” หรือ เกมบนโทรศัพท์มือถือ มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากปัจจุบันผู้ให้บริการเกมออนไลน์ในไทยทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต่างให้ความสนใจรวมถึงประกาศที่จะโดดลงเล่นในตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือ ด้วยการนำเสนอเกมที่พัฒนาขึ้นเอง หรือร่วมกับพาร์ตเนอร์พัฒนาขึ้นให้มีเนื้อหาเหมาะสมกับตลาดในเมืองไทย ซึ่งเชื่อว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จได้ โดยผู้นำตลาดเกมออนไลน์ในไทย “ยักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่ง” อย่าง บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ได้ใส่เกียร์เดินหน้าลุยตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือ ด้วยการส่งเกมในตำนาน คือ “แรคนาร็อค ออนไลน์ โมบาย” ในเวอร์ชั่นมือถือ ลงตลาดในช่วงต้นเดือน ม.ค. 57 นี้ โดยรองรับทั้งะบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และไอโอเอส ซึ่งเกมนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในต่างประเทศทั้งเกาหลีใต้ ไต้หวัน และในทวีปอเมริกาเหนือ มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2.5 ล้านครั้ง   นอกจากนี้ทางเอเชียซอฟท์ยังมีแผนเปิดเกมบนมือถืออีกไม่ต่ำกว่า 4-5 เกมในปี 57 และยังคาดหวังว่า เกมบนโทรศัพท์มือถือจะเป็นช่องทางใหม่ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัท โดยเฉพาะเกม แรคนาร็อค ออนไลน์ โมบาย นั้น คาดหวังว่าจะทำรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10-15 ล้านบาท เลยทีเดียว  อย่างไรก็ตามนอกจากทาง บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แล้ว ผู้ให้บริการายอื่น ๆ ก็ให้ความสนใจในตลาดนี้เช่นเดียวกัน โดยทาง บริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์อันดับต้น ๆ ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ก็ประกาศรุกตลาด “โมบาย โซเชียล เกม” อย่างเต็มที่ โดยได้คาดการณ์ว่าจากยอดขายแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนของไทยในปี 2556 ซึ่งรวมกันมีสูงถึง 30 ล้านเครื่อง จะส่งผลให้มีผู้เล่นเกมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึง 45% และแอพพลิเคชั่นเกมจะมีสัดส่วนการดาวน์โหลดสูงสุดอยู่ที่ 37%  มากกว่าการดาวน์โหลดเพลงที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 19% เท่านั้น!! บริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด ได้เตรียมงบประมาณสูงถึง 60 ล้านบาท เพื่อลงทุนใน “โมบาย โซเชียล เกม”  พร้อมร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทผู้พัฒนาเกมทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำเกมที่มีคุณภาพและหลากหลายมาเปิดให้บริการในไทยตั้งแต่ปี 56 โดยมีเกมที่เปิดให้บริการแล้ว อาทิ  สเปเชียล  ฟอร์ซ เน็ต (Special Force Net), กัน แอนด์ เบลด (Gun N’ Blade) และฮีโร่ พัสเซิล (Hero Puzzle)  และส่วนในปี 57 มีแผนเปิดตัวเกมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มุมมองของผู้คลุกคลีอยู่กับตลาดเกมของไทย อย่าง นายปรีชา ไพรภัทรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มอล แอ็คเซสพอร์ทัล จำกัด  ผู้ดำเนินธุรกิจบัตรเติมเงินเกมออนไลน์ และเกมบนเฟซบุ๊ก กล่าวว่า แนวโน้มตลาดเกมของไทยในปี 57 เชื่อว่าจะเป็นตลาดของเกมบนโทรศัพท์มือถือที่มีโอกาสจะเติบโตเพิ่มมากขึ้นกว่าเกมประเภทอื่น ๆ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการเปิดให้บริการเครือข่าย 3 จี  ของผู้ให้บริการค่ายต่าง ๆ ส่งผลให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ประกอบกับสมาร์ทโฟนมีราคาถูกลงมาก  เช่น สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มีเงินเพียง 2,000-3,000 บาท ก็สามารถหาซื้อได้แล้ว  ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบวกให้กับตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือทั้งนั้น   “ที่ผ่านมาตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือยังไม่มีตัวเลขมูลค่าอย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีใครทำการเก็บตัวเลขอย่างจริงจังแต่โดยส่วนตัวคิดว่าในปี 56 ตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือของไทยจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ขณะที่ในปี  57 นี้ เชื่อว่าจะเติบโตขึ้นไปถึง 1,000 ล้านบาทได้” นายปรีชา กล่าว  อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะทำเกมบนโทรศัพท์มือถือประสบความสำเร็จในตลาดได้นั้น ผู้บริหารของมอลฯ มองว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเกมที่มีคนเล่นจำนวนมากก็ได้ เพราะอย่างเกมแบบพัซเซิ่ล ที่มีคนเล่นจำนวนมากแต่มีอัตราการจ่ายเงินซื้อไอเท็มหรือของในเกมน้อย แต่ควรจะพัฒนาหรือนำเกมที่ทำให้คนเล่นยอมจ่ายเงินในอัตราที่สูงได้ โดยที่จำนวนผู้เล่นเกมอาจมีจำนวนไม่มากก็ได้ จากแนวโน้มการเติบโตของเกมบนโทรศัพท์มือถือนอกจากจะทำให้ค่ายเกมออนไลน์หลาย ๆ ค่ายต้องหันมาเล่นในตลาดนี้แล้ว ยังมีค่ายเกมใหม่ ๆ เกิดขึ้นในตลาดด้วย อย่างเช่น บริษัท ซีเอ็มทีไทย จำกัด ซึ่งเป็นค่ายเกมที่เปิดตัวขึ้นเพื่อให้บริการเกมบนโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว นายตนัย ไตรทิพยพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็มทีไทย จำกัด  กล่าวว่า จุดเริ่มต้นการตั้งบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจเกมบนโทรศัพท์มือถือในไทยนั้น มาจากที่รู้จักกับทางทีมงานจากเกาหลีใต้ที่เคยทำธุรกิจเกมออนไลน์ด้วยกัน  ซึ่งได้เล็งเห็นโอกาสในธุรกิจเกมบนโทรศัพท์มือถือ จากที่ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคคอนเทนต์ผ่านมือถือโตขึ้นอย่างมาก จึงร่วมกับพาร์ตเนอร์จากเกาหลีใต้ ตั้งบริษัทเมื่อเดือน มี.ค. 56 จากนั้นในช่วงกลางปีก็ได้บริษัท เกมวิว (Gamevil) ที่เป็นผู้พัฒนาคอนเทนต์เกี่ยวกับเกมชื่อดังจากเกาหลี ใต้ เข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์เพิ่ม และได้นำเกมบนโทรศัพท์มือถือของเกมวิวมาเปิดให้บริการเป็นเกมแรก คือ “เกมสตีล คอมมานเดอร์” ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส และแอนดรอยด์ ในกลางเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา   “การบริโภคคอนเทนต์ผ่านโมบาย ดีไวซ์มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100% และปัจจุบันคนมากกว่า 60% ก็เช็กอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือ ประกอบกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ก็มีราคาถูกลง โดยเฉพาะแอนดรอยด์ ไม่เพียงยี่ห้อดัง ๆ เท่านั้น เครื่องจากจีนที่มีคุณภาพพอใช้ก็เข้ามาในตลาดจำนวนมาก ทำให้คนเป็นเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น”  ตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือยังถือเป็นตลาดใหม่ที่ยังมีโอกาสทางธุรกิจ แม้ว่าในปี 56 หลาย ๆ บริษัทประกาศจะเริ่มให้บริการเกมบนโทรศัพท์มือถือ  ซึ่งทางกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็มทีไทย จำกัด มองว่า ถึงแม้ในปี 57 จะถือเป็นปีของเกมบนโทรศัพท์มือถือ แต่เชื่อว่าตลาดยังคงไม่ได้แข่งกันรุนแรงมากนัก แม้ว่าจะมีผู้เล่นรายใหญ่ ๆเข้ามาในตลาด จนกว่าบริษัทใหญ่ ๆ เหล่านี้จะทุ่มงบประมาณการทำตลาดจำนวนมาก เมื่อถึงเวลานั้นตลาดจะแข่งขันกันดุเดือดมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับช่องทางการหารายได้ของเกมบนโทรศัพท์มือถือจะมีลักษณะคล้าย ๆ เกมออนไลน์ ที่เปิดให้เล่นฟรีขายไอเท็มในเกม ขณะที่เกมบนโทรศัพท์มือถือจะมีทั้งแบบเสียเงินในการดาวน์โหลด และดาวน์โหลดฟรีเล่นฟรีแล้วให้ผู้เล่นเติมเงินหรือเหรียญในเกมเพื่อซื้อไอเท็มให้เล่นเก่งขึ้น   นายตนัย ไตรทิพยพงษ์ กล่าวต่อว่า การประสบความสำเร็จในตลาดนั้น มองว่าเกมทุก ๆ แนวมีโอกาสหมด เนื่องจากเกมทุกแนวก็จะมีกลุ่มลูกค้าของตนเองอยู่แล้ว สำหรับแผนของบริษัทหลังจากได้เริ่มเปิดให้บริการ “เกมสตีล คอมมานเดอร์” แล้ว ในปี 57 ก็มีแผนเตรียมนำเกมบนโทรศัพท์มือถือเข้ามาเปิดให้บริการเพิ่มอีกอย่างน้อย 12 เกม โดยจะมีเกมทุกแนว จับกลุ่มผู้เล่นตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน  แผนการทำตลาดจะเน้นแบบชาวบ้านคือ เข้าไปทุกที่ที่มีกลุ่มลูกค้าอยู่ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วถึง  ทั้งนี้การมาของเกมบนโทรศัพท์มือถือมีการมองกันว่า อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดเกมออนไลน์นั้น ในส่วนนี้ นายตนัย กล่าวว่า ตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือ คงไม่ได้มากินส่วนแบ่งของตลาดเกมออนไลน์ เพราะถือว่าตลาดยังมีช่องว่างอยู่และจะทำให้ตลาดกว้างขึ้น ซึ่งเกมบนโทรศัพท์มือถือจะถือเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ชอบเล่นเกม  ขณะที่เกมออนไลน์ก็จะมีฐานผู้เล่นประจำอยู่ที่ชอบเล่นผ่านคอมพิวเตอร์พีซี  เช่น เกมแรคนาร็อค  ที่เป็นเกมออนไลน์แรก ๆ ของไทยซึ่งเป็นกลุ่มที่เล่นมานานตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันส่วนใหญ่ขยับเข้าสู่วัยทำงานแล้ว ซึ่งก็อาจจะหันมาทดลองเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือบ้าง แต่โดยหลัก ๆ แล้วยังคงเล่นเกมผ่านคอมพิวเตอร์อยู่เพราะได้อารมณ์ที่ภาพและเสียงสมบูรณ์กว่าจากจอภาพและลำโพงที่ใหญ่กว่า สอดคล้องกับนายปรีชา ไพรภัทรกุล ที่มองว่า ตลาดเกมออนไลน์ที่คาดว่าในปี 56 มีมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านบาท คงไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคาดว่าในปี 57 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านบาท เพราะมีกลุ่มผู้เล่นประจำอยู่แล้วและเล่นอย่างจริงจัง ขณะที่เกมบนโทรศัพท์มือถือจะเป็นกลุ่มคนเล่นเกมเพื่อพักผ่อน หรือเล่นเพื่อนฆ่าเวลาระหว่างเดินทางหรืออยู่นอกบ้าน ซึ่งในอนาคตหากผู้ให้บริการเกมออนไลน์ สามารถเพิ่มการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเป็นการเล่นบนเซิร์ฟเวอร์หรือฐานข้อมูลเดียวกันของเกม จะทำให้ผู้เล่นมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยหากอยู่บ้านก็เล่นผ่านคอมพิวเตอร์ เมื่อออกมาอยู่นอกบ้านแล้วมีเวลาต้องการจะเล่นก็สามารถเล่นผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนได้ทันที   ถือเป็นแนวโน้มที่ต้องจับตาดูในปี 57 สำหรับตลาดเกมในเมืองไทยที่อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการในวงการเกมต้องปรับแผนธุรกิจเพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ติดตัวที่ทุกคนขาดไม่ได้แล้ว.  จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปี 57 กูรูฟันธงเกมบนมือถือมาแรงสุด!!

Posts related

 














กสทช. จบประมูลทีวีดิจิทัลอู้ฟู่งานต่อไปเตรียมลุยวิทยุดิจิทัล

ก่อนที่อีกไม่กี่วันคนไทยจะเข้าสู่เทศกาลแห่งความสุขกับปีม้าของคนไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้มอบของขวัญชิ้นใหญ่ ทีวีดิจิทัลŽ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการทีวีไทยครั้งประวัติศาสตร์ จากระบบอะนาล็อกมาสู่ระบบดิจิทัล ให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกยุคดิจิทัล และสร้างผู้ประกอบการฟรีทีวีจากเดิม 6 ช่องเป็นฟรีทีวี 48 ช่อง วันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา กสท.ถือฤกษ์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ได้อย่างสวยสดงดงาม โดยการประมูลทีวีดิจิทัลเพื่อให้บริการธุรกิจจำนวน 24 ช่อง และได้สร้างมูลค่ารายได้จากการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลมหาศาลกว่า 50,862 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการประมูลช่องคุณภาพคมชัดสูง (เอชดี) จำนวน 7 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 1,510 ล้านบาทเคาะราคาครั้งละ 10 ล้านบาท ซึ่งสร้างมูลค่าในช่องเอชดีถึง 23,700 ล้านบาท โดยบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ในเครือช่อง 3 ) เคาะราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท  ส่วนช่องคุณภาพมาตรฐาน (เอสดี) จำนวน 7 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 380 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 5 ล้านบาท สร้างมูลค่าในช่องเอสดีจำนวน 15,950 ล้านบาท โดยบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพอยท์) เคาะราคาสูงสุดที่ 2,355 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ช่องข่าวสารและสาระ จำนวน 7 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 220 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 2 ล้านบาท สร้างมูลค่าในช่องถึง 9,238 ล้านบาท  ผู้ประกอบการเสนอราคาสูงสุดอยู่ที่ 1,338 ล้านบาท และช่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ใบอนุญาต เริ่มต้นการประมูล 140 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 2 ล้านบาท มีมูลค่ารวมช่องเด็ก 1,974 ล้านบาท อย่างไรก็ตามใบอนุญาตทีวีดิจิทัลมีอายุ 15 ปี โดยผู้เข้าร่วมประมูลได้คำนึงถึงต้นทุนประกอบกิจการและแผนการดำเนินธุรกิจมาเป็นอย่างดี ซึ่ง กสท.เชื่อว่าผู้ประกอบการฟรีทีวีรายใหม่จะใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ที่ได้ไปใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนผู้ที่ไม่ชนะการเสนอราคานั้นสามารถเช่าใช้ช่วงเวลาหรือเช่าใช้รายการได้ตามที่ กสท.กำหนดให้มีการแบ่งเช่าช่วงช่องรายการประมาณ  10-40% เพื่อให้ผู้ที่ประกอบการรายเล็ก หรือคนที่พลาดจากการเคาะประมูลได้มีโอกาสได้อยู่อุตสาหกรรมสื่อทีวีได้ พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธาน กสท. ระบุถึงรายได้จากการประมูลครั้งนี้ นำเข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประ โยชน์สาธารณะ พร้อมทั้งจะนำรายได้จากการประมูลทีวีดิจิทัล ไปสนับสนุนการจัดทำคูปองส่วนลดในการซื้อทีวีดิจิทัลซึ่งมีจูนเนอร์ แบบบิวต์-อินในตัวเครื่อง ระบบดีวีบี ที 2 หรือ ใช้สำหรับเป็นส่วนลดกล่องเซต ทอป บ็อกซ์ เพื่อใช้รับชมทีวีดิจิทัล เบื้องต้น กสท.คาดว่าราคาคูปองส่วนลดอยู่ที่ 690-700 บาท ซึ่งการแจกจ่ายจะเริ่มต้นในเดือน เม.ย. 57  ภายหลังจากการเปิดให้บริการทีวีดิจิทัลช่วงเดือน ก.พ. 57 สำหรับคูปองส่วนลดดังกล่าว กสท.คำนวนราคาเริ่มต้นการประมูลของทั้ง 4 หมวดหมู่จำนวน 24 ช่อง (ใบอนุญาต) ซึ่งมีมูลค่าราคาเริ่มต้นรวม 15,190 ล้านบาท นำไปหารจำนวนประชากรครัวเรือน       ทั้งนี้การแจกคูปองส่วนลดดังกล่าวนี้ กสท.มองว่า ต้องแจกให้ประชากรตามการเข้าถึงทีวีดิจิทัล  และการสนับสนุนคูปองส่วนลดนั้นยังช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนทีวีดิจิทัลได้รวดเร็วมากขึ้น เมื่อได้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเพื่อให้บริการธุรกิจ 24 ช่องแล้ว อีก 24 ช่องแบ่งเป็นช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และช่องบริการชุมชน 12 ช่อง รวมเป็น 48 ช่อง เมื่อภารกิจการประมูลทีวีดิจิทัลแล้วเสร็จ หลังจากนี้จับตาดูเนื้อหา ผังรายการ ที่ผู้ประกอบการฟรีทีวีหน้าใหม่ต้องรับศึกหนักแข่งขันเรื่องคอนเทนต์ ที่ว่าใครจะสามารถสร้างรายการได้ครองใจผู้รับชมได้ เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ นอกเหนือจากที่ผู้ประกอบการฟรีทีวีไม่พลาดลงสนามเคาะราคา แต่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ก็ไม่น้อยหน้าลงสนามประลองกันอย่างดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทรู ที่ส่ง 2 บริษัท อย่าง บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด คว้าช่องเอสดี และบริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค  (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด คว้าช่องข่าว  กลุ่มแกรมมี่ กวาด 2 ช่องคือ ช่องเอชดี และเอสดี  เครือเนชั่น โกย 2 ช่องเช่นกัน และที่มาแรงคือ บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล) ที่คว้าช่องข่าว และช่องเด็ก ส่วนฟรีทีวีเดิมอย่าง กลุ่มช่อง 3 ก็ไม่พลาดคว้ามากสุด 3 ช่องคือ ช่องเอชดี ช่องเอสดี และช่องเด็ก และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน )หรือช่อง 9  คว้าช่องเอชดี และช่องเด็ก  โดยรวมถึงสิ่งที่ต้องจับตามองเมื่อทีวีดิจิทัล เริ่มเข้ารูปเข้ารอย คือ การทำวิทยุดิจิทัล โดยถือว่าเป็นฤกษ์ดีเมื่อ กสท.ได้พิจารณาความร่วมมือในการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัลร่วมกับ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ที่มีความสามารถในการติดตั้งเครื่องรับวิทยุในระบบดิจิทัล กลุ่มผู้ผลิตเครื่องรับวิทยุในระบบดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง การทำวิทยุดิจิทัลเป็นภารกิจของ กสท.หลังจากนี้ เนื่องจากในปัจจุบันวิทยุเกิดปัญหา อาทิ การรบกวนวิทยุการบิน การโฆษณาอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ที่สร้างผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้บริโภค โดยในขณะนี้วิทยุในประเทศไทยมีกว่า 7,000 สถานี  โดย กสท.เร่งพยายามดึงผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการกำกับดูแลก่อนเพื่อจัดระเบียบให้เท่ากัน ซึ่งคาดว่าหากเกิดวิทยุดิจิทัล ปัญหาที่กล่าวมาจะหมดไป อย่างไรก็ตามยุคดิจิทัล ก้าวเข้ามาในประเทศไทย การประมูลทีวีดิจิทัลถือเป็นการพลิกวงการทีวีให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับข่าวสารหลากหลาย. สุรัสวดี สิทธิยศ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช. จบประมูลทีวีดิจิทัลอู้ฟู่งานต่อไปเตรียมลุยวิทยุดิจิทัล

‘สุภิญญา’แนะผู้บริโภคใจเย็นรอคูปองส่วนลดซื้อกล่อง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประมูลคลื่นโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลตามกฎหมายครั้งประวัติศาสตร์ ว่า หากไม่พบความผิดปรกติและไม่มีเรื่องร้องเรียน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์หรือ กสท. จะรับรองผลการประมูลได้ใน 15 วัน จากนั้นจะนำเรื่องเข้าบอร์ดใหญ่และมีกระบวนการออกใบอนุญาตต่อไป ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเลือกผู้ให้บริการเช่าโครงข่าย(MUX)เลือกหมายเลขช่อง เตรียมจ่ายเงินก้อนแรก และเตรียมการออกอากาศครั้งแรกไม่เกินไตรมาสแรกปีหน้า“สำหรับประชาชนสามารถซื้อกล่องรับทีวีดิจิทัลได้แล้วตามห้างร้านทั่วไปแต่ให้ขอดูสัญลักษณ์ของ กสทช. เพื่อเป็นการรับรองมาตรฐานเทคนิคว่าดูได้แน่นอน สำหรับผู้ที่ยังไม่อยากซื้อเองก่อนให้อดใจรออีกนิดหลังรับเงินก้อนแรกจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาต เพราะรายได้ดังกล่าวจะนำเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์โดยแบ่งจ่ายเป็น4 งวด รายได้จากการประมูลประมาณครึ่งหนึ่งจะคืนกลับไปเป็นคูปองในการซื้อกล่องรับหรือทีวีใหม่ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเพิ่มมูลค่าของคูปองให้กับ 22 ล้านครัวเรือนหลังพบว่า รายได้เงินมากกว่าราคาตั้งต้นเยอะจึงขอฝากเครือข่ายผู้บริโภคช่วยจับตาด้วยเพราะเกี่ยวข้องกับธรรมมาภิบาลและผลประโยชน์สาธารณะรวมถึงอาจคาบเกี่ยวกับบอร์ดกสทช.ในชุดปัจจุบันและอนาคตด้วย” นางสาวสุภิญญา กล่าวผลการประมูลตลอดสองวันที่ผ่านมานางสาวสุภิญญา ยอมรับว่าเกินความคาดหมาย เพราะการแข่งขันคึกคักมากสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมฟรีทีวียังเป็นที่ต้องการสูงและเติบโตไปได้อีกประเมินจากความพร้อมลงทุนของผู้ประกอบการ แม้จะเสี่ยงขาดทุนในช่วงปีแรกๆ และแม้จะลงทุนไปในทีวีดาวเทียมแล้วก็ตาม ทั้งนี้การผลิตในระบบฟรีทีวีคงต้องเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายเพราะจะเป็นสื่อทีวีที่เข้าถึงประชาชนทั้งประเทศ มูลค่าจากการประมูลประมาณ 50,862 ล้านบาทสังคมต้องจับตาว่า กองทุนก้อนนี้จะถูกบริหารจัดการอย่างไรโดยบอร์ดกองทุนฯ ร่วมกับกสทช. อย่างไร นางสาวสุภิญญากล่าวด้วยว่า  ส่วนการกำกับดูแลเนื้อหา บอร์ด กสท.ได้ตกลงร่วมกันระดับหนึ่งแล้วว่า การเข้าไปควบคุมโดยรัฐแบบใช้อำนาจตรงคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาทบทวนร่างประกาศการกำกับเนื้อหาตามมาตรา37 ในการประชุมนัดแรกของปี วันจันทร์ที่6 มกราคม 57 พร้อมวาระการรับรองผลการประมูลไปด้วยเพื่อสร้างบรรยากาศเข้าสู่การปลดแอกอิสรภาพให้กับฟรีทีวีในยุคดิจิทัลพร้อมส่งเสริมการกำกับดูแลตนเอง/กันเองขององค์กรสื่อและการกำกับร่วมกันระหว่างกสทช. และ ผู้รับใบอนุญาตให้จริงจังมากขึ้น ก็เหมือนนักเรียนจะเปิดเทอมใหม่มีจุดเริ่มนับหนึ่งในกติกาใหม่และเวทีใหม่พร้อมๆกัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่กสทช.จะได้ใช้จังหวะนี้ในการเปิดเวทีพูดคุย เพื่อวางกติกาหรือ Code of Conduct/Practiceต่างๆร่วมกันอันจะนำไปสู่การสร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิเสรีภาพของสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคม 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘สุภิญญา’แนะผู้บริโภคใจเย็นรอคูปองส่วนลดซื้อกล่อง

Page 628 of 805:« First« 625 626 627 628 629 630 631 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file