กลายเป็นเรื่องเป็นราวถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาล กรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมือถือ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับคู่สัญญา ทั้ง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ที่ได้หมดสัญญาสัมปทานไปแล้วเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยตามกฎหมายแล้วจะต้องคืนคลื่นดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำมาเปิดประมูลใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการใหม่ แต่เรื่องไม่ได้จบลงง่าย ๆ แค่นั้น เพราะเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง คำถามคือ ลูกค้าที่ค้างอยู่ในระบบที่ได้รับรายงานในวันดังกล่าวมีอยู่กว่า 17 ล้านราย จะไปอยู่ที่ไหน โดยทางออกของ กสทช.คือ ออกประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (ประกาศห้ามซิมดับ) โดยให้ทรูมูฟและดีพีซีให้บริการลูกค้าต่อไปอีก 1 ปี แต่ระหว่างให้บริการจะต้องทำความเข้าใจกับลูกค้า และให้ลูกค้า ย้ายไปยังเครือข่ายใหม่ พร้อมหยุดขายซิมการ์ดและออกโปรโมชั่นใด ๆ บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทันที อย่างไรก็ตาม นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท ระบุว่า บอร์ด ได้อนุมัติค่าธรรมเนียมศาลมูลค่า 280 ล้านบาท เมื่อวันที่ 9 ต.ค.56 เพื่อใช้ในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับ กสทช. เนื่องจากลูกค้าภายใต้สัมปทาน 17 ล้านราย ควรอยู่กับ กสท ขณะที่แหล่งข่าวจาก กสท ได้คิดมูลค่าความเสียหายที่จะฟ้อง กสทช.สูงถึง 2.75 แสนล้านบาท พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ระบุว่า กสท ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เนื่องจากเมื่อคลื่นหมดสัมปทาน กสท ก็ไม่มีสิทธิใช้คลื่นเช่นกัน นอกจากนี้ ที่ผ่านมา กสท ได้เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของร่างประกาศฯ ดังกล่าวโดยตลอด และกสท เพิ่มเติมประเด็นขึ้นมาใหม่ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างฟ้องคดี ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยยอดผู้ใช้คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ปัจจุบันที่ยังอยู่ในระบบเติมเงิน (พรีเพด) ของทรูมีประมาณ 14.5 ล้านราย ลดลงจากช่วงก่อนหน้าที่มีทั้งหมด 16 ล้านราย และมูลค่ายอดเงินหมุนเวียนในระบบเติมเงินลดลงจาก 1,000 ล้านบาท เหลือ 800 ล้านบาท โดยหากทรูสามารถโอนย้ายลูกค้าได้เร็วภายในเดือน มิ.ย. 2557 ก็จะสามารถเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ได้ เอาเป็นว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่กับผู้ให้บริการรายใด ควรให้ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจเองดีกว่า โดยหากผู้ให้บริการทุกค่ายอยากให้ลูกค้าอยู่ในระบบตนเองจำนวนมาก สิ่งสำคัญ ควรมุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงบริการให้ดีพร้อมเพื่อรองรับการใช้งานลูกค้าที่มีความต้องการใช้งานสูงขึ้นตามเทรนด์การใช้งาน…น่าจะดีกว่า. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศึกแย่งลูกค้าคลื่น 1800 ใครได้ ใครเสีย?
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs