shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

“สุภิญญา” แนะ ควรทำแผน การรับส่งสัญญาณวิทยุดิจิทัลให้ชัดเจน

วันนี้ (19 ธ.ค.56) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนตาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ภายหลังมติบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบวาระ บันทึกความเข้าใจ เรื่อง ความร่วมมือในการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล ร่วมกับหน่วยงานรัฐ และ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ที่มีความสามารถในการติดตั้งเครื่องรับวิทยุในระบบดิจิทัลนั้นทั้งนี้ ตนได้มีความเห็นแตกต่างจากกรรมการเสียงข้างมาก เนื่องจากการดำเนินโครงการจัดทำความร่วมมือในการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล ควรดำเนินการหลังจากที่ กสทช.มีแนวทางและแผนการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัลอย่างเป็นทางการ และมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัลเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะหากดำเนินโครงการจัดทำความร่วมมือซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแผนการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัลก่อนโดยมิได้ประกาศแผนที่ชัดเจนต่อสาธารณะ อาจก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการยอมรับของสาธารณะอย่างไรก็ตาม ในส่วนของลำดับขั้นตอนกระบวนการที่สอดคล้องกับกฎหมาย เนื่องจากเป็นกรณีที่ผลกระทบต่อสาธารณะไม่แตกต่างจากการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งในรายละเอียดของโครงการฯ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจากหลายภาคส่วนมีส่วนร่วม อาทิ สถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ตลอดจนผู้ประกอบการภาคธุรกิจ โดยมีการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกที่โปร่งใสและเปิดเผยต่อสาธารณะ”การดำเนินการวิทยุดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่ เรื่องใหญ่ที่ซับซ้อน เพราะเกี่ยวพันกับการให้สิทธิหน่วยงานรัฐเดิมก่อน ควรมีความชัดเจนและเป็นธรรมกับรายเล็กด้วย รวมทั้งการทำวิทยุระบบดิจิทัลจะเป็นการขยายพื้นที่ภาคธุรกิจ หรือแก้ปัญหาเดิมของวิทยุเอฟเอ็มในภาคธุรกิจ ต้องตอบสังคมและให้ข้อมูลด้วย สำคัญที่สุด สำนักงานควรจัดทำบทวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายดิจิทัล ผลดี ผลเสีย การจัดทำ Road Map การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ และกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน แม้จะเป็นเพิ่งเป็นปีแรกของการเริ่มต้นก็ตาม” นางสาวสุภิญญา กล่าว

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “สุภิญญา” แนะ ควรทำแผน การรับส่งสัญญาณวิทยุดิจิทัลให้ชัดเจน

Posts related

 














กสทช.สาธิตเคาะทีวีดิจิทัลรอบผู้ประกอบการช่วงเช้า

วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่อาคาร CAT Tower บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จัดสาธิตและทดลองการประมูลทีวีดิจิทัลเพื่อให้บริการธุรกิจ 24 ช่อง โดยบรรยากาศช่วงเช้าได้เปิดให้ผู้ที่เข้าร่วมประมูลที่ต้องการทดลอง ได้ทดสอบระบบประมูล โดยทดลองเคาะช่องคุณภาพคมชัดสูง (เอชดี ) ซึ่งมีราคาเริ่มต้นการประมูล 1,510 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 10 ล้านบาท  ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลได้สอบถามข้อสงสัย อาทิ หากกรณีเครื่องขัดข้องหรือเกิดปัญหาจะต้องแก้ไขอย่างไรให้รวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องเวลา รวมถึงความคล่องตัวการใช้งานของแป้นพิมพ์ และการคลิกเม้าส์ ว่ามีศักยภาพคล่องตัวเพียงใด  สำหรับ การสาธิตและทดลองครั้งนี้ เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจ รูปแบบโปรแกรมซอฟต์แวร์การประมูลรวมถึงกระบวนการขั้นตอนและวิธีการจำลอง ตั้งแต่การตรวจสัมภาระผู้เข้าร่วมประมูล ลงทะเบียนตามหมวดหมวดหมู่ และดำเนินการจับสลากโดยจะมีกสท.เป็นผู้จับสลากเพื่อเลือกผู้ประกอบการขึ้นมาจับสลากเพื่อเลือก Usermame และ Password เพื่อนำไปใช้ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ และจับสลากเลือกลำดับห้อง และขึ้นลิฟต์ไปยังห้องหมายเลขที่จับได้ โดยการนำของเจ้าหน้าที่ที่จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้ หากเกิดปัญหาเครื่องที่ทำการเคาะประมูลระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาเครื่องจะใช้เวลาเพียง 1 นาที  อย่างไรก็ตาม การเคาะประมูลต้องอยู่ภายในระยะเวลา 5 นาที หากไม่เคาะตามกำหนดระบบจะตัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูลทันที และถูกยึดเงินประกัน10% ของหมวดหมู่ที่ประมูล โดยการประมูลจะใช้ระยะเวลา 60 นาที หากมีผู้เสนอราคามีผู้ชนะเกินใบอนุญาต จะขยายระยะเวลาอีก 5 นาที โดยผู้ประมูลทุกรายสามารถเคาะประมูลต่อได้ แต่หากในกรณีที่ขยายระยะเวลา 5 นาทีแล้วเกิดไม่มีการเคาะประมูลผู้ที่ชนะเท่ากันในอันดับสุดท้ายต้องจับสลากเพื่อหาผู้ชนะต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช.สาธิตเคาะทีวีดิจิทัลรอบผู้ประกอบการช่วงเช้า

สาวน้อยนักประกอบการแห่งปี – โลกาภิวัตน์

มารีตา เช็ง สาวน้อยวิศวกรอายุ 24 ปี ได้ตั้งบริษัททำหุ่นยนต์เพื่อช่วยคนพิการจนได้รับรางวัล คนรุ่นใหม่แห่งออสเตรเลียประจำปี โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์มีอะไรน่าสนใจ จนนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียชื่นชมและมอบรางวัลให้ด้วยความภูมิใจ สมัยเป็นเด็ก มารีตา เช็งต้องทำความสะอาดห้องด้วยตนเอง เธอก็เลยจินตนาการตั้งแต่สมัยเด็กว่าน่าจะมีกองทัพหุ่นยนต์มาช่วยเธอทำงานเพราะงานทำความสะอาดห้องเป็นงานหนักและอาจจะสกปรกสักหน่อยก็เลยทำให้เธอทำเช่นนั้น “ฉันมองรอบ ๆ ตัวและอยากจะได้หุ่นยนต์มาช่วยกัน ภาระงานทำความสะอาดห้องต่างๆ ฉันก็เลยคิดว่าจะต้องมีส่วนในการสร้างหุ่นยนต์เป็นจริงให้ได้” มารีตา เช็ง ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่อัจฉริยะที่สุดคนหนึ่งของออสเตรเลีย เธอมีความรู้สึกว่าจะต้องใช้พลังสมองให้เป็นประโยชน์ให้ได้ ซึ่งล่าสุดเธอก็สามารถสร้างแขนมนุษย์เทียมได้ ซึ่งสามารถปฏิวัติวงการคนแขนขาพิการได้ทั่วโลก มารีตา เช็ง ได้มีโอกาสพูดให้กำลังใจกับผู้สนใจเข้ามาฟังจำนวนมากที่ โอเปรา เฮ้าส์ ที่เมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย ซึ่งก็มักจะย้ำว่าคนเราสามารถทำอะไรก็ได้ด้วยความมั่นใจ ในระยะหลัง แม้ด้วยวัยเพียง 14 ปี เธอก็สามารถพูดปาฐกถาบนเวทีด้วยความมั่นใจและให้กำลังใจโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงเพื่อส่งเสริมให้เด็กผู้หญิงได้ชอบการเรียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเธอได้มีโอกาสพูดบนเวทีถึง 150 ครั้งแล้ว ในประเทศออสเตรเลีย วิศวกรหญิงมีเพียง 11% ซึ่งก็พอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีแค่ 14% เช่นกัน ผมเข้าใจว่าประเทศไทยน่าจะน้อยกว่านี้แต่ในระยะหลังผู้หญิงเรียนวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้นเยอะ ซึ่งเธอก็รู้สึกว่าถ้าหากเด็กผู้หญิงรุ่นใหม่จะเรียนทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นจะเป็นเรื่องที่ดีน่าส่งเสริม “สมัยเดิม ๆ ใครก็คิดว่าการเรียนทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นเรื่องของผู้ชาย แต่สำหรับเธอแล้ว เธอมักจะตอบเสมอว่า เธอเรียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้วสนุกอย่างไร และก็ชักชวนให้เด็กผู้หญิงมาเรียนในสาขานี้ให้มากขึ้นและเธอก็ตั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า “โรโบกอลส์” หรือ สาวหุ่นยนต์ขึ้นมา แต่ช่วง 4 ปีเท่านั้น กลุ่มของเธอก็ขยายไปถึงประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเธอก็ได้สอนให้นักเรียนและนักศึกษาหญิงไปกว่า 8,000 คนแล้ว ด้วยการทำสัมมนาตามอีเวนต์หรืองานแสดงต่าง ๆ จำนวนมาก มารีตา เช็ง จบปริญญาในสาขาแมคคาทรอนิกส์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และมีบริษัทต่าง ๆ เข้ามาติดต่อและเสนองานให้ทำเยอะมากหลายแห่ง แต่เธอไม่สนใจ กลับตัดสินใจตั้งบริษัทชื่อ ทูมาร์ รอบอติกส์ หรือ บริษัทหุ่นยนต์ ซึ่งมุ่งเน้นสร้างหุ่นยนต์สวย ๆ และสามารถที่จะช่วยมนุษย์ทำงานประจำวันได้ดี ขณะนี้บริษัทมีทีมงานที่สามารถสร้างแขนกลอัจฉริยะขึ้นที่เรียกว่า จีวา (Jeva) ซึ่งสามารถช่วยคนแขนพิการ โดยติดตั้งกับรถเข็น สามารถสื่อได้โดยใช้เสียงและสามารถจำคำพูดและทำงานประเภทซ้ำ ๆ ได้ดี ชีวิตของมารีตา เช็งได้รับอิทธิพลจากที่บ้านตั้งแต่เด็ก เพราะอยู่กับคุณแม่คนเดียว ไม่มีพ่อ และคุณแม่เป็นคนทำความสะอาดในโรงแรม ซึ่งเธอก็เห็นคุณแม่ทำงานหนักอยู่กับการทำความสะอาดห้องในโรงแรมตลอดเวลา ก็เลยทำให้เธอคิดถึงเทคโนโลยีซึ่งจะต้องสร้างหุ่นยนต์ให้ได้ในอนาคตและเธอก็รักและชอบงานเทคโนโลยีแบบนี้ด้วย ก็เขียนบทความเหล่านี้ให้นักเรียนหญิงไทย เพื่อให้กำลังใจในการเรียนต่อของด้านสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจะได้เป็นนักประกอบการทางธุรกิจเช่นเธอ ตั้งแต่อายุ 24 ปีผมว่าโอนะ. ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สาวน้อยนักประกอบการแห่งปี – โลกาภิวัตน์

Page 651 of 805:« First« 648 649 650 651 652 653 654 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file