นายนิธิพัฒน์ สมสมาน นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทยหรือ TACGAเปิดเผยว่า สมาคมฯ พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการด้านแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของไทยอย่างเต็มที่เพื่อรองรับความต้องการทั้งในส่วนของคอนเทนท์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นการสร้างภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบของคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG)และเทคนิคพิเศษ (VFX)สำหรับงานโทรทัศน์งานโฆษณาและภาพยนตร์ รวมถึงการนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์คุณภาพสูงมาใช้ในการผลิตงานทั้งนี้จากข้อมูลปี 2554 ที่ผ่านมา ระบุว่ามูลค่าทางด้านการตลาดของเนื้อหาดิจิตอลหรือ ดิจิตอลคอนเทนท์ มี 3 ประเภท ประกอบด้วย แอนิเมชั่น และ อีเลิร์นนิ่ง คิดเป็นมูลค่าทางด้านการตลาดรวมกันประมาณ16,467 ล้านบาท แยกเป็นตลาดเกมส์ประมาณ 8,806 ล้านบาท ตลาดแอนิเมชั่น 5,623 ล้านบาท และตลาด 2,038 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าตลาดของการสร้างภาพเคลื่อนไหวและคอมพิวเตอร์กราฟฟิคมีมูลค่าการตลาดอยู่ประมาณ 424 ล้านบาท แบ่งออกเป็นCGสำหรับภาพยนตร์โฆษณา 241 ล้านบาท และCGสำหรับภาพยนตร์ 183 ล้านบาท โดยประเมินว่ากลุ่มCGจะได้รับอานิสงค์จากดิจิทัลทีวีมากที่สุด เพราะอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของไทยต้องการลงทุนและพัฒนาการสร้างภาพเคลื่อนไหวทั้งในรูปของคอมพิวเตอร์กราฟิค(CG)และ เทคนิคพิเศษ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีนี้ในส่วนสื่อโทรทัศน์จะมีการเติบโตของคอนเทนต์เพิ่มขึ้น 2% หรือคิดเป็นมูลค่า 70,800 ล้านบาทสำหรับการเปลี่ยนแปลงของวงการโทรทัศน์ไทยสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอล 48 ช่อง ซึ่งในจำนวนนี้ 3 ช่องเป็นช่องสำหรับเด็กโดยเฉพาะภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากแต่การผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ทำให้ตอนนี้มีการนำเข้าการ์ตูนจากต่างประเทศเป็นหลักเพื่อให้มีจำนวนพอเพียงตามช่วงเวลา จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะสร้างคาร์แรคเตอร์ใหม่ๆและการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องใหม่ๆ ให้กับช่องทีวีที่มีความต้องการการ์ตูนเพิ่มขึ้น“แต่เนื่องจากโทรทัศน์ระบบดิจิตอลต้องการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับการส่งสัญญาณภาพที่มีความละเอียดสูง(HD)โดยมีขนาดภาพที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ดังนั้นในส่วนของการผลิตงานการ์ตูนแอนิเมชันการสร้างภาพเคลื่อนไหวทั้งในรูปแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และเทคนิคพิเศษ จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มในหลายๆด้านทั้งทางด้านบุคลากรอุปกรณ์และเทคโนโลยี”ด้าน นายธนัช จุวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ปจำกัด ในฐานะคนทำงานเบื้องหลังเปิดเผยว่า“ยิ่งภาพคมชัดมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งเห็นรายละเอียดมาก จากเดิม 720×576 กลายมาเป็น 1920×1080 ภาพใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ลูกค้าก็ต้องการงานที่มีคุณภาพที่สูงขึ้นการทำงานยิ่งต้องปราณีตขึ้น แต่เราก็ต้องลงทุนเพิ่ม ทั้งคอมพิวเตอร์เครื่องเรนเดอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยสอดคล้องกับนายวรนันท์ ธรรมภักดิ์โภคิน กรรมการผู้จัดการบริษัท ดิจิตอล เมจิค เอฟเฟ็ค เฮาส์จำกัด ที่ให้ข้อมูลว่า“งานมากขึ้นแต่การทำงานก็ต้องละเอียดขึ้น ใช้เวลามากขึ้น คนทำงานเองก็ต้องพัฒนาทักษะและฝีมือตนเองให้สูงขึ้นตามไปด้วยและแน่นอนยังมีความต้องการคนทำงานเบื้องหลังอย่างพวกComputerGraphicเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ค่าใช้จ่ายในด้านบุคลากรและเครื่องไม้เครื่องมือก็เลยต้องเพิ่มสูงขึ้นไปด้วยทั้งนี้ การมาของทีวีดิจิตอลจึงส่งผลให้ปริมาณของงานในภาคธุรกิจดังกล่าวจะมีเพิ่มมากขึ้นสร้างโอกาสในการขยายงานและสร้างให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกมากรวมทั้งความต้องการบุคลากรในสาขานี้ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งการดึงตัว และการรับนักศึกษาที่จบใหม่เข้าทำงานแต่ทางสมาคมฯ เองมีความเป็นห่วงในเรื่องของงบประมาณการผลิตที่ดูจะไม่สอดคล้องต่อระยะเวลาในการทำงานและปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นเพราะเมื่อเทียบกันแล้ว ระยะเวลาและงบประมาณที่มีให้กลับน้อยลงหรือเท่าเดิมในขณะที่ผู้ผลิตงานต้องใช้เวลาทุ่มเท ใส่ใจและพิถีพิถันมากขึ้นและต้องลงทุนกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : TACGA พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยรับทีวีดิจิตอล

Posts related