shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

2 นักเทคโนโลยีดีเด่น 2556


เพราะวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีเป็นของคู่กัน…      หากมีแค่การพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ขาดการต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นศาสตร์ของเทคโนโลยีแล้ว ประเทศคงไม่สามารถพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันไทยยังอยู่ในสภาวะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก  มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดให้มีการมอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ขึ้น ตั้งแต่ปี 2545 สำหรับปีนี้ ได้มีผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ามากว่า 50 ผลงาน และคณะกรรมการได้ตัดสินให้ผลงานที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2556 มีจำนวน 2 ทีม โดยทีมแรกคือ นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ หุ้นส่วนผู้จัดการ  และนายวิฑูร ลี้ธีระนานนท์  วิศวกรออกแบบและควบคุมการผลิต ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถเกษตรยนต์   ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีรถตัดอ้อยที่มีกระบะบรรจุท่อนอ้อยทำงานแบบอัตโนมัติ ครั้งแรกในโลก  นายสามารถ บอกว่า รถตัดอ้อยนี้พัฒนาจากความต้องการของเกษตรกรที่ประสบปัญหารถตัดอ้อยที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงมาก และขาดแคลนแรงงานเพราะแรงงานส่วนใหญ่จะเลือกตัดอ้อยไฟไหม้ ที่ตัดได้สะดวกรวดเร็วแต่ทำให้อ้อยสูญเสียน้ำหนักและความหวาน จึงคิดผลิตรถตัดอ้อยขึ้นเอง ตั้งแต่ปี 2541 เวอร์ชั่นแรกไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะมีขนาดเล็กเกินไป จึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงรุ่นล่าสุด ที่ปรับปรุงประสิทธิภาพให้สามารถใช้งานง่าย มีกลไกไม่ซับซ้อน ล้อรถบรรทุกไม่กดทับอัดแน่นชั่นดินและตออ้อย สามารถตัดอ้อยได้ถึงวันละ 100 ตัน ขณะที่หากใช้แรงงานคนจะตัดได้แค่ 1ตันต่อวันเท่านั้น ที่สำคัญ ผู้ผลิตรถตัดอ้อยแบรนด์ไทยบอกว่า ราคารถตัดอ้อยคนไทยถูกว่ารถนำเข้าอย่างมาก ทั้งที่ประสิทธิภาพเทียบเท่ากัน ปัจจุบันได้ผลิตออกจำหน่ายในไทยและต่างประเทศแล้ว ส่วนนักเทคโนโลยีดีเด่นทีมที่สอง คือ ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการสถาบันจีโนมแห่งชาติ และคณะ จากห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  ซึ่งประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจีโนมในควบคุมคุณภาพสินค้าในการส่งออกอาหารและการปรับปรุงพันธุ์พืชอายุยืนแบบก้าวกระโดด                ดร.สมวงษ์  บอกว่า จีโนมิกส์เป็นส่วนหนึ่งของสาขาพันธุศาสตร์ ที่ศึกษาพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยเน้นการศึกษาหาลำดับเบสทั้งหมดของดีเอ็นเอ และการทำแผนที่ทางพันธุกรรม ซึ่งการรวบรวมจีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล ทำให้ทราบลักษณะเฉพาะ ของจีโนมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ และใช้ในการวิเคราะห์หายีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมที่สำคัญ ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีฐานจีโนมมิกส์สามารถช่วยประเทศได้ทั้งด้านการส่งออก กฎหมายและการป้องกันการกีดกันทางการค้า  เช่น ช่วยให้ไทยสามารถตรวจสอบการปลอมปนอาหาร และสิ่งมีชีวิตได้อย่างแม่นยำ  โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจสอบการปลอมปนข้าวสารได้ทุกสายพันธุ์  เทคโนโลยีการตรวจสอบการปนเปื้อนของพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ และเทคโนโลยีตรวจสอบการปนเปื้อนเนื้อวัวในอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารสัตว์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรควัวบ้าเข้ามาในประเทศไทย  นอกจากนี้ยังใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีจีโนมของปาล์มน้ำมัน เพื่อให้มีผลผลิตมากกว่า 5 ตันต่อไร่ต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ซึ่งร่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์จากปกติที่ใช้เวลา 15-20 ปีเหลือเพียง 5-8 ปี ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติการดีเอ็นเอเทค ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เรียกว่าช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรมไทย และยังมีโอกาสทำให้ไทยกลายเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีนี้ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย. นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 2 นักเทคโนโลยีดีเด่น 2556

Posts related

 














เรื่องหนาวๆ – รู้หลบ


มา ฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในจังหวะที่ลมหนาวเริ่มโชยถึงภาคเหนือแล้ว แต่หน่วยช่วยเหลือทั้งหลายในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังยังต้องระดมกำลังกอบกู้กันอยู่ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา บุรีรัมย์ รวมถึงเป้าหมายใหม่หลายจังหวัดทางภาคอีสาน กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ ว่า พายุไต้ฝุ่น “นารี” (NARI) ในทะเลจีนใต้ตอนกลางเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง วันที่ 15-16 ต.ค. จะส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งอาจไม่ทำให้น้ำสูงกว่าที่เป็นอยู่ แต่จะมีลมแรง!! ในเวลาเดียวกัน คือระหว่างวันที่ 14 – 19 ต.ค. จะมีความกดอากาศสูง กำลังค่อนข้างแรง ระลอกใหม่ จากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้ง ระลอกแรกที่ ความกดอากาศสูงมาถึง ทางภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะไม่หนาวทันที โดยมีฝนมาทักทายก่อน จากนั้นวันรุ่งขึ้น อุณหภูมิจะลดลงรวดเดียว 3 – 5 องศาเซลเซียส ลงมาระดับนี้ คาดว่า อุณหภูมิลดให้เต็มที่ ก็ 3 – 5 องศาเซลเซียส ก็อย่ารีบร้อนตีขลุมว่าหนาว เพราะอุณหภูมิเดิม ขยับไปมา อย่างมากก็ 30 ลดมาแล้ว ยังได้อยู่ระดับ 25 องศา กรมอุตุนิยมวิทยา วางเกณฑ์ว่า ถ้าอุณหภูมิ ระหว่าง 18.0 – 22.9 ยังเรียกอากาศเย็นใช้ ถ้าลงต่ำกว่า 16.0-17.9 ให้ใช้คำว่า อากาศค่อนข้างหนาว จะเรียกหนาว อุณหภูมิ ต้องระหว่าง 8 ถึง15.9 องศาเซลเซียส และถ้าลดจาก 7.9 องศาลงไปเรียก หนาวจัด เกณฑ์นี้ ไม่ใช่กรมอุตุฯตั้งขึ้น แต่เป็นมาตรฐานที่วงการพยากรณ์อากาศทั่วโลกใช้กันแต่ไม่ว่าอากาศจะหนาวมากหรือน้อย ฤดูกาลนี้ อากาศแห้ง เสี่ยงต่อการเกิดไฟลุกไหม้ได้ทุกที่ ที่ควรทราบอีกประการ มีว่า ช่วงที่ลมหนาวจางลง ความอบอุ่นเข้าแทรก จะได้เห็นหมอกปกคลุมภาคเช้า  ผู้ขับขี่ยวดยานต้องเพิ่มความระมัดระวัง กรมอุตุฯคาดหมายลักษณะอากาศฤดูหนาวปีนี้ ว่าจะเริ่มกลางเดือน ต.ค.ซึ่งจะไม่หนาวมาก และพัดมาเป็นบางช่วง โดยช่วงที่หนาวเย็นสุด จะสัมผัสได้กลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม สำหรับพื้นที่ประเทศไทยตอนบน และคาดว่าน่าจะหนาวเย็นกว่าปีที่แล้ว แต่อุณหภูมิจะสูงกว่าค่าปกติ เอาเป็นว่า อย่าคาดหมายว่าความหนาวสั่น ฟันกระทบคงไม่หนักหน่วงรุนแรง สำหรับพื้นที่ภาคใต้ จะได้สัมผัสลมเย็นบ้าง ทางตอนบนของภาค ที่ต้องระวัง คือปริมาณฝนจะหนาแน่น และตกหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกจาก จ.ชุมพร ลงไป ให้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำล้นตลิ่ง มีข้อมูลด้วยว่า ในฤดูหนาว หากความกดอากาศสูงมาแรง จนทำให้ภาคกลาง หรือกรุงเทพฯ มีอุณหภูมิต่ำมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือ หรือฝั่งอ่าวไทยเจอกับฝนหนัก คลื่นลมแรง หรือเสี่ยงกับน้ำท่วมได้ ลมหนาวทำให้คนส่วนหนึ่งพึงใจ แต่ถ้ามากไป ก็จะมีคนกลุ่มใหญ่เดือดร้อน หยาดน้ำฟ้า

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เรื่องหนาวๆ – รู้หลบ

“ซัมซุง”พัฒนาแอพช่วยเปิดโลกความรู้ให้ผู้พิการทางสายตา

“ซัมซุง” จับมือพันธมิตร พัฒนาแอพ Read for the Blind ชวนผู้สนใจร่วมสร้างหนังสือเสียงผ่านแอพพลิเคชั่นช่วยคนตาบอดได้เพิ่มเติมความรู้คาดสิ้นปีมีหนังสือเสียงเพิ่มไม่น้อยกว่า 3,000 เล่ม
  วันนี้(15 ต.ค.) ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน บริษัท ไทยซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด ร่วมกับ เว็บไซต์กูเกิล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ เอไอเอส เปิดตัวแอพพลิเคชั่น Read for the Blind  เชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างหนังสือเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตา ผ่านแอพพลิเคชั่นได้ทุกที่ทุกเวลา โดย นายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ไทยซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับพันธมิตรพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้ขึ้น โดยจุดเริ่มต้นมาจากคุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ที่ได้ทดลองไปอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอดแล้วพบข้อจำกัดต่างๆ จึงเกิดแนวคิดใช้สมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นช่วยในเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นของคู่กายคนตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว และในปัจจุบันหนังสือเสียงในห้องสมุดคนตาบอด และผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติมีอยู่ไม่ถึง 7,000 เล่ม ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
“ แอพพลิเคชั่นนี้รองรับทั้งในระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอสตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสร้างหนังสือเสียงได้มากกว่า 3 ,000 เล่มและมีบทความ 3 หมื่นบทความภายในสิ้นปีนี้ และจะมีจำนวนยอดผู้ดาวน์โหลดแอพนี้มากว่า 2 แสนคนภายใน 1 ปี อย่างไรก็ตามหลังจากเปิดตัวในวันนี้ปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจอย่างมากมายใน 1 นาที สามารถสร้างหนังสือเสียงได้ 50 เล่ม จนเซิร์ฟเวอร์เต็ม จึงต้องกลับไปคุยกับทีมงานเพื่อขยายเซิร์ฟเวอร์ให้มากขึ้น”
ด้านนางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า บริษัทได้สนันสนุนโครงการ เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเพิ่มเติมความรู้ได้ โดยได้สนับสนุนค่าเซิร์ฟเวอร์ จำนวน 1 ล้านบาท และยกเว้นค่าบริการอินเทอร์เน็ตผ่านแอพพลิเคชั่นนี้ตลอดการใช้งานบนเครือข่ายเอไอเอส 3 จี 2100 คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
ส่วน นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้คิดริเริ่มแอพพิลเคชั่น Read for the Blind   กล่าวว่า แนวคิดที่อยากพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้เกิดจากการไปเดินห้างสรรพสินค้าแล้วเห็นมุมที่ให้คนที่สนใจอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด แต่เมื่อเข้าไปติดต่อคิวยาวหลายชั่วโมงไม่สามารถรอได้ หลังจากนั้นมีโอกาสไปอ่านหนังสือที่มูลนิธิคนตาบอดไทยก็พบข้อจำกัดเรื่องสถานที่ จึงเห็นว่าโทรศัพท์มือถืออัดเสียงได้อยู่แล้ว น่าจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นชึ้นมาช่วยให้คนอ่านอัดเสียงแล้วอัพโหลดผ่านอินเทอร์เน็ตขึ้นในระบบคลาวด์ได้เลย จึงได้นำเรื่องเข้าหารือกับคุณอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด และพันธมิตรอื่นๆ จนสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้เป็นผลสำเร็จ.  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “ซัมซุง”พัฒนาแอพช่วยเปิดโลกความรู้ให้ผู้พิการทางสายตา

Page 795 of 805:« First« 792 793 794 795 796 797 798 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file