นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยและภูฏานกับ กระทรวงเศรษฐการของภูฏาน เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การท่องเที่ยว ก่อสร้าง สุขภาพและการรักษาพยายาล การศึกษา พลังงาน โลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และยังได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (เจทีซี) เพื่อเป็นเวทีสำหรับทั้งสองประเทศในการทบทวนพัฒนาการด้านการค้าและการลงทุน ทั้งนี้จากความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะช่วยเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนและทำการค้ากับภูฏานและประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับภูฏานได้มากขึ้น เพราะปัจจุบันภูฏานได้มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับหลายประเทศ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน เป็นต้น และยังเป็นสมาชิกความตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคต่างๆ ซึ่งไทยสามารถใช้ภูฏานเป็นฐานในการผลิตและส่งออกไปยังประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีได้ และจะง่ายกว่าการเข้าไปตั้งธุรกิจในประเทศเหล่านั้น ขณะเดียวกัน ยังมีโอกาสในการเข้าไปลงทุนในหลายกิจการ โดยเฉพาะโครงการใหญ่ที่สำคัญและกำลังจะเปิดรับนักลงทุนต่างชาติ คือ โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 10,000 เม็กกะวัตต์ และจะขยายเป็นอีก 3 เท่า ในอนาคต เพื่อส่งไปขายต่อยังอินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน โดยขณะนี้มีอินเดียเป็นนักลงทุนรายใหญ่ นอกจากนั้น ยังเปิดกว้างสำหรับธุรกิจบริการอื่นๆ ที่ไทยมีจุดแข็ง คือ ด้านดูแลสุขภาพ การศึกษา การท่องเที่ยว รีสอร์ต ร้านอาหาร และธุรกิจบริการในด้านอื่นๆ สำหรับกิจการที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ เช่น การพัฒนาส่งออกพลังงานน้ำ ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ การพัฒนาศูนย์การศึกษาในประเทศ ศูนย์ผลิตพืชออแกนิค ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น ก็เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนได้ นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวว่า แม้ภูฏานจะเป็นประเทศเล็ก ไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย มีการนำเข้าสินค้าไทยเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 150,000 เหรียญสหรัฐ และในปี 56การส่งออกจากไทยไปภูฏาน เพิ่มขึ้น 98.97% สำหรับในปี 56 ภูฏานเป็นคู่ค้าอันดับที่ 153 ของไทย ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (51-55) การค้ารวมเฉลี่ยมีมูลค่า 12.10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 134 ของไทย มีมูลค่าเฉลี่ย (51-55) 11.94ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 180 ของไทย มีมูลค่าเฉลี่ย (51-55) 0.15 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปภูฏาน ได้แก่ สิ่งทอ รถยนต์และอุปกรณ์ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าผืน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น สินค้านำเข้าจากภูฏานที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไทยจับมือภูฏานร่วมมือการค้า-เศรษฐกิจ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs