shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ประเมินม็อบรุนแรงเจ๊ง200,000 ล้าน

ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เวลา 11.30 น. วันที่ 7 พ.ย. 56 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯได้ประเมินผลกระทบจากากรชุมนุมทางการเมืองที่ต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมไว้ 4 แนวทาง โดยแนวทางที่ 1. หากมีการชุมนุมต่อเนื่องและเคลื่อนไหวถึงปีหน้า และมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการลงทุน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยประมาณ 200,000 ล้านบาทแนวทางที่ 2การชุมนุมยังคงต่อเนื่องมีการเคลื่อนไหวถึงปลายปี และมีความสุ่มเสียงต่อการเกิดความรุนแรงจนกระทบการท่องเที่ยวและการลงทุน ทำให้เกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ 150,000 ล้านบาท, แนวทางที่ 3. การชุมนุมต่อเนื่องแต่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยจนถึงสิ้นปี และไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและลงทุนมากนักก็จะเกิดความเสียหาย 10,000 – 20,000 ล้านบาท และแนวทางที่ 4. คือการชุมนุมสามารถคลี่คลายลงภายใน 1-2 สัปดาห์ด้วยความสงบ เช่น รัฐบาลยกเลิก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านสลายตัวลง ก็จะไม่เกิดความเสียหายของเศรษฐกิจนางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เป็นการผลสำรวจผลกระทบจากการชุมนุมประท้วงพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จากประชาชน 1,200 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 2-5 พ.ย. 56 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 65.4% ไม่เห็นด้วยกับการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ 22.5% เห็นด้วย และ 12.1% ไม่แน่ใจและไม่ตอบ โดยประชาชน 66% มีความวิตกมากถึงมากที่สุดจากสถานการณ์การชุมนุมพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่วน 16.3% ไม่แน่ใจ อีก 10.4% กังวลปานกลาง ที่เหลือไม่กังวลและกังวลน้อยเมื่อถามว่าหากรัฐบาลไม่ถอนร่างพ.ร.บ.หรือล้มร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะเกิดความรุนแรงทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน โดยประชาชน 60% มองว่า จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงมากถึงมากที่สุด อีก 20.6% ไม่แน่ใจ สำหรับข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมืองในรัฐบาลผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า รัฐบาลควรถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม, รัฐบาลไม่ควรเหมาเข่งเรื่องนิรโทษกรรม, รัฐบาลควรทำความเข้าใจ, รัฐบาลควรทำประชาพิจารณ์ และ สุดท้ายควรหันไปกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องอื่น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประเมินม็อบรุนแรงเจ๊ง200,000 ล้าน

Posts related

 














ประชุมรมว.คมนาคมอาเซียน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีคมนาคมเอเชีย ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยประเด็นประชุมจะหารือเกี่ยวกับการพัฒนา และบูรณาการการขนส่ง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในระดับชาติและภูมิภาค โดยเฉพาะการประชุมคณะทำงานว่าด้วยโครงข่ายทางรถไฟสายเอเชีย รวมถึงมีพิธีลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยท่าเรือบก ส่วนในเวทีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส มีประเด็นพิจารณาด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ได้แก่ การทบทวนการดำเนินการตามปฏิญญารัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาด้านการขนส่งในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยการพัฒนาด้านการขนส่งในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ระยะที่ 2 การเสริมสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคให้เข้มแข็ง การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ให้ทางเลือกด้านการเงินสำหรับการพัฒนาและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค ทั้งนี้การประชุมรัฐมนตรีคมนาคมเอเชีย ครั้งที่ 2 เป็นการประชุมรัฐมนตรีคมนาคมระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (แอสแคป)ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างถนนสายเอเชีย เพื่อใช้เป็นกลไกระดับภูมิภาคสำหรับการหารือระหว่างผู้กำหนดนโยบายของประเทศสมาชิก และสมาชิกสมทบเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการอำนวยความสะดวกในการขนส่งในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก “กระทรวงคมนาคมได้กำหนดองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงการต่างประเทศ โดยมี รมว.คมนาคม เป็นหัวหน้าคณะ”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชุมรมว.คมนาคมอาเซียน

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจระบุ เศรษฐกิจซบ ความเชื่อมั่นทรุด

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. 56 อยู่ระดับ 76.6 ต่ำสุดในรอบ 19 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 55 เนื่องจากประชาชนชะลอการใช้จ่ายลงจากปัญหาการซบเซาของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรกรตกต่ำ, ผลกระทบจากน้ำท่วม และกังวลความขัดแย้งทางการเมืองที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น เป็นต้นทั้งนี้คาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวลงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 56 เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว แต่หากรัฐบาลสามารถคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองให้มีเสถียรภาพโดยเร็วและเร่งรัดการใช้นโยบายการคลังผ่านการใช้งบประมาณ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ เชื่อว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็ว เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว “ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไม่ถึงระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอนาคตมากนัก โดยเฉพาะเรื่องรายได้ที่จะเข้ากระเป๋าและสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและโลกที่ยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวลงอยู่”ผลกระทบจากการบริโภคชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจของเอสเอ็มอี อยู่ในระดับ 72.6 เป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 88 เดือนหรือในรอบ 7 ปี 4 เดือน ตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจมาในเดือน ก.ค. 48 เนื่องจากธุรกิจเอสเอ็มอีประสบปัญหาในการจำหน่ายสินค้าที่ลำบากจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและปัญหาต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูง เช่น นโยบายค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศส่วนผลสำรวจรายจ่ายของผู้บริโภคพบว่า ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่ในปัจจุบันอยู่ระดับ 102.3 ซึ่งปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และเป็นอัตราที่ต่ำสัดในรอบ 13 เดือน, ความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่อยู่ในระดับ 96 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 23 เดือน และความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว อยู่ระดับ 86.1 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 23 เดือนสำหรับการสำรวจภาวการณ์การทางสังคมของผู้บริโภค ในด้านความสุขในการดำรงชีวิต พบว่าดัชนีลดลงจาก 82 เหลือ 80 ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ดัชนี ภาวะค่าครองชีพ ลดลงจาก 56.7 เหลือ 54 ต่ำสุดในรอบ 1 2 เดือน ดัชนีเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด ลดลง จาก63.5 เหลือ 62.3 ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ดัชนีเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง ลดลงจาก 61.5 เป็น 58.6 ต่ำสุดในรอบ 29 เดือน นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินตัวเลขเศรษฐกิจในปี 56 อยู่ที่ 3.5% หากปัญหาเรื่องความขัดแย้งของร่างพ.ร.บ. ไม่รุนแรงก็จะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยภาพรวมแต่หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงก็จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยลดลงเหลือระดับ 3.2-3.2% ขณะที่ในปี 57 ได้ประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ 5.1% ซึ่งหากเหตการณ์ไม่รุนแรงตัวเลขเศรษฐกิจก็อยู่ในระดับเดิม แต่หากเหตุการณ์รุนแรงตัวเลขเศรษฐกิจจะลดลงเหลือ 4.5-4.7%“สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในภาพรวมปีนี้อยู่ในภาวะชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบจากภาคบริโภคในประเทศและการส่งออกก็อยู่ในภาวะซบเซาเช่นกัน เมื่อผสมกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองก็จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศยิ่งซบเซาเพิ่มเข้าไปอีก”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจระบุ เศรษฐกิจซบ ความเชื่อมั่นทรุด

Page 1451 of 1552:« First« 1448 1449 1450 1451 1452 1453 1454 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file