shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

พิษเศรษฐกิจโลกฉุดยอดลงทุนหด

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุน 11 เดือนของปี 56 (ม.ค.-พ.ย.) มีผู้ยื่นขอทั้งสิ้น 1,696 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีผู้ยื่นขอทั้งสิ้น 1,696 ราย ลดลง 181 โครงการ ส่วนเงินลงทุนมีทั้งสิ้น  791,000 ล้านบาท ลดลง  73,000 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริม ฯ เป็นกิจการคนไทยถือหุ้น 100% จำนวน 621 โครงการ เพิ่มขึ้น 59 โครงการ ส่วนต่างชาติถือหุ้น 100% มี 643 โครงการ ลดลง 162 โครงการ และกิจการที่ร่วมทุนระหว่างคนไทยกับต่างชาติ 432 โครงการลดลง 78 โครงการ  ส่งผลให้ทั้งปีการยื่นขอการลงทุนไม่ถึงเป้า1ล้านล้านบาทที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่น ยังเป็นนักลงทุนสูงสุด ที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 551 โครงการ แต่ลดลง 159 โครงการ เมื่อเทียบกับปีก่อน อันดับ 2 เป็นการลงทุนจากยุโรป 150 โครงการ ลดลง 49 โครงการ  อันดับ 3 สิงคโปร์ ยื่น 89 กิจการ ลดลง 52 โครงการ อันดับ 4 สหัฐอเมริกายื่นขอ 72 โครงการลดลง 15 โครงการ  สำหรับกิจการที่นักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมฯยังกระจายอยู่ใน 7 ประเภทกิจการหลักๆ โดยกิจการบริการและสาธารณูปโภคมีการยื่นขอรับส่งเสริมฯสูงสุดที่  486 กิจการลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยื่นขอ 501 โครงการ อันดับ 2 เป็นการลงทุนประเภทกิจการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 389 โครงการลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยื่นขอ 478 โครงการ อันดับ 3 เป็นเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 296 กิจการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ยื่นขอ 229 โครงการ นายอุดม วงษ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  กล่าวว่า  ทั้งปีคาดว่ายอดการขอรับส่งเสริมการลงทุนคงจะอยู่ประมาณ 900,000 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเป็นสำคัญและคาดว่าจะมีผลถึงปี 57 ที่ยอดขอส่งเสริมน่าจะอยู่ที่ 900,000 ล้านบาทเช่นเดียวกับปีนี้    ส่วนกรณีปัญหาการเมืองไทยขณะนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนแต่อย่างใดแต่ยอมรับว่าหากปัญหายืดเยื้อก็อาจจะมีผลบ้างสำหรับนักลงทุนใหม่ๆ    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พิษเศรษฐกิจโลกฉุดยอดลงทุนหด

Posts related

 














ปตท.สำรองน้ำมันรับมือปีใหม่

นายไพรินทร์ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. เปิดเผยว่า  ช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น ปตท.ได้เตรียมความพร้อมด้านพลังงาน สำรองน้ำมันเต็มคลังทั่วประเทศ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ช่วยบริการในช่วงปีใหม่  เพิ่มจำนวนรถขนส่งน้ำมัน ที่คาดว่าจะมีความต้องการใช้มากกว่าปกติช่วงปีใหม่ ขณะที่การรับมือจากแหล่งก๊าซในพม่า แหล่ง ยานาดา เยตากุน จะหยุดจ่ายก๊าซนั้น ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ตลอดช่วงปีใหม่ โดยมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาขาดแคลน สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันในปี 57 คาดว่า อยู่ที่ 105 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลปรับลดลงจากปีนี้ที่อยู่ที่ 107 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล  เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติทดแทน  สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจหลักทั้ง 4 แห่งประกอบด้วย สหรัฐ สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ที่เชื่อว่าจะเริ่มฟื้นตัวหลังจากที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 51   ส่วนการเลือกตั้งไม่ว่าจะมีรัฐบาลจากพรรคใด เข้ามาบริหารประเทศ จะไม่ส่งผลต่อแผนการลงทุนของบริษัทเนื่องจากการลงทุนด้านพลังงาน จะต้องมีการทำแผนล่วงหน้าไว้หลายปีดังนั้นรัฐบาลใดเข้ามาก็ต้องเดินหน้าตามแผนที่วางไว้แต่ในส่วนของนโยบายรับภาระราคาพลังงาน ปตท.คงต้องดำเนินการต่อเนื่องเพราะเป็นหน้าที่แต่ก็จะพยายามทำความเข้าใจกับกระทรวงพลังงานถึงความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างราคาเพราะราคาพลังงานที่ไม่เป็นไปตามกลไกจะเป็นความเสี่ยงในระยะยาว ซึ่งกระทรวงพลังงานก็เข้าใจดีจะเห็นได้จากเริ่มทยอยปรับราคาแอลพีจีไปแล้ว ด้านกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ต้องการให้ยึดคืน ปตท. กลับไปเป็นของรัฐนั้น ทุกวันนี้ ปตท. ก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้นกว่า 67% ส่วนที่เหลือถ้าต้องการจะซื้อคืน หรือนำกลับไปเป้นของรัฐ ต้องถามว่า จะดำเนินการอย่างไรเพราะเป็นคนละกรณีกับรัฐบาลอาเจนตินา ที่ยึดคืนบริษัทน้ำมันข้ามชาติจากสเปนคืนแต่กรณีนี้ปตท.เป็นของรัฐอยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจตรรกะของผู้ที่เรียกร้องส่วนกรณีที่ ระบุว่าน้ำมันดีเซล สามารถขายได้ถึงลิตรละ 19 บาทนั้นในความเป็นจริงนั้นสามารถทำได้ แต่รัฐต้องเข้ามาชดเชยราคาที่หายไปเพราะเป็นการขายต่ำกว่าทุน จากปัจจุบันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ25 บาท     

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปตท.สำรองน้ำมันรับมือปีใหม่

สภาที่ปรึกษาฯแนะตั้งกรมขนส่งทางราง

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้จัดทำข้อเสนอแนะถึงกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อนำไปพิจารณา แม้ว่าล่าสุดกฎหมายกู้เงินลงทุนจะไม่สามารถผลักดันได้เสร็จในรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยตามข้อเสนอเห็นว่า หากรัฐบาลจะผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อนคือ กระทรวงคมนาคมต้องตั้งกรมขนส่งทางรางขึ้น เพื่อให้การขนส่งทางรางสามารถแข่งขันกับการขนส่งทางถนนได้ โดยให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า แต่ละพื้นที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอะไรบ้าง  โดยเฉพาะกรอบระยะเวลา โครงการใดที่ยังอยู่นอกแผน หรือยังไม่ชัดเจนก็ต้องกำหนดให้ชัดเจน และควรแก้ไขกฎระเบียบ-ข้ออำนวยความสะดวกทางการค้า-บริการ โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานและงานสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ต่างๆ รวมถึงสนับสนุนจัดทำแผนส่งเสริมให้มีการลงทุนตามเส้นทาง และต้องพัฒนาสถานีรถไฟ และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงาน และการสร้างมูลค่าเพิ่ม ขณะเดียวกันยังต้องบูรณาการเชื่อมโยงระบบถนนเข้ากับระบบราง เร่งการก่อสร้างรางเพื่อเชื่อมโยงกับการขนส่งทางรางเข้าไปสู่ท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสนามบินของจังหวัดที่รถไฟความเร็วสูงผ่าน และพัฒนาลานจอดรถรองรับรถไฟความเร็วสูง รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีให้ประชาชนในชนบทสามารถเข้าถึงประโยชน์จากระบบขนส่งมวลชนรถไฟความเร็วสูงได้ พร้อมจัดระบบขนส่งและจราจร รวมทั้งด้านความปลอดภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างรวมทั้งชายฝั่งทะเล  รวมทั้งการป้องกันสารปนเปื้อนลงไปในลำน้ำ นอกจากนี้ควรสร้างจุดพักรถสำหรับรถบรรทุก พร้อมกับกำหนดระยะเวลาที่พนักงานขับรถจะต้องจอดพัก เช่น ทุก 250 กิโลเมตร ทั้งรถบรรทุกและรถโดยสาร เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน รวมทั้งศึกษาผลกระทบจากการเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ของภูมิภาค เพราะจะมีสินค้าขนส่งผ่านแดนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ประเทศไทย และผ่านจากประเทศไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่สามเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งให้ชะลอการบังคับใช้ผังเมืองจังหวัดใหม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ และการทบทวนเมืองศูนย์กลางด้วย ทั้งนี้ยังต้องกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดยระบุไว้ในทีโออาร์ให้ผู้รับเหมา หรือ ผู้บริหารโครงการ ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องให้ความสำคัญต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  เช่น การปรับปรุงถนนสายหลัก ตั้งแต่สุไหงโกลก  นราธิวาส  ยะลา  ปัตตานี และสายเบตง-ยะลา ควรเป็นถนนคอนกรีต 4 ช่องจราจร  เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งและมีความปลอดภัยจากการก่อการร้าย และพิจารณาใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปในการก่อสร้างระบบรางทางคู่ โดยใช้ยางสำหรับทำรอยต่อของรถไฟ นายอุทัย กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมยังต้องส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพื่อให้เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และออกมาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านสังคม เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย  ควรจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการพัฒนาพื้นที่ ควรพิจารณาประเด็นเชิงสังคม ถึงผลกระทบในแหล่งทำกิน และหรือที่อยู่อาศัยของชุมชนด้อยโอกาสเหล่านั้น และจัดให้มีกลไกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงพื้นที่ รวมถึงให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริงด้วย  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สภาที่ปรึกษาฯแนะตั้งกรมขนส่งทางราง

Page 1271 of 1552:« First« 1268 1269 1270 1271 1272 1273 1274 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file