shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เสียงสะท้อนซุปเปอร์บอร์ดกสทช. – คู่ขนาน

เหมือนกำลังจะถูกลืมไปแล้วว่า นอกจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังมีคณะทำงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน กสทช. ขึ้นมา หรือเรียกว่า ซุปเปอร์บอร์ด กสทช. เพื่อตรวจสอบ ประเมินการบริหารงานเหล่าบรรดา กสทช. 11 คน ควบรวมไปยังสำนักงานและเลขาธิการ กสทช. เพื่อนำเสนอให้รัฐสภา และประชาชนทราบเนื่องจากเป็นองค์กรอิสระที่ต้องโปร่งใส โดยเมื่อช่วงกลางสัปดาห์เหล่าบรรดาซุปเปอร์บอร์ดทั้ง 5 คน 5 ด้าน คือ ด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ต่างออกเสียงสะท้อนว่า กสทช.เป็นองค์กรอิสระที่ไม่ยอมรับการตรวจสอบ งานนี้ ดูได้จากการไม่ได้รับความร่วมมือด้านข้อมูล อาทิ เรื่องมาตรการผู้ใช้บริการมือถือหลังหมดสัญญาสัมปทาน, การคงสิทธิเลขหมายที่ยังล่าช้า, รายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ต้องเปิดเผย ในขณะที่ผ่านมา รู้สึกเห็นใจเสียงข้างน้อย แสดงจุดยืนของตัวเองมีศักยภาพ แต่กลับทำให้ทำงานไม่สะดวก ทำให้ซุปเปอร์บอร์ดด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เห็นว่า ตัวชี้วัดที่จะสะท้อนการทำงานของ กสทช. คือ ประชาชนได้รับประโยชน์ ในการเข้าถึงสิทธิ เสรีภาพได้ตามกฎหมายหรือไม่ โดยการให้ประชาชนสร้างเครือข่ายขึ้นมา เพื่อจับตามองการทำงาน การบริหารงานของ กสทช. ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน หรือไม่ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หาก (ร่าง) ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ…. หรือ ม.37 ที่กำลังเป็นปัญหา เนื่องจากนักวิชา การหรือแม้กระทั่งองค์กรวิชาชีพสื่อ ที่แสดงตนคัดค้าน เนื่องจากกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชน อยู่ในสายตาซุปเปอร์บอร์ด พร้อมตรวจสอบแน่นอน งานนี้ มี กสทช. ก็ต้องมีซุปเปอร์บอร์ด กสทช. ที่เป็นหูเป็นตาแทนประเทศชาติ และประชาชน.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เสียงสะท้อนซุปเปอร์บอร์ดกสทช. – คู่ขนาน

Posts related

 














‘ดีแทค’ สู้ไม่ถอย ยืนยันเปิด 4 จี ต้องใช้คลื่นเริ่มต้น 15 เมกะเฮิรตซ์

แม้จะดูไร้ซึ่งความหวังที่จะนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ได้ใช้งานมาเปิดประมูล 4 จี พร้อมกับคลื่นที่หมดสัมปทานไปแล้วและอยู่ระหว่างเยียวยาซิมดับ แต่ดีแทค ก็ทำทุกวิถีทางเพื่อเจรจา ทั้งขอทำธุรกิจในรูปแบบบริการขายส่งขายต่อ กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแม้แต่ยื่นข้อเสนอยอมลงทุนภายใต้สัมปทานจนหมดสัญญาในปี 61 ถึงแม้ว่าจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคจะยังคงเดินหน้าเจรจากับ กสท กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานคณะกรรม การกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนา คมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหาทางออกของการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ดีแทคไม่ได้ใช้งาน เพื่อเปิดให้บริการ 4จี แอลทีอี ให้เร็วที่สุด โดยแนวทางที่ดีที่สุด ยังมองว่าควรจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ โดย กสท ควรคืนคลื่นให้ กสทช.จัดประมูลร่วมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทางบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) จะหมดช่วงเยียวยาในเดือน ก.ย. 57 เพราะหากรวมคลื่นแล้วจะได้ 45 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นจำนวนที่เหมาะสมมากกว่าที่จะประมูลแค่ 20 เมกะเฮิรตซ์ เปรียบกับการมีเหรียญ 5 บาท และได้ค่ายละ 1 เหรียญเท่านั้น มองว่า คลื่น 4 จี ควรเริ่มต้นที่ 15 เมกะเฮิรตซ์ ถึงจะพร้อมรองรับลูกค้า “ที่จริงดีแทคได้เปรียบในเรื่องของการติดตั้งอุปกรณ์ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หมด รวมทั้งอุปกรณ์ 2 จี ด้วย โดยหากต้องการให้ลูกค้าใช้ 4จี เพียงแต่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เท่านั้น แต่สิ่งที่ทำไม่ได้คือ ดีแทคยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้า 2 จี เสมอ” ปัจจุบัน ดีแทค มีลูกค้าทั้งสิ้น 27.5 ล้านราย เป็นลูกค้าใหม่ที่เข้ามาในช่วงไตรมาส 3/56 ราว 2.4 แสนราย ในสัดส่วนอย่างละครึ่งกับไตรเน็ต ขณะที่ดีแทค ไตรเน็ต เองปัจจุบันมีลูกค้าย้ายมาใช้งานแล้ว 3.7 ล้านราย ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อ 23 ก.ค. 56 ทั้งนี้ มองว่า ภายในสิ้นปีนี้ ดีแทคจะมีลูกค้า 4 จี อยู่ที่กว่า 1 ล้านราย หรือคิดเป็นราว 20% ของผู้ใช้งานดาต้าในปัจจุบัน โดยการให้บริการ 4จี จะช่วยลดปริมาณการใช้แบนด์วิธบนคลื่น 3จี ด้วย สำหรับสถานีฐาน ปัจจุบันดีแทคมีสถานีฐานแบ่งเป็น 2จี อยู่ที่ 11,000 สถานี 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ 5,200 สถานี และ สถานีฐาน 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 5,300 สถานี ตั้งเป้าสิ้นปีที่ 5,500 สถานีฐาน เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งาน 55% ของประชากร ไม่รู้ว่า ความหวังของดีแทคจะออกมาอย่างไร เพราะ กสท ยืนยันเสียงแข็งว่าจะบริหารจัดการกับคลื่นดังกล่าวเอง แต่ก็ยังไม่เห็นแผนงานที่ชัดเจนของ กสท ว่าจะนำคลื่นภายใต้สัมปทานที่ ดีแทค ไม่สามารถใช้งานได้มาใช้ประโยชน์ในองค์กรของตนในรูปแบบไหน ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถนำคลื่นดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้ กสทช.ควรจะรีบตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เพราะทั้ง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที หรือ กสทช.เอง ก็ประกาศปาว ๆ ว่า “คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ เป็นทรัพยากรของทุกคน และควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด”. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ดีแทค’ สู้ไม่ถอย ยืนยันเปิด 4 จี ต้องใช้คลื่นเริ่มต้น 15 เมกะเฮิรตซ์

แว่นอัจฉริยะกูเกิล – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

นวัตกรรมในโลกศตวรรษที่ 21 นี้มีมากมายหลากหลายเลยนะครับ แต่มีนวัตกรรมหนึ่งที่ผมเชื่อว่าน่าสนใจและใครไม่รู้จักอาจจะเรียกว่าตกเทรนด์เทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือแว่นอัจฉริยะกูเกิล หรือที่เรียกว่า กูเกิลกลาส (Google Glass) แฟนคอลัมน์วันพุธของผมอาจจะพอจำกันได้ว่าผมเคยเขียนบทความไปแล้วครั้งหนึ่ง เรื่องเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Augmented Reality ซึ่งถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือการผสมผสานระหว่างโลกจริง ๆ ที่เราอยู่ เข้ากับโลกเสมือนที่อาจสร้างโดยคอมพิวเตอร์ กราฟิกต่าง ๆ กูเกิลกลาสเป็นการผสมผสานโลกเสมือนเข้ากับโลกจริง โดยการสร้างภาพ เสมือนจริงให้มาปรากฏอยู่บนเลนส์แว่นที่โปร่งแสง ทำให้ผู้ใช้ที่มองผ่านเลนส์แว่นสามารถเห็นภาพเสมือนจริง (Virtual world) นั้นควบคู่ไปกับภาพวิวของจริง (Real world) ได้ หรือก็คือ เรายังคงเห็นวิวทิวทัศน์ทั่ว ๆ ไปเหมือนปกติ แต่จะมีภาพเสมือนจริงที่ซ้อนบนเลนส์แว่นคอยแสดงข้อมูลต่าง ๆ ให้เราเห็นพร้อมกันไปด้วย โดยภาพเหล่านั้นสามารถใช้เพื่อบอกข้อมูลได้หลากหลาย อาทิ บอกเวลา บอกสภาพอากาศ แสดงข้อความเข้า หรือแสดงข้อมูลเส้นทางจากแผนที่ออนไลน์ เป็นต้น กูเกิลกลาสสามารถถูกตั้งค่าให้เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้นะครับ แถมแว่นอัจฉริยะนี้ยังรองรับการสั่งงานด้วยเสียงและด้วยการกะพริบตา ทำให้เราสามารถสั่งถ่ายภาพหรืออัดวิดีโอด้วยเสียงได้ และสั่งเช็กอินสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วยการกะพริบตาเท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลาล้วงมือไปควานหามือถือจากกระเป๋าเพื่อเอามากดหน้าจอแล้วล่ะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วกูเกิลกลาสก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเพราะมีการพูดถึงกันมาได้สักพักแล้ว แต่ปัจจุบันกูเกิลก็ยังคงพยายามปรับปรุงการออกแบบแว่นตัวนี้เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้มากยิ่งขึ้น เช่น ออกแบบให้สามารถใช้ได้กับแว่นกันแดดและแว่นสายตาได้ ซึ่งก็หมายความว่า แม้เราจะใส่แว่นตาอยู่เดิมแล้วก็ยังสามารถใช้กูเกิลกลาสได้อยู่ครับ นอกจากนี้ก็รวมไปถึงความพยายามในการติดหูฟังลงไปในแว่น เพื่อให้กูเกิลกลาสเป็นเครื่องเล่นเพลงกลาย ๆ ไปได้ด้วย แต่ประเด็นในเรื่องการบอกแผนที่การเดินทางของกูเกิลกลาสนั้น ต้องบอกว่ายังไม่ลงตัวกันซะทีเดียวครับ เพราะมีหลายประเทศถึงขนาดจะออกกฎหมายห้ามการใช้กูเกิลกลาสในขณะขับรถ เพราะหลายฝ่ายเกรงว่าอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ แต่ในขณะเดียวกันบางฝ่ายก็ค้านว่ากูเกิลกลาสจะสามารถช่วยให้ขับรถได้ดีขึ้น ซึ่งประเด็นถกเถียงนี้คงต้องไว้ลองดูตัวเลขสถิติกันล่ะครับว่าฝ่ายไหนจะตั้งสมมุติฐานได้ตรงความเป็นจริงมากกว่ากัน แต่มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจครับ หลายคนคงเคยอ่านการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอลเมื่อสมัยหลายสิบปีก่อน อาจจะพอจำได้ว่าไอเดียกูเกิลกลาสนี้คล้ายกับแว่นวัดพลังสเกาเตอร์ของ เบจิต้าเลยจริง ๆ เรียกว่าเอาไอเดียจากในการ์ตูน มาทำให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจริง ๆ แล้วนวัตกรรมหลายอย่างในโลกศตวรรษที่ 21 นั้นมีแรงบันดาลใจมาจากทั้งหนังและการ์ตูนมากมายครับ ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องเทคโน โลยีที่ปรากฏในการ์ตูนดราก้อนบอลก็มีเยอะจริง ๆ นั่นล่ะครับ คนเขียนเค้าก็จินตนาการไว้ได้ดีทีเดียว ตั้งแต่พวกแคปซูลจิ๋วโยนไปกลายเป็นบ้านเป็นรถได้ ดราก้อนเรดาร์ที่หาลูกบอลเล็กจิ๋วนี้ได้ไม่ว่าจะหล่นอยู่ที่ใดในโลก รวมถึงแว่นตาวัดพลังสเกาเตอร์ด้วย ผมตั้งข้อสังเกตนิดนึงครับ ว่าแม้ในการ์ตูนดราก้อนบอลนั้นจะมีอุปกรณ์ที่ไฮเทคมากมาย บางอย่างแม้ในปัจจุบันเราก็ยังไม่สามารถสร้างออกมาได้จริงเลย แต่ในการติดต่อสื่อสารกันของตัวละครกลับไม่สามารถเห็นเป็นรูปภาพหรือภาพวิดีโอออกมาได้ แต่ตัวละครจะติดต่อกันด้วยเสียง (ทั้งจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และทั้งจากพลังจิตเลยล่ะครับ) หรือถ้าเป็นภาพก็ใช้แค่เครื่องแฟกซ์พิมพ์เป็นภาพออกมาบนกระดาษ เรียกว่าแพ้ FaceTime ของสมาร์ทโฟนสมัยนี้หลุดลุ่ยเลยล่ะครับ แต่อย่างว่าล่ะครับคนเขียนดราก้อนบอล อากิระ โทริยามา เริ่มเขียนการ์ตูนเรื่องนี้มาตั้งเกือบ 30 ปีที่แล้ว การที่สามารถจินตนาการได้ถึงขนาดนี้ก็เรียกว่าเก่งมากแล้ว ผมเชื่อนะครับว่าจินตนาการสำคัญ แต่องค์ความรู้ที่จะสามารถทำให้จินตนาการนั้นเกิดขึ้นจริงก็สำคัญไม่แพ้กัน จินตนาการเพียงอย่างเดียวหรือความรู้เพียงอย่างเดียวก็คงไม่สามารถสร้างสุดยอดนวัตกรรมออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริง ผมก็ยังเชื่อนะครับว่าวันหนึ่งคนไทยเราก็จะสามารถผสมผสานจินตนาการและความรู้ สร้างนวัตกรรมเจ๋ง ๆ ออกมาเป็นของเราได้เช่นกัน. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แว่นอัจฉริยะกูเกิล – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Page 750 of 805:« First« 747 748 749 750 751 752 753 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file