shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

อีสาน-ลาว-ขแมร์ ในกรอบอาเซียน

แจงแผนอีสต์เวสต์ คอริดอร์ พลิกโฉมเวียดนาม ลาว  ดานัง สะหวันนะเขต มีการลงทุนใหม่เพียบตั้งแต่โรงงานผลิตแว่นตา ยันชิ้นส่วนเครื่องบิน ห่วงปัญหาอุบัติเหตุการขับรถข้ามประเทศ แนะตั้งประกันภัยชายแดน สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ นักวิชาการศูนย์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกล่าวระหว่างการสัมมนาวิชาการอีสาน–ลาว-ขแมร์ ศึกษาในกรอบประชาคมอาเซียน หลังการประกาศเขตเศรษฐกิจภูมิภาคลุ่มน้ำโขงว่า ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลง เวียดนามได้ยกระดับเมืองดานังจากเมืองมาเป็นนครมาเป็น 10 ปีแล้ว มีโรงแรมเกิดใหม่จำนวนมากเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อจะให้เมืองดานังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามตอนกลางและ จ.ฮาติงมีบริษัทถลุงเหล็กของไต้หวันมาลงทุนนับหมื่นล้านบาท ขณะที่เมืองสะหวันนะเขตของลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยการสร้างหอประชุมที่เรียกว่า สะหวันไฮเทค และมีเศรษฐกิจพิเศษที่มีกลุ่มทุนมาเลเซียวางแผนที่จะสร้างเมืองแห่งใหม่ที่ชื่อว่าสะหวันซิตี้และมีโลจิสติกส์ปาร์ก ซึ่งยังอยู่ในกระดาษเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่ดำเนินการไปมากแล้วคือสะหวันพาร์ค ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่เชิญนักลงทุนจากต่างชาติมาลงทุนมีโรงงานผลิตเลนส์แว่นตาจากฝรั่งเศสที่ใหญ่ติดอันดับโลก มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน โรงงานแคนนอน เพราะได้รับข้อยกเว้นพิเศษด้านภาษีและมีส่วนที่เขาเตรียมไว้คือ การอพยพผู้คนที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจให้มาตั้งรกรากใหม่ เหล่านี้เป็นโครงการที่สะหวันนะเขตให้ความสำคัญ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ  กรรมการมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยผลิตรถยนต์ได้ปีละ 2.4 ล้านคัน ขายในประเทศ 1.3 ล้านคันที่เหลือส่งออกนำรายได้เข้าประเทศปีละ 2 แสนล้านบาท ถือเป็นลำดับ 9 ของโลก ประเทศในอาเซียนที่ผลิตรถยนต์มี 5 ประเทศ รวมแล้วจำนวน 4.2 ล้านคัน 58 เปอร์เซ็นต์ผลิตในประเทศไทยรองลงมาเป็นอินโดนีเซียผลิตได้ปีละ 1 ล้านกว่าคัน ส่วนประเด็นที่กังวลในอาเซียนสำหรับประเทศไทย คือ ระบบการจราจรที่ประเทศไทยยังขับรถพวงมาลัยขวาขณะที่ 4 ประเทศใช้พวงมาลัยซ้าย ประเทศเวียดนามมีกฎหมายห้ามรถพวงมาลัยขวาเข้าประเทศ มีคำแนะนำว่าเมื่อจะขับรถยนต์ไปยังประเทศที่ใช้พวงมาลัยซ้ายควรติดกล้องซีซีทีวีไว้ที่ด้านขวาของรถเพื่อดูสภาพทางผ่านกล้องได้ ส่วนการล็อบบี้ประเทศต่าง ๆ ให้เปลี่ยนพวงมาลัยรถนั้นเป็นเรื่องการเมืองที่ต้องไปเจรจานอกจากนี้การขับรถผ่านแดนเจ้าหน้าที่กงสุลในบางประเทศไม่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง รวมทั้งระบบประกันภัยรถยนต์ที่ประเทศไทยมีระบบการดูแลทั้งคนขับและผู้โดยสาร แต่ประเทศเพื่อนบ้านไม่มี เมื่อเขาขับรถเข้ามาแล้วเกิดอุบัติเหตุถือเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นควรมีธุรกิจประกันภัยไปตั้งไว้ที่ชายแดนกำหนดเป็นวันเวลา อาทิ 1-2 สัปดาห์ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิดนักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย เปิดปาฐกถาในหัวข้อประวัติศาสตร์เปรียบเทียบของ 3 อนุภาคว่า แผ่นดินอีสานมีพื้นที่มากที่สุด มีประชาชนมากที่สุดของประเทศ แต่ก็มีปัญหามากที่สุด หากย้อนดูอดีตเมื่อ 100 ปีก่อน  3 รัฐ คือ ไทย ลาว กัมพูชา ไม่ได้เป็นรัฐใดรัฐหนึ่งอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งนี้การปกครองในอดีตภูมิภาคนี้เป็นรูปแบบมณฑลที่มีความจงรักภักดีต่อผู้ครองนคร เมืองจะล่มสลายลงเมื่อเจ้าผู้ครองเมืองสิ้นลง เท่ากับเครือข่ายความภักดีก็สลายไปด้วย เมื่อมาดูแผ่นดินอีสานมีมาตั้งแต่ยุคหิน เข้าใจว่าอีสานคงเป็นคนนอกรัฐเคยมาอยู่ไม่อยากอยู่เวียงจันทน์ อยุธยาเท่าที่มีหลักฐานพบว่าเมื่ออาณาจักรล้านช้างอ่อนกำลังลงผู้คนจากหลวงพระบาง เวียงจันทน์อพยพมาโดยไม่มีการกวาดต้อนทำให้เกิดเป็นหน่วยการเมืองขึ้นมาเพราะมีราษฎรเป็นที่มาของแรงงานและส่วย ส่วนการแบ่งดินแดนแบบรัฐสมัยใหม่ถูกเรียกว่าถูกสร้างโดยคนข้างนอกทั้งสิ้น อาทิ ฝรั่งเศส กัมพูชาถูกจัดสรรแบ่งเขตโดยฝรั่งเศส ส่วนแผ่นดินอีสานนั้นคนจากสยามเข้ามาครอบครองภาคอีสานถูกผนวกเข้าไปในรัฐสยาม กัมพูชาและลาวถูกผนวกเข้าไปในสิ่งที่เรียกว่าอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อเป็นรัฐสมัยใหม่มีการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่เห็นชัดอย่างนครวัด นครธมนั้นเมื่อ 100 ปีก่อนไม่ใช่สัญลักษณ์สถานที่โรแมนติกท่องเที่ยวเหมือนที่ฝรั่งเศสเข้าใจ แต่เป็นแหล่งบำเพ็ญบุญทางพุทธศาสนา มีชีปะขาว ฤาษีไปนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม ศ.ดร.นิธิ กล่าวว่า ประชาชนทั้ง 3 ภูมิภาค เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐสมัยใหม่จะเข้าถึงทรัพยากรได้แตกต่างกัน ที่เห็นได้ชัดในกัมพูชาหลังปี ค.ศ.1989 เมื่อเปลี่ยนระบบการทำนารวมมาเป็นรูปแบบแบ่งที่ดินทำกินที่ต้องใช้อิทธิพลและอำนาจเงิน ทำให้คนจนไม่มีหลักประกันด้านอาหาร หลุดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร ทำให้เกิดการอพยพโยกย้ายหนีความลำบาก ในปี ค.ศ.1995 ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียได้ริเริ่มเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านผู้นำทางอนุภาคลุ่มน้ำโขงในโครงการอีสต์เวสต์ อีโคโนมิค คอริดอร์ (EastWest Economic Coridor)   หลังจากประกาศแล้วมีการพัฒนาเป็นระยะ เช่น ประเทศไทยมีการกู้เงินมาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงใน จ.นครพนม การสัมมนาวิชาการอีสาน–ลาว-ขแมร์ ศึกษาในกรอบประชาคมอาเซียนเป็นกิจกรรมสัมมนาประจำปี 2556 ที่มูลนิธิโตโยต้าไทย จำกัด มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อกระตุ้นให้มีการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปปรับใช้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมีหัวข้อเสวนาหลากหัวข้อ อาทิ  แรงงานข้ามชาติในอีสาน ความหลากหลายทางชาติพันธุ์อีสาน-ลาวใต้-เขมร เหนือการท่องเที่ยวลุ่มน้ำโขง เป็นต้น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อีสาน-ลาว-ขแมร์ ในกรอบอาเซียน

Posts related

 














เอกชนแนะปฏิรูปประเทศไทย หาทางออก ‘เศรษฐกิจเดินหน้า’

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 56 ภาคเอกชน 7 องค์กรประกอบด้วย สภา หอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย,สภาธุรกิจตลาดทุนไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ได้ประชุมหารือร่วมกันหาทางออกของประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติความขัดแย้งของคนในสังคมที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น  นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีการตั้งคณะทำงานในการปฏิรูปประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เพราะเชื่อว่าแม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมจะประกาศยุบสภาแล้วก็ตาม แต่เชื่อว่าคงไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศได้เพราะหากเลือกตั้งในตอนนี้โดยไม่มีการปฏิรูปการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นก่อน หลายฝ่ายมองว่าวิกฤติความขัดแย้งของคนในประเทศก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า ภาคเอกชน 7 องค์กรไม่ใช่เป็นแกนนำในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในครั้งนี้แต่ภาคเอกชนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโดยรูปแบบของคณะทำงานในส่วนของภาคเอกชนจะไม่มีใครเป็นประธานโดยจะมีการเชิญให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุดโดยจะไม่เน้นผล ประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับกลุ่มภาคเอกชนจะเชิญมาร่วมแสดงความเห็นมีทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และสถาบันพระปกเกล้าเป็นต้น โดยต้องหาข้อยุติให้ได้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่หากปฏิรูปไม่ทันภายใน 45-60 วันก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ก็อยากให้ทุกฝ่ายหาทางออกเพื่อเลื่อนระยะเวลาการเลือกตั้งออกไปก่อนได้ ส่วนตัวเชื่อว่ากฎหมายยืดหยุ่นได้หากต้องการให้ประเทศชาติมีความสงบสุข ส่วนการปฏิรูปประเทศไทยนั้นภาคเอกชนมองว่าไม่จำเป็นต้องให้ต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการเพราะเชื่อว่าคนไทยสามารถแก้ปัญหาของคนไทยด้วยกันเองได้  นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.) กล่าวว่าหลังจากนี้ทาง ส.อ.ท.จะให้สมาชิกทั่วประเทศได้ชี้แจงกับสถานการณ์ทางการเมืองของ ประเทศไทยให้แก่ลูกค้าต่อไปเบื้องต้นให้ยืนยันความเชื่อมั่นกับลูกค้าว่าผู้ประกอบการสามารถผลิตและส่งสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ส.ท.ท.) กล่าวว่า สิ่งสำคัญขณะนี้ควรปฏิรูปหาแนวทางก่อนมีการเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้ต่างประเทศยังไม่มีการประกาศเตือนเดินทางมาท่องเที่ยวเข้ามาในไทยเพิ่มเติม ตอนนี้อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันหาแนวทางที่จะทำให้คนไทยกลับมามีความสุขมีรอยยิ้มเช่นเดิม ซึ่งเชื่อว่า คณะทำงานฯ ชุดนี้ จะมีแนวทางที่ดีที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายหาข้อเสนอแนะเพื่อนำเสนอต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งอยากขอบคุณทั้ง 2 ฝ่าย ที่พยายามหาแนวทางยุติปัญหา ส่วนเรื่องผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวหรือการประมาณการนักท่องเที่ยวในปีหน้าจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 20 ธ.ค. นี้ นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลประกาศยุบสภา ยังไม่มีสัญญาณทางเศรษฐกิจดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังปรับตัวลดลง ซึ่งหากมีการยุบสภา แล้วปัญหาความขัดแย้งยังอยู่ และเศรษฐกิจก็จะยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนกว่าปัญหาจะคลี่คลายอย่างแท้จริง นายสุรงค์ บูลกุล นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยกล่าวว่า ภาคการลงทุนยังถือว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะเหตุการณ์การชุมนุมยังไม่รุนแรงไม่มีการเกิดสงครามกลางเมือง แต่ถ้าสถานการณ์การชุมนุมยังมีอยู่ต่อไป และเกิดเหตุความรุนแรง จะส่งผลให้ประเทศไทย เกิดการพลาดโอกาสการค้าการลงทุน ภาคเอกชนเห็นตรงกันว่าการเจรจาเพื่อหาข้อยุติที่คนในประเทศทุกคนยอมรับได้ เพราะการหาบทสรุปที่ต้องเอาประเทศชาติเป็นที่ตั้งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้ ไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งก็ยังไม่มีที่สิ้นสุด. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนแนะปฏิรูปประเทศไทย หาทางออก ‘เศรษฐกิจเดินหน้า’

กฟผ.เตรียมขึ้นค่าเอฟที10สต.ต้นปีหน้า

แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า อัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่เรียกเก็บบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่ระหว่างเดือนม.ค.-เม.ย.57 มีทิศทางปรับขึ้น 10 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติ ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันเล็กน้อย รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่า จากการคำนวณค่าเอฟทีงวดที่แล้วใช้ฐานการคำนวณ 31.24 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเฉลี่ยที่ 32 บาทกว่าต่อดอลลาร์ ฯ รวมทั้งค่าเอฟที งวดที่ผ่านมา ระหว่างเดือนก.ย.-ธ.ค.56 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) ให้กฟผ.แบกรับภาระต้นทุนไว้ 2.91 สตางค์ต่อหน่วย “ค่าเอฟที งวดก.ย.-ธ.ค.56 ควรจะต้องขึ้น 14.18 สตางค์ต่อหน่วย แต่เพื่อลดภาระประชาชนเรกูเลเตอร์จึงนำเงินชดเชยจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าขนอมและเงินค่าปรับโรงไฟฟ้าเอกชน 2,247 ล้านบาทคิดเป็น 4.91 สตางค์ต่อหน่วย และให้กฟผ. รับภาระ 1,566 ล้านบาทหรือคิดเป็น 2.91 สตางค์ต่อหน่วย จึงทำให้เอฟที ปรับขึ้นเพียง 7.08 สตางค์ต่อหน่วย ส่วนงวดหน้า คงต้องดูว่างเรกูเลเตอร์ จะให้กฟผ.แบกรับภาระอีกหรือไม่อย่างไร” สำหรับแนวโน้มทิศทางค่าไฟฟ้าในปี 57 หากพิจารณาจากปัจจัยเชื้อเพลิง ยอมรับว่า ไทยต้องทยอยใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้ามากขึ้นในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสัดส่วนที่ต้องใช้มากขึ้น จะมีผลต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้แอลเอ็นจีมีราคาสูงถึง 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ฉบับใหม่ ที่กำลังปรับปรุง พยายามเปลี่ยนมาใช้ถ่านหินเพื่อกระจายความเสี่ยงเชื้อเพลิง และความมั่นคงมากขึ้น เพื่อรักษาระดับค่าเอฟทีไม่ให้สูงเกินไป “เราเองต้องยอมรับว่าการส่งเสริมพลังงานทดแทนก็มีต้นทุนค่าไฟที่สูงตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นหญ้าเนเปียร์ พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซล่าร์รูฟทอป แต่สิ่งเหล่านี้ก็ต้องทำไปแต่ถ่านหินน่าจะเป็นทางออกของไทยในช่วง 10-20 ปีข้างหน้านี้หากไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามแผนค่าไฟไทยจะสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การซื้อไฟต่างประเทศมากไปก็เสียงต่อความมั่นคง” นายดิเรก ลาวัลย์ศิริ ประธานเรกูเลเตอร์ กล่าวว่า กลางเดือนธ.ค.นี้ จะพิจารณาต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เพื่อสรุปตัวเลขก่อนนำมาคำนวณค่าเอฟที ที่จะเรียกเก็บบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่ระหว่างเดือนม.ค.-เม.ย.57 โดยเฉพาะ 2 ปัจจัยหลักที่จะมีผลให้ค่าไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง คือราคาก๊าซธรรมชาติ และค่าเงินบาท ซึ่งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อต้นทุนค่าเอฟที สูงถึง 6 สตางค์ต่อหน่วย “ยังไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเลขจะเป็นอย่างไรเพราะคงจะต้องดูหลายปัจจัยทั้งราคาก๊าซฯ ค่าเงินบาทภาระอื่นๆ ที่มีอยู่ และมีเงินชดเชยอื่นๆเหลือพอมาดูแลบ้างหรือไม่ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นหากขึ้นก็ต้องดูว่าอัตราใดที่จะเหมาะสมไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชนต่อเศรษฐกิจมากไป”.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กฟผ.เตรียมขึ้นค่าเอฟที10สต.ต้นปีหน้า

Page 1304 of 1552:« First« 1301 1302 1303 1304 1305 1306 1307 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file