shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

สิ้นปีนี้ยุติปัญหาที่ดินรถไฟได้แน่

นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยความคืบหน้ากรณีที่กระทรวงคมนาคมจะนำที่ดินบริเวณมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือรฟท.จำนวน 498 ไร่ และที่ดินบริเวณสถานีแม่น้ำ 277 ไร่ให้กรมฯ พัฒนาเพื่อแลกกับหนี้ 80,000 ล้านบาทว่า  เบื้องต้นยืนยันในหลักการเดิม คือ ให้กรมธนารักษ์เช่าระยะยาว 100 ปี   แต่ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปศึกษารายละเอียดในเชิงลึกว่า หากพัฒนาที่ดินทั้ง 2 แห่งจะได้รับผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน และก่อให้เกิดประโยชนสูงสุดต่อภาครัฐหรือไม่  คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1 เดือน หลังจากนั้นถึงจะกำหนดเงื่อนไขรายละเอียดของโครงการที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์อีกครั้ง “ใน ระหว่างที่กรมฯ ให้เจ้าหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่จะพัฒนาและลงทุน  ในส่วนของ รฟท. ได้จ้างเอกชนเพื่อให้เข้ามาประเมินราคาที่ดินเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากที่ สุด และจะต้องหารือกันอีกครั้งว่าหนี้สินที่ รฟท. ต้องการให้กระทรวงการคลังหักนั้นเป็นหนี้สินตรงส่วนไหน เพราะตามปกติหากกรมธนารักษ์พัฒนาพื้นที่ของหน่วยงานราชการและมีรายได้เข้ามา จะต้องส่งรายได้เข้าแผ่นดิน  นอกจากนี้จะต้องหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เกี่ยวกับรายละเอียดของภาระหนี้สินด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าสรุปข้อชัดเจนและตกลงรายละเอียดเบื้องต้นได้ในสิ้นปีนี้”                สำหรับ ภาระหนี้สินของ รฟท. ในปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 100,000ล้านบาท มาจากหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงาน   ภาระหนี้เงินกู้ที่นำมาชำระหนี้ก่อสร้างโครงการแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ หนี้จากการซื้อเครื่องจักร และหนี้สินที่เกิดจากการจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญของพนักงาน  ส่วนการพัฒนาที่ดินบริเวณหมอชิต 63 ไร่นั้น  จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนตามพรบ.ร่วมลงทุน พ.ศ. 2535  แต่การคัดเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินการ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการที่มีนายรังสรรค์  ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สิ้นปีนี้ยุติปัญหาที่ดินรถไฟได้แน่

Posts related

 














ชาวบ้านไม่ปลื้มผลงานรัฐบาล

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาลครบรอบ 2 ปี โดยสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 35,240 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เสนอแนะให้รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สินค้าราคาแพง และควบคุมราคาสินค้า เป็นลำดับแรก เพราะเห็นว่ากระทบกับชีวิตความเป็นอยู่มากที่สุด รองลงมาอยากให้รัฐบาลบริหารงานจริงจัง โปร่งใส ไม่โกงกิน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และควรทำตัวเป็นกลาง สร้างความปรองดอง ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงไม่แบ่งข้าง แบ่งสี และแบ่งฝ่าย ทั้งนี้เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้ใกล้เคียงกัน โดยประชาชนส่วนมากเห็นว่า รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพียงแค่ระดับปานกลางเท่านั้น โดยแยกเป็นด้านสังคม 57.3% และด้านเศรษฐกิจ 54.4% และมีเพียง 9% และ 8.7% ที่เห็นว่าแก้ไขปัญหาได้ในระดับมาก และแก้ไขปัญหาได้ ในระดับน้อย 25.9% และ 27.2% ส่วนแก้ไขไม่ได้เลย มีเพียง 7.8% และ 9.7% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงนโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนทราบ พบว่า ใน 5 อันดับแรกที่ประชาชนรับทราบ คือ โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค มีมากถึง 97.3% ,การขึ้นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุแบบมากขึ้นตามอายุ (ขั้นบันได) 95.2% ,การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ 94.9% ,การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด 93.5% และสุดท้ายเป็นการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท 89.6% ส่วนนโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนส่วนมากพึงพอใจ 5 อันดับแรก คือ การขึ้นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุแบบมากขึ้นตามอายุ (ขั้นบันได) มากที่สุดถึง 89.3% ,โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค 86.5% ,การขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท 83.2% ,การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ 83.1% และการพักหนี้เกษตรกร 80.4% ขณะที่การติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล ผลจากการสำรวจ พบว่า ประชาชน 68.4% ติดตามเป็นบางครั้งบางคราว โดยมีผู้ติดตามเป็นประจำ 13% และผู้ที่ไม่ได้ติดตาม 18.6% ถ้าแยกออกเป็นรายภาค พบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ติดตามเป็นบางครั้งบางคราว 70% ติดตามเป็นประจำ 14.1% และที่ไม่ได้ติดตาม 15.9% ,ภาคกลาง มีผู้ติดตามเป็นบางครั้งบางคราว 64% ติดตามเป็นประจำ 12.5% และที่ไม่ได้ติดตาม 23.5% ,ภาคเหนือ มีผู้ติดตามเป็นบางครั้งบางคราว 70.2% ติดตามเป็นประจำ 12.3% และที่ไม่ได้ติดตาม 17.55% ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ติดตามเป็นบางครั้งบางคราว 68.4%  ติดตามเป็นประจำ 15.2% และที่ไม่ได้ติดตาม 16.4% และภาคใต้ มีผู้ติดตามเป็นบางครั้งบางคราว 72.5% ติดตามเป็นประจำ 8.9% และที่ไม่ได้ติดตาม 18.6% นอกจากนี้เมื่อถามว่าทราบรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนหรือไม่ ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนทราบรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน เพิ่มขึ้นจากปี 55 ที่มีอยู่ 48.8 เพิ่มขึ้นเป็น 53.7% ในปี 56 ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบจากข่าวทางทีวีมากที่สุด 55.5% โดยจากเก็บข้อมูลทั้งหมดนั้น จะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่รัฐบาลจะไปใช้เป็นแนวทางวางแผนและปรับปรุงการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชาวบ้านไม่ปลื้มผลงานรัฐบาล

“ประสาร” รับการเมืองเริ่มกระทบเศรษฐกิจแล้ว

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เป็นห่วงถึงสถานการณ์การเมืองจากการชุมนุมที่เกิดขึ้น จนอาจเกิดการเผชิญหน้า โดยเฉพาะขณะนี้ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจแล้ว เห็นได้จากความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว ผู้บริโภค และภาคธุรกิจที่ลดลง แต่อย่างไรก็ดี ธปท.พร้อมทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่อง รักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินให้แข็งแกร่ง ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น “เชื่อว่าแม้จะมีการถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวแล้ว แต่มองว่าเรื่องยังคงไม่จบ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่ปลายเหตุ แต่ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่คล้อยไปในทางที่ทำลายความไว้วางใจจากประชาชน เช่น นโยบายรับจำนำข้าว โดยจะเห็นจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ ก็มองว่าเป็นตัวทำลายประเทศ แต่ผู้มีอำนาจยังคงใช้ อำนาจจากเสียงข้างมากมายืนยันคำตอบในการทำ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาก็ต้องไปจัดการตัวที่ทำลายความเชื่อมั่นของคน” สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เริ่มร้อนแรงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องของความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุน รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดกับภาคการท่องเที่ยว ซึ่งหลายหน่วยงานก็ออกมายอมรับในเรื่องเหล่านี้ เพียงแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ 3-4% ยังถือเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ในกรณีที่มีพนักงานของ ธปท.ออกมาคัดคัานการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้านนอกพื้นที่ของ ธปท. ถือว่าเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย และไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งการออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของประชาชนนั้น ถือเป็นเรื่องในทางบวก ที่ประชาชนที่เคยเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลมาก่อนออกมาแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยไม่คำนึงถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งจุดนี้ทำให้เห็นว่าประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความไม่ถูกต้องได้เอง โดยจุดนี้ นับเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย เพราะสิ่งสำคัญของความสำเร็จของนโยบายสาธารณะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของสาธารณชน ซึ่งการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐบาลเป็นตัวอย่างของความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่เกิดขึ้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จึงควรแก้ที่ต้นเหตุของความไม่ไวัวางใจ “ผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบของสถานการณ์ทางการเมืองนั้น ในระยะสั้นเศรษฐกิจของไทยต้องขับเคลื่อนหลายส่วน เพื่อให้ความเชื่อมั่นกลับมา ทั้งภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ กระตุ้นให้เกิดการลงทุน การอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าคุณภาพของสังคมไทย เริ่มเห็นสิ่งไม่ถูกต้องก็ออกมาคัดค้าน ทำให้เห็นว่าไทยเป็นสังคมที่มีความคิด มีเหตุผล และความกล้าหาญในระดับหนึ่ง” ด้านนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า สถานการณ์ในปัจจุบันถือเป็นปัจจัยภายในที่ ธปท. ต้องเพิ่มความระมัดระวัง โดยยืนยันว่าจะเข้าดูแลการซื้อขายในตลาดเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ส่วนการอ่อนค่าของเงินบาทไทยช่วงที่ผ่านมา สาเหตุหลักยังคงเป็นผลจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินสกุลอื่นของประเทศคู่ค้า รวมทั้งค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ทิศทางของค่าเงินในระยะต่อไปนั้น เชื่อว่าหากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ(คิวอี) ลง ก็คงทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จึงเป็นธรรมดาที่ค่าเงินสกุลอื่นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ รวมถึงค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าตามลงไปด้วย เพียงแต่จะเกิดเร็วหรือช้ายังไม่สามารถตอบได้ เพราะมีหลายปัจจัยประกอบกัน โดย ธปท.อยากเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้ง ยังได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ได้เข้าใจถึงวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “ประสาร” รับการเมืองเริ่มกระทบเศรษฐกิจแล้ว

Page 1444 of 1552:« First« 1441 1442 1443 1444 1445 1446 1447 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file