shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เอซีทีโมบายอวดนวัตกรรมใหม่รับชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพา

ผ่านบริการทีโอที จัสท์ เพย์ 3 รูปแบบ รองรับการเติบโตของตลาดค้าขายออนไลน์ และธุรกิจรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ดร.อภิรักษ์ ปรีชญสมบูรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด เปิดเผยว่า เอซีที โมบาย ได้ปรับธุรกิจจากผู้ให้บริการมือถือเป็นผู้ให้บริการวางแผนและติดตั้งระบบ แอพพลิเคชั่น (System Integrator)   ด้วยการนำนวัตกรรม ทีโอที จัสท์ เพย์ ( TOT Just Pay)  ระบบให้บริการรับชำระเงินผ่านเทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโมบายเพย์เมนต์มาต่อยอดธุรกิจ โดยเน้นเจาะกลุ่มธุรกิจการเงิน ธนาคาร ค้าปลีก การศึกษา การท่องเที่ยว การขนส่ง การบริการสาธารณะ จากข้อมูลพบว่า ปี 2556 มีจำนวนบัตรเครดิตสูงถึง 18.39 ล้านบัญชี และอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 9% โดยยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในประเทศ มีมูลค่าสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 16.35% ต่อปี ส่วนธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ก็มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง มียอดธุรกรรมผ่านโทรศัพท์ มือถือ สูงถึง 1 ล้านล้านบาท สำหรับบริการนวัตกรรมใหม่ของทีโอที จัสท์ เพย์ มี  3 รูปแบบคือ บริการ ทีโอที จัสท์ เพย์ เอ็มพีโอเอส (TOT Just Pay mPOS) เป็นระบบบริหารจัดการร้านค้า ณ จุดขาย (Mobile Point of Sale-mPOS) แบบออนไลน์บนอุปกรณ์แท็บเล็ต ซึ่งใช้เป็นระบบรับชำระเงินสำหรับร้านค้า  บริการทีโอที จัสท์ เพย์ ซีอาร์เอ็ม (TOT Just Pay CRM) เป็นระบบจัดการข้อมูลและรายงานสถิติออนไลน์แบบเรียลไทม์ และบริการทีโอที จัสท์ เพย์ วอลเล็ต (TOT Just Pay Wallet) แอพพลิเคชั่นกระเป๋าเงินออนไลน์ ให้ชำระค่าสินค้าและบริการได้โดยตรง คาดว่า จะให้บริการได้ภายในปี 2557.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอซีทีโมบายอวดนวัตกรรมใหม่รับชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพา

Posts related

 














TEIN เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการวิจัยข้ามทวีป – ฉลาดคิด

เปิดตัวในวงการวิจัยไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากับโครงการ TEIN 4 (เทียน 4) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาวิจัยด้วยวงจรความเร็วสูงระหว่างประเทศ  เพื่อส่งเสริมการวิจัยและความร่วมมือในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลุ่มประเทศยุโรป ดร.เฉลิมพล ชาญศรีภิญโญŽ ผู้เชี่ยวชาญวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) บอกว่า โครงการ  TEIN เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 โดยเริ่มจากการเชื่อมต่อระหว่างประเทศเกาหลีและฝรั่งเศส ก่อนขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งดำเนินงานมาจนถึงโครงการ  TEIN 4 ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว โดยเป็นการเข้าร่วมในโครงการ TEIN 2 ซึ่งไทยเข้าร่วมภายใต้ชื่อเครือข่ายว่า Thai REN (ไทยเรน) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายThaiSarn(ไทยสาน)ของเนคเทค และเครือข่าย UniNet (ยูนิเน็ต) ของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อกับ TEIN ด้วยความเร็ว 155 Mbps ปัจจุบันโครงการ TEIN 4 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ คือ จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย บังกลาเทศ เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ลาว ภูฏาน อัฟกานิสถาน กัมพูชา และพม่า สำหรับบทบาทของไทยในฐานะที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ดร.เฉลิมพล บอกว่า ทำให้ไทยมีเครือข่ายเชื่อมต่อเพื่อการศึกษาและวิจัย ที่เป็นทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยในประเทศไม่น้อยกว่า 300 แห่ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระหว่างประเทศที่มีราคาแพง รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้งานที่ต้องใช้วงจรความเร็วสูงได้ เช่น การทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายยุคใหม่ อย่าง ไอพีวี 6 การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกล การประยุกต์ใช้งานด้านการแพทย์ หรือการนำไปใช้งานด้านการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก รวมถึงใช้สนับสนุนการวิจัยด้าน e-Science (อี-ซายน์) ซึ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่มีความจุข้อมูลสูง และมีสมรรถนะในการคำนวณที่รวดเร็วสำหรับเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากที่เกิดจากการทดลอง สำหรับ TEIN 4 ดร.เฉลิมพลในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานโครงการนี้มาตั้งต้น บอกว่า เนื่องจากไทยเป็นสมาชิกมานานและมีเครือข่ายที่ค่อนข้างเสถียร จึงคาดหวังว่าจะทำให้หน่วยงานด้านการวิจัยของประเทศสามารถใช้ประโยชน์ของโครงข่ายได้อย่างเต็มที่มาก โดยเฉพาะการเชื่อมต่อการวิจัยไปยังต่างประเทศ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของงานวิจัยงานที่สำคัญ ๆ ในหลาย ๆ ด้าน  ซึ่งวันนี้แม้ไทยจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศเพื่อนบ้าน แต่อนาคตไทยยังสามารถที่จะก้าวไปเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อของภูมิภาคได้อีกด้วย.  นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : TEIN เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการวิจัยข้ามทวีป – ฉลาดคิด

มจธ.เปิดงานวิจัยฟิล์มแป้งกินได้ – กระดาษกันราน้ำมันหอมระเหย

รายงานข่าวจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.)แจ้งว่าร.ศ.ดร.อรพินเกิดชูชื่น อาจารย์คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีประสบความสำเร็จ คิดค้นผลิตภัณฑ์ฟิล์มเคลือบและคงความสดให้แก่ผลไม้พร้อมรับประทานสดทำด้วยแป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวเจ้าซึ่งช่วยลดการใช้สารเคมีและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งยังสามารถบริโภคได้ รศ.ดร.อรพินกล่าวว่าการพัฒนาต่อยอดมาเป็นลำดับจากฟิล์มแป้งที่ทำแล้วมีปัญหาขึ้นรูปยากความชื้นไม่คงที่ ใช้มือจับนานจะละลายก็ปรับด้วยการเติมไคโตซานสารธรรมชาติที่มีในสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้องเช่น เปลือกกุ้ง กั้ง และกระดองปูทำให้ฟิล์มแป้งยืดหยุ่นดีขึ้นรูปง่าย เชื้อจุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญได้เหมาะสำหรับการห่อหุ้มผักผลไม้สดอย่างมากแต่ก็พบปัญหาคือไคโตซานราคาแพงมากทำให้ต้นทุนการผลิตฟิล์มแป้งสูงไปด้วย ข่าวแจ้งวาเมื่อนำฟิล์มแป้งไปทดลองใช้กับข้าวอินทรีย์พบว่ามีมอดขึ้น รศ.ดร.ณัฏฐาเลาหกุลจิตต์ นักวิจัยอีกรายได้นำน้ำมันหอมระเหยสกัดจากกระเทียมซึ่งป้องกันและควบคุมด้วงงวงข้าวโพดหรือมอดได้ดีแต่มีกลิ่น จึงเปลี่ยนไปใช้ใบชะพลูซึ่งต้องพัฒนาเครื่องมืออีกชนิดเพื่อสกัดและกลั่นได้ด้วยวิธีธรรมชาติจนได้น้ำมันหอมระเหยที่ต้นทุนการผลิตไม่สูง รศ.ดร.อรพินกล่าวว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้ยังนำไปประยุกต์เป็นกระดาษกันเชื้อราเป็นกระดาษไร้สารเคมีโดยเติมน้ำมันหอมระเหยจากพืช3ชนิดคือมะกรูด มะนาว และส้มโอพบว่าการพ่นน้ำมันหอมระเหยลงบนกระดาษควบคุมเชื้อรา7ชนิดที่เจริญบนกระดาษได้ดีที่สุดและจึงมีโครงการต่อยอดด้วยการพ่นน้ำมันหอมระเหยบนวอเปเปอร์ในลักษณะอโรมาเทอราพีป้องกันเชื้อราและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ทั้งยังนำมาพ่นซ้ำได้ขณะนี้น้ำมันหอมดังกล่าวได้จดสิทธิบัตรแล้วภายใต้ชื่อ“สารเติมกลิ่น”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : มจธ.เปิดงานวิจัยฟิล์มแป้งกินได้ – กระดาษกันราน้ำมันหอมระเหย

Page 666 of 805:« First« 663 664 665 666 667 668 669 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file