shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เตือนวัสดุไวไฟในรถ 7 รายการ

นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ประกอบตัวถังรถ และผู้ผลิตเบาะนั่ง ให้หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ติดไฟง่าย ประกอบและติดตั้งในรถโดยสาร 7 รายการ ดังนี้ กาวยางที่ใช้ทาผ้าบุฝ้าเพดานและหนังหุ้มคอนโซลด้านหน้ารถ ผ้าม่าน ผ้าบุฝ้าเพดาน โฟมเบาะนั่ง ผ้าหุ้มเบาะนั่ง หนังหุ้มคอนโซลและเบาะนั่ง และไม้อัดบุผนังด้านข้างภายในตัวรถ เพื่อลดปัญหาการเกิดเพลิงไหม้วัสดุภายในรถโดยสาร ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร นายสมชัยกล่าวว่า ผลการศึกษาด้านความปลอดภัยของรถโดยสาร 2 ชั้นนั้น สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ได้ทดสอบความปลอดภัย รวมทั้งนำผลศึกษาเกี่ยวกับรถโดยสาร 2 ชั้นทั้งหมดมาประกอบการพิจารณาด้านความปลอดภัยแล้ว โดยสรุปว่ารถโดยสาร 2 ชั้น ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานตามที่ กำหนด ไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย สามารถให้บริการขนส่งผู้โดยสารได้ จึงไม่จำเป็นต้องยกเลิกการให้บริการรถโดยสาร 2 ชั้น   อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด จึงได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการที่ให้บริการรถโดยสาร 2 ชั้น ให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ โดยเฉพาะการใช้อัตราความเร็วรถในระหว่างทางโค้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ พร้อมกับนำเสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคมเพื่อพิจารณาและรับทราบแล้ว   นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะกรณีที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บร้ายแรง โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนจากจังหวัด ผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้แทนจากสำนักขนส่งจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหาสาเหตุของอุบัติเหตุ และหาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก แต่ไม่ได้มุ่งหวังเอาผิดหรือลงโทษใคร

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เตือนวัสดุไวไฟในรถ 7 รายการ

Posts related

 














มือถือ-แท็บเล็ตทำยอดพิมพ์ไดอารี่ร่วง

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) และประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดสั่งพิมพ์ปฏิทิน จากบริษัทเอกชน ราชการ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่ มียอดสั่งพิมพ์ในอัตราทรงตัว เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นภาพที่ถูกสั่งพิมพ์มากที่สุด  ขณะที่ไดอารี่มียอดสั่งพิมพ์ลดลง 20% จากปีที่แล้ว และยังเป็นการลดลงต่อเนื่องในช่วง 3-4ปี เพราะคนส่วนใหญ่ มาใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทน “ช่วง สิ้นปีของทุกปีจะเป็นช่วงที่คึกคักสุดยอมรับว่าปีนี้ค่อนข้างเงียบกว่าที่ คาดไว้มากแต่อาศัยว่าขณะนี้มีหน่วยงานต่างๆ ได้ทยอยสั่งพิมพ์หนังสือที่ระลึกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  จำนวนมากทำให้บรรยากาศการพิมพ์ดีขึ้น” ทั้งนี้แนวโน้มการพิมพ์ไดอารี่ในอนาคต คาดว่า จะได้รับผลกระทบมากขึ้น จากพฤติกรรมของคนที่นิยมหันมาบันทึกข้อความ  ตารางงานนัดหมายผ่านมือถือ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่ใช้ง่าย และมีระบบเตือนที่สำคัญยังพกพาสะดวกกว่า ส่วนหนังสืออ่านเล่น หรือพ็อคเก็ตบุ๊คปีนี้ยังเติบโตได้  3-5% จาก ปีที่แล้ว เนื่องจากยังไม่ได้รับผลกระทบจากสื่อดิจิตอลเท่าใดนัก แม้ว่า สื่อประเภทดังกล่าวเริ่มจะเข้ามาแทรกตลาดสิ่งพิมพ์มากขึ้นโดยเฉพาะในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯทำให้กลุ่มนี้มีโฆษณาที่ลดลงซึ่งคงจะต้องติดตามทิศทางกันต่อไป สำหรับภาพรวมสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ปี 56 คาด ว่า จะทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยการส่งออกของภาคธุรกิจปีนี้โดยรวมลดลงลดลงส่งผลกระทบต่อการ พิมพ์โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกต้องลดลงไปด้วย ขณะเดียวกันการบริโภคภายในประเทศก็ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุมาจากภาวะน้ำท่วมหลายจังหวัด ราคาพืชเกษตรตกต่ำ และนโยบายรถคันแรกทำให้คนกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายประหยัดลง เป็นต้น “แรงซื้อในประเทศที่เห็นได้ชัดจากงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติที่ผ่านมาแม้ว่าจำนวนผู้เข้าชมจะมากสุดถึง  2.5 ล้านคนและทำให้มีเงินสะพัดในงานราว 900 ล้านบาทแต่หากเทียบการใช้จ่ายต่อคนที่เข้ามาเพิ่มก็ทำให้ยอดขายไม่ได้เติบโต มากนักซึ่งก็บ่งชี้ให้เห็นว่าแรงซื้อคนไทยชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะตัวลง”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : มือถือ-แท็บเล็ตทำยอดพิมพ์ไดอารี่ร่วง

คลังหาแนวทางแก้ปัญหาธพว.-ธ.อิสลาม

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า  เตรียมหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหา 2 ธนาคารของรัฐ ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) เนื่องจากพบว่าธนาคารทั้ง 2 แห่งมีปัญหาในด้านการบริหารงานและการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลที่ยังไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ “ได้รับรายงานว่าคณะกรรมการธพว.มีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง  กับนายมนูญรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการ รวมถึงปัญหาด้านสภาพคล่องของธนาคาร ขณะที่ไอแบงก์ยังขาดผู้ดูแลระบบการบริหารงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการจึงจำ เป็นต้องเร่งสรรหาโดยเร็ว เพื่อจะได้รีบเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาของทั้ง 2 แบงก์ ไม่ค่อยคืบหน้า จึงต้องให้ สศค. และ สคร. เข้าไปช่วยดูแล เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดปัญหาบานปลายจนแก้ไขได้ยากขึ้น และจะส่งผลกระทบกับผู้ฝากเงิน รวมถึงการปล่อยสินเชื่อในอนาคตได้”   สำหรับการเพิ่มทุนให้กับธนาคารทั้ง 2 แห่งต้องดูด้วยว่าสามารถดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่  ซึ่งหากไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้กระทรวงการคลังอาจต้องทบทวนแผนเพิ่มทุนใหม่อีกครั้ง รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า  หากฝ่ายบริหารธพว.ทำงานตามแผนฟื้นฟูกิจการ คาดว่ากระทรวงการคลังจะพิจารณาการเพิ่มทุนจดทะเบียนให้กับธนาคารอีก 2,000 ล้านบาท จากที่ก่อนหน้านี้ได้ให้เพิ่มทุนไปแล้วประมาณ550 ล้านบาท  ขณะที่หนี้เอ็นพีแอลปัจจุบันอยู่ที่ 31,000 ล้านบาท ต้องลดเหลือ28,850 ล้านบาทสิ้นปีนี้  ขณะที่ไอแบงก์ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเอ็นพีแอลจะเหลือ 20,000 ล้านบาทในวันที่ 31 ธ.ค. 57 ซึ่งปัจจุบันมีหนี้เอ็นพีแอลประมาณ 23,000 ล้านบาทและมีพอร์ตสินเชื่อกว่า 110,000 ล้านบาท  พอร์ตเงินฝากกว่า 121,000 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม สูงกว่า 600 ล้านบาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คลังหาแนวทางแก้ปัญหาธพว.-ธ.อิสลาม

Page 1471 of 1552:« First« 1468 1469 1470 1471 1472 1473 1474 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file